ส่อง "ถุงบิ๊กแบ็ก" แคดเมียมแตกไร้มาตรฐาน UN

Logo Thai PBS
ส่อง "ถุงบิ๊กแบ็ก" แคดเมียมแตกไร้มาตรฐาน UN
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

กรณีถุงบิ๊กแบ็กแคดเมียมแตก เนื่องจากโซ่ดึงขาดในระหว่างการทดลองเคลื่อนย้ายถุงแคดเมียมที่ขนย้ายจากสมุทรสาคร และ กทม.มาเก็บในโกดังชั่วคราวบริษัท เบาด์ แอนด์บียอนด์ จ.ตาก จนต้องสั่งยุติชั่วคราวและปรับแผนใหม่

วันนี้ (1 พ.ค.2567) นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุข ภาพ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการติดตามการขนย้ายกากแคด เมียมกลับ จ.ตาก ครั้งนี้ พบปัญหาตั้งแต่กระบวนการขนย้ายที่ไม่มีแผนประเมินความเสี่ยง แผนเผชิญเหตุ โดยเฉพาะรถขนย้ายแคดเมียมที่ควรต้องเป็นระบบปิด ไม่ใช่รถเทรลเลอร์เปิด แม้จะมีผ้าใบกันน้ำปิดคลุม มีจีพีเอสติดตามก็ตามแต่ไม่รับประกันความเสี่ยงใด ๆ หากเกิดอุบัติบิีกแบ็กแคดเมียมแตก หรืออุบัติเหตุระหว่างขนส่ง

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนขนย้ายถุงบิ๊กแบ็กล็อตแรกจากสมุทรสาคร-กทม.กว่า 240 ตัน

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนขนย้ายถุงบิ๊กแบ็กล็อตแรกจากสมุทรสาคร-กทม.กว่า 240 ตัน

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนขนย้ายถุงบิ๊กแบ็กล็อตแรกจากสมุทรสาคร-กทม.กว่า 240 ตัน

ชี้ถุงบิ๊กแบ็กแตก-ไร้มาตรฐาน

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวอีกว่า ส่วนถุงบิ๊กแบ็กที่ใช้ใส่กากของเสียอัน ตราย เช่น แคดเมียม ปรอท ตะกรัน สังกะสี อลูมิเนียม ปรอท มาตรฐานสากลต้องผลิตจากวัสดุโพรพิลีน 100% ทนแรงฉีกขาดที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่ง จะมีสัญญาลักษณ์ UN ติดอยู่บนถุงอย่างเห็นได้ชัดเจนเรียกว่า "UN Mark" สามารถยืนยันว่าได้ผ่านการทดสอบกับองค์กรที่ได้รับรองในระดับสากลแล้ว 

ถุงแคดเมียมที่แตก ไม่น่าจะใช้ถุงบิ๊กแบ็กตามมาตรฐาน UN มาใส่ทำให้ไม่มีความทนทานของการตกกระแทก หูหิ้วต้องไม่ฉีกขาด และไม่รั่วซึม ดังนั้นในล็อตอื่น ๆ ที่เหลืออีก 10,000 ตันมีข้อเสนอให้นำถุงมาตรฐาน UN มาสวมทับถุงเดิมเพื่อป้องกันซ้ำรอย 
มาตรฐานถุงบิ๊กแบ็ก ต้องมีมาตรฐาน UN ( ภาพ:Sonthi Kotchawat)

มาตรฐานถุงบิ๊กแบ็ก ต้องมีมาตรฐาน UN ( ภาพ:Sonthi Kotchawat)

มาตรฐานถุงบิ๊กแบ็ก ต้องมีมาตรฐาน UN ( ภาพ:Sonthi Kotchawat)

นายสนธิ กล่าวอีกว่า ขณะที่กากแคดเมียมที่นำไปก่อนจะนำลงหลุมฝังกลบจะต้องปรับสภาพใส่ปูนขาวไม่ให้ละลายน้ำ และปูนซีเมนต์กันซึม นำไปทดสอบก่อนว่าทุบแตกหรือไม่ และทดสอบการระบายน้ำว่าจะไม่มีสารมลพิษ

ขณะที่หลุมฝังกลบในโกดังของบริษัท เบาด์ แอนด์บียอนด์ ซึ่งเป็นโรงงานประเภท 101 ที่ไม่ได้ประกอบกิจการมานานแล้ว สิ่งที่น่ากังวลคือหลุมฝังกลบยังสามารถรองรับกากแคดเมียมได้หรือไม่ เพราะต้องใช้ดินเหนียวอัดและโบกซีเมนต์ผนึกแคดเมียมลงหลุม ต้องมีการติดตามตรวจสอบน้ำใต้ดิน 30 ปี 

กังวลว่าโรงงานร้างไปแล้วไม่มีเครื่องจักร แต่อยู่ราชการบอกว่าต้องฝังกลบ ปัญหาถุงบิ๊กแบ็กแคดเมียมแตกจึงเกิดขึ้น เพราะเขาใช้รถแบคโฮมาดึง ทั้งที่ต้องใช้รถเครนมาเกี่ยวที่หู
หูหิ้วถุงบิ๊กแบ็กแตกระหว่างการทดลองเคลื่อนย้ายที่โกดัง จ.ตาก

หูหิ้วถุงบิ๊กแบ็กแตกระหว่างการทดลองเคลื่อนย้ายที่โกดัง จ.ตาก

หูหิ้วถุงบิ๊กแบ็กแตกระหว่างการทดลองเคลื่อนย้ายที่โกดัง จ.ตาก

จี้กรมโรงงาน-สผ.ตามมาตรการอีไอเอ 

นักวิชการด้านสิ่งแวดล้อม ยังตั้งข้อสังเกตกรณีชาวบ้านพระธาตุผาแดง ต.แม่ตาว จ.ตากที่ป่วยเป็นโรคแคดเมียมมาตั้งแต่ปี 2546 และตอนนี้ผ่านมา 20 ปีไม่มีการดูแลด้านสุขภาพต่อเนื่อง และติดตามคุณภาพน้ำ และสิ่งแวดล้อม สาเหตุเพราะโรงงานผาแดงปิดกิจการ แต่ในเงื่อนไขอีไอเอที่สผ.และกรมโรงงานตั้งไว้ต้องติดตามนาน 30 ปี คำถามคือทั้ง 2 หน่วยงานนี้ได้ติดตามตรวจสอบหรือไม่

ถึงแม้ว่าผาแดง จะปิดกิจการแล้วแต่เงื่อนไขอีไอเอต้องส่งรายงานการติดตามคุณภาพน้ำ ดิน และสุขภาพของชาวบ้านให้สผ.ทุก 2 ปี  

แบบไหนเรียกว่าบิ๊กแบ็ก UN

สำหรับถุงบิ๊กแบ็กที่การขนกากอุตสาหกรรมอันตราย เช่น กากแคดเมียมตามมาตรฐานสากล ต้องได้มาตรฐานดังนี้ 

  • ทำจากวัสดุโพรพิลีน 100% ทนแรงฉีกขาดที่ได้รับการรับ รองจากองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่ง จะมีสัญญาลักษณ์UN ติดอยู่บนถุงอย่างเห็นได้ชัดเจนเรียกว่า"UN Mark"
  • ทดสอบความทนทานของการตกกระแทก (Drop test) และเมื่อยกด้วยเครนหูหิ้วต้องไม่ฉีกขาด
  • ทดสอบความทนทานของการวางเรียงซ้อน (stacking test)
  • ทดสอบคุณสมบัติป้องกันการรั่วซึมของถุง (Leak proofness)
  • ทดสอบความต้านทานความดันภายใน (internal pressure test)

สำหรับรถบรรทุก ที่ทำการขนส่งกากที่มีพิษร้ายแรงต้องเป็นระบบที่ปิดทึบทุกด้านมีตราสัญญาลักษณ์ป้ายแสดงชนิดของกากและมี UN Number เป็นรหัสในการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน สามารถเปิดด้านท้ายและด้านข้างของรถบรรทุกได้เพื่อใช้เครนเกี่ยวหูหิ้วสำหรับเคลื่อนย้ายถุงบิ๊กแบกได้ง่าย 

"พัชรวาท” ตั้งคณะอนุกก.จังหวัดเช็กโรงงาน

น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด เพื่อสำรวจตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่รับดำเนินการของเสียอันตราย รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

สำหรับคณะอนุกรรมการฯ มีหน้าที่ และอำนาจตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับดำเนินการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง ที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม และให้รายงานผลการตรวจสอบภายใน 20 วันมายัง คพ. เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 

อ่านข่าว : ปล่อยคืนธรรมชาติ "น้องช้าง" แร้งดำหิมาลัย หลังฟื้นฟู 3 เดือน

“เสียงประชาชน” ดังขึ้นดังอีก เอาคืน กกต.อย่าล้ำเส้นสิทธิ

รับครั้งแรก! AstraZeneca ชี้วัคซีนอาจมีผลข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง