ตำรวจสากลชี้ "ค้ามนุษย์อาเซียน" กลายเป็นวิกฤตโลก

ต่างประเทศ
28 มี.ค. 67
06:53
271
Logo Thai PBS
ตำรวจสากลชี้ "ค้ามนุษย์อาเซียน" กลายเป็นวิกฤตโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
องค์การตำรวจสากล ชี้ ปัญหาค้ามนุษย์ในในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังทวีความรุนแรง จนเข้าขั้นวิกฤตโลก

องค์การตำรวจสากล หรือ อินเตอร์โพล เปิดเผยเมื่อวันที่ 27 มี.ค.2024 ที่ผ่านมา ว่า กลุ่มอาชญากร ที่จุดชนวนให้เกิดการค้ามนุษย์และแก๊งคอลเซนเตอร์แพร่สะพัดทั่วภูมิภาคในช่วงการระบาดของโควิด-19 และขยายวงจนกลายเป็นเครือข่ายระดับโลก ทำเงินได้มากถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี กำลังทวีความรุนแรง จนเข้าขั้นวิกฤตโลก

นายเจอร์เกน สต็อก เลขาธิการขององค์การตำรวจสากล ระบุว่า ตัวเลข 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่เคยเห็นมามาก่อนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเกิดขึ้นหลังกลุ่มอาชญากรยกระดับการทำงาน โดยขับเคลื่อนด้วยการปกปิดตัวตนบนโลกออนไลน์ ได้แรงบันดาลใจจากโครงสร้างธุรกิจใหม่ และเร่งตัวเพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด-19

อ่าน : ทั่วโลกให้กำลังใจ "เจ้าหญิงเคท" หลังประชวรด้วยโรคมะเร็ง

พร้อมทั้งระบุด้วยว่า สิ่งที่เริ่มต้นจากภัยคุกคามด้านอาชญากรรมระดับภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นวิกฤตค้ามนุษย์ระดับโลก ซึ่งมีผู้ตกเป็นเหยื่อหลายล้ายคน ทั้งที่อยู่ในฐานคอลเซนเตอร์ต่าง ๆ และตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรเหล่านี้

ฐานดำเนินการของแก๊งคอลเซนเตอร์แห่งใหม่ ๆ มักมีแรงงานที่ถูกลวงมาว่าจะได้ทำงานที่ถูกกฎหมาย ซึ่งขบวนการแก๊งคอลเซนเตอร์ลักษณะนี้ช่วยให้กลุ่มอาชญากรรมมีรายได้มากขึ้น นอกเหนือจากการลักลอบค้ายาเสพติดที่สร้างรายได้ คิดเป็นสัดส่วน 40 - 70% โดยกลุ่มอาชญากรกระจายเส้นทางธุรกิจอย่างชัดเจนขึ้น ทั้งการค้ายาเสพติด ค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงสินค้าและรถยนต์ที่โจรกรรมมา

อ่าน : เครือข่าย "ไอเอส" อันตรายต่อโลกมากแค่ไหน ?

อินเตอร์โพล ประเมินว่า ในแต่ละปี รายได้ที่ผิดกฎหมายถูกส่งผ่านไปยังระบบการเงินโลกประมาณ 2 -3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลุ่มอาชญากรรมทำรายได้มากถึง 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ขณะที่เลขาธิการอินเตอร์โพล กล่าวชื่นชมสิงคโปร์ที่สามารถเปิดโปงคดีฟอกเงินครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว และอายัดทรัพย์สินได้กว่า 2,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

องค์การสหประชาชาติ ระบุเมื่อปีที่แล้วว่า มีคนมากกว่า 100,000 คน ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกให้ไปทำงานที่ฐานแก๊งคอลเซนเตอร์ในกัมพูชา และเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ทางการเมียนมาได้ส่งตัวชาวจีนหลายพันคนที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยพัวพันขบวนการแก๊งคอลเซนเตอร์ให้กับทางการจีน

อีกทั้งในรายงานการสืบสวนของรอยเตอร์เมื่อปีที่แล้ว ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการถือกำเนิดขึ้นของอาชญากรไซเบอร์แห่งใหม่ รวมถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนในประเทศไทย

อ่านข่าวอื่น ๆ

“ภูมิธรรม” ถกรมต.ฟินแลนด์ ดันเจรจา FTA ไทย-อียู จบ 2 ปี

กทม.คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุดจากนิตยสารท่องเที่ยว DestinAsian

ก้าวไกลโพสต์ย้อนเส้นทางกว่าจะถึง "สมรสเท่าเทียม"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง