Verify

คลิปอ้าง Thai PBS รายงานข่าว “เพชรา” ป่วย แท้จริงสร้างจาก AI
Thai PBS Verify ตรวจสอบพบคลิปปลอม ใช้โปรแกรม AI ต่อตัดโดยใช้หน้าและเสียงผู้ประกาศข่าวขณะนั่งรายงานข่าวทางช่อง Thai PBS ในคลิปอ้างถึง เพชรา เชาวราษฎร์ นักแสดงและศิลปินแห่งชาติ ว่าถูกนำตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน และได้รับความช่วยเหลือจาก นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ โดยในคลิปตัดต่อได้อ้างถึง การใช้ยา แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นยาชนิดใด
30 เม.ย. 68

ตรวจสอบพบ : เพจอ้างรับอินฟลูฯ รีวิวโรงแรม แท้จริงสวมรอยบริษัทอสังหาฯ หลอกเงินค่าสมัคร
กลุ่มมิจฉาชีพสร้างเพจหลอกลวงรับสมัครงานอินฟลูเอนเซอร์ นักเขียนรีวิวโรงแรมและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยอ้างรายได้สูง ก่อนเก็บค่าสมัครงานแล้วบล็อกหนี ตำรวจชี้เป็นพฤติกรรมมิจฉาชีพออนไลน์รูปแบบขบวนการ
23 เม.ย. 68

ตรวจสอบแล้ว คลิปโผล่อ้างแผ่นดินไหวเชียงใหม่ทำตึกถล่ม
ตรวจสอบพบคลิป TikTok ปลอม อ้างตึกถล่มในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 68 ที่ผ่านมา จากเหตุแผ่นดินไหว ตรวจสอบพบเป็นเพียงคลิปเก่า ขณะที่คนไม่ทราบหลงแชร์ข่าวนับร้อย
22 เม.ย. 68
เช็กข่าวแผ่นดินไหว "เขย่ากรุงเทพฯ"

ตรวจสอบแล้ว คลิปอ้าง "ชเวดากองถล่ม" ที่แท้เป็น "เจดีย์ปรียาติ" ในรัฐฉาน
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา Thai PBS Verify พบคลิปอ้างเจดีย์ "ชเวดากองถล่ม" แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นเจดีย์ของวัดแห่งหนึ่งในเมืองพินดายา รัฐฉาน ประเทศเมียนมา เตือนอย่าหลงเชื่อหลังคนแห่ดูไปถึง 10 ล้านครั้ง
31 มี.ค. 68

ตรวจสอบพบ : ภาพอ้าง "รอยเลื่อนสะกาย" คนแห่แชร์กว่าพันครั้ง ที่แท้ภาพ AI
แผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา Thai PBS Verify พบการรายงานอ้างภาพแผ่นดินแยกขนาดใหญ่เป็นภาพของ "รอยเลื่อนสะกาย" ในเมียนมา แต่จากการตรวจสอบพบเป็นเพียงภาพที่สร้างจาก AI เตือนอย่าหลงเชื่อหลังคนแห่แชร์ไปกว่า 1,000 ครั้ง
29 มี.ค. 68

คลิปช่วยผู้รอดชีวิตตึก สตง. พบเป็นเพียงคลิปเก่า
คลิปอ้างว่าพบผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม คนล่าสุด แต่จากการตรวจสอบพบเป็นเพียงคลิปเก่า พบคนหลงเชื่อเข้าไปดูแล้วเกือบ 3 แสนครั้ง
12 เม.ย. 68
บทความ

ระวัง ! บัญชี TikTok ปลอม อ้างปล่อยกู้ฉุกเฉิน ธ.ก.ส.
ระวัง TikTok ปลอม ธ.ก.ส. อ้างเปิดให้สมัครกู้ฉุกเฉินวงเงิน 50,000 บาท ด้าน ธ.ก.ส. ยืนยันไม่มีนโยบายรับสมัครสินเชื่อผ่าน TikTok หรือช่องทางส่วนตัวใด ๆ เตือนอย่าหลงเชื่ออาจถูกลวงนำข้อมูลส่วนตัว-หลอกเอาทรัพย์สิน
30 เม.ย. 68

ชวนลงทุน-จ้างรีวิว-สมัครงาน แนะวิธีเช็กบริษัท ก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
จากกรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพสร้างเพจปลอมเพื่อหลอกลวง โดยแอบอ้างว่า รับสมัครอินฟลูเอนเซอร์ นักเขียนรีวิวโรงแรม หรือแม้แต่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ พร้อมโฆษณาว่า มีรายได้สูง กลุ่มมิจฉาชีพมักแอบอ้างชื่อบริษัทที่มีการจดทะเบียนจริง หรือใช้ชื่อบริษัทที่แต่งขึ้นให้ดูน่าเชื่อถือ เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อ และจูงใจให้ผู้สนใจโอนค่าสมัครงาน หรือมัดจำล่วงหน้าสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมรับงาน เมื่อโอนเงินแล้ว แม้จะเห็นยอดรายได้ในระบบ แต่ไม่สามารถถอนออกได้ สุดท้ายถูกบล็อกการติดต่อ
27 เม.ย. 68

ตัวจริงเตือนภัย ! จากหา “งานเสริม” กลายเป็น “สูญเงินแสน”
Thai PBS Verify นำบทเรียนของ "เหยื่อ" ที่ถูกหลอกลวงจากเหล่ามิจฉาชีพ มาเปิดเผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่ทำให้เหยื่อเหล่านี้สูญเสียเงินเก็บทั้งชีวิต รูปแบบการหลอกลวงจากมิจฉาชีพเหล่านี้จะเป็นอย่างไร และข้อคิดที่ได้จากความสูญเสียของเหยื่อเหล่านี้มีอะไรบ้าง ติดตามได้ที่นี่
25 เม.ย. 68

ตัวจริงเตือนภัย ! จากคำว่า “เสียดาย” สุดท้ายกลายเป็น “หมดตัว”
หญิง อายุ 54 ปี ที่ตลอดชีวิตการทำงานที่ผ่านมานั้น เธอมุ่งมั่นเก็บเงิน เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเกษียณในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่สิ่งที่เฝ้าอดออมมาทั้งหมดต้องมาสูญเสียให้กับ "มิจฉาชีพ" ที่หลอกให้เข้าไปลงทุนในร้านค้าออนไลน์ รูปแบบกลลวงดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่นี่
29 เม.ย. 68

ตัวจริงเตือนภัย ! เมื่อ “รัก” คือเครื่องมือ “ลวง” ผ่านโลกออนไลน์
ชายวัย 52 ปี ตกหลุมรักหญิงสาวในโลกออนไลน์ เพียงแค่ 7 วัน เขาถูกชักจูงให้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ท้ายที่สุดด้วยความเชื่อใจในรักออนไลน์ เขาถูกหลอกให้โอนเงินเก็บช่วงบั้นปลายชีวิตไปกว่า 190,000 บาท บทเรียนสำคัญของกลลวงในครั้งนี้จะเป็นอย่างไร Thai PBS Verify รวบรวมเอาไว้ที่นี่
27 เม.ย. 68

กระทรวงดีอี เตือน! มิจฉาชีพแอบอ้างโครงการ “1 อำเภอ 1 ไอทีแมน” เสี่ยงสูญเงินและข้อมูลส่วนตัว
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีประชาชนสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับการเปิดรับสมัครงานในโครงการ “1 อำเภอ 1 ไอทีแมน” ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่าน Facebook และ LINE โดยอ้างว่าเป็นการรับสมัครลูกจ้างทำงานประจำอำเภอทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อกระทรวงดิจิทัลฯ
25 เม.ย. 68

ป้องกันตัวอย่างไร ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยจาก Deepfake
เมื่อเทคโนโลยี AI พัฒนาไปไกลถึงขั้นขโมยใบหน้าของเราได้ ปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวจึงกลายเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยี Deepfake ถูกนำไปใช้ในทางที่เป็นภัย
28 เม.ย. 68

ตัวจริงเตือนภัย ! ลวงซ้ำซ้อน หลอกลงทุนออนไลน์-กู้แอปฯ
"จากความหวังเล็ก ๆ ที่จะมีรายได้เสริม สู่ฝันร้ายที่ทำให้หญิงวัย 52 สูญเงินเกือบ 1.5 ล้านบาท รูปแบบกลลวงที่เหล่ามิจฉาชีพนำมาใช้จะเป็นอย่างไร และเราจะสามารถป้องกันตนเองจากภัยของมิจฉาชีพเหล่านี้ได้อย่างไร Thai PBS Verify รวบรวมเอาไว้ที่นี่
26 เม.ย. 68

เปิด 5 คดีอาชญากรรมออนไลน์ พร้อมกลโกงหลอกผ่านโซเชียล–การลงทุน สูญหายรวมกว่า 16 ล้านบาท
AOC 1441 (Anti Online Scam Operation Center) รายงานผลกระทบจากอาชญากรรมออนไลน์ พบการหลอกลวงผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือชักชวนให้ร่วมลงทุน ยอดสูญเงินรวมกว่า 16 ล้านบาท
24 เม.ย. 68