“หมอนทองเขาบรรทัด” GI ใหม่ เนื้อทุเรียน สีเหลืองอ่อน หวาน มัน

เศรษฐกิจ
30 เม.ย. 67
10:22
318
Logo Thai PBS
“หมอนทองเขาบรรทัด” GI ใหม่ เนื้อทุเรียน สีเหลืองอ่อน หวาน มัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพย์สินฯ ประกาศขึ้นทะเบียน สินค้า GI “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” จ.ตราด เนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติหวาน มัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรกว่า 11,047 ล้านบาท

วันนี้ (30 เม.ย.2557) นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญ ญา กล่าวว่า กรมฯใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสินค้าท้องถิ่นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าในแต่ละท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ล่าสุดประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจ.ตราด ต่อจากสินค้าสับปะรดตราดสีทอง และทุเรียนชะนีเกาะช้าง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เปลือกผิวสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแข็งแรงและแหลมคม เนื้อทุเรียนสีเหลืองอ่อน หนา มีรสชาติหวาน มัน
ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด”

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด”

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด”

โดยมีพื้นที่ปลูกอยู่บริเวณ แนวเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้มีฝนตกมาก

อีกทั้งอิทธิพลจากแรงลมทะเลที่เข้าปะทะกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลไปจนถึงพื้นที่เทือกเขาบรรทัดที่ส่งผลให้สภาพความชื้นในอากาศลดลงเร็วกว่าปกติ ทำให้ทุเรียนเกิดอาการเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงเกิดการกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนได้ก่อนพื้นที่อื่น

เกษตรกรในพื้นที่จึงเรียกพันธุ์ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกบริเวณ แนวเทือกเขาบรรทัดว่า “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของทุเรียนหมอนทองในพื้นที่ดังกล่าว
ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดตราด

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวต่ออีกว่า ได้มีการนำชื่อขยายไปยังกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย และกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนใน 5 อำเภอของจ.ตราด ได้แก่ อ.เมืองตราด อ.คลองใหญ่ อ.บ่อไร่ อ.แหลมงอบ และอ.เขาสมิง

รวมถึงมีการจัดงานสมาร์ทฟาร์มเมอร์แฟร์ที่ได้เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม และรับประทานบุฟเฟต์ผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัดเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคเป็นวงกว้าง สร้างรายได้กว่า 11,047 ล้านบาทต่อปี

ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ทำให้สินค้าท้องถิ่นได้รับการยกระดับมูลค่าสร้างรายได้สู่ชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของไทยอย่างยั่งยืน

ด้าน ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯได้นำเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จ.จันทบุรี และสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 4-2 (จันทบุรี) ลงพื้นที่ตรวจสอบเครื่องชั่งที่ใช้ในการับซื้อทุเรียน ณ ล้งรับซื้อทุเรียนบริษัท เป่าเหิงซานเหอ จำกัด และแผงทุเรียนธรรมสรณ์ 789 อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ตรวจสอบเครื่องชั่งรถยนต์ เครื่องชั่งสปริง และเครื่องชั่งดิจิทัล ที่ใช้ในการรับซื้อผลไม้ตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นมา ก่อนที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.

ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ภาคตะวันออกตรวจล้งรับซื้อผลไม้

ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ภาคตะวันออกตรวจล้งรับซื้อผลไม้

ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ภาคตะวันออกตรวจล้งรับซื้อผลไม้

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานพาณิชย์จ.จันทบุรี สำนักงานพาณิชย์จ.ระยอง และสำนักงานพาณิชย์จ.ตราด ประชาสัมพันธ์และตรวจสอบการติดป้ายแสดงราคารับซื้อผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด และเงาะ ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฉบับที่ 66 พ.ศ. 2566 เรื่องการแสดงราคารับซื้อสินค้าเกษตร ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจที่เป็นผู้รวบรวม โรงคัดบรรจุ (ล้ง) ต้องแสดงราคารับซื้อให้ชัดเจน ภายในเวลา 8.00 น. ของทุกวัน หรือทันทีที่เปิดทำการรับซื้อ ณ บริเวณหน้าจุดรับซื้อ

เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบและสามารถเปรียบเทึยบราคารับซื้อได้ รวมทั้งต้องแสดงราคาให้ตรงตามที่รับซื้อจริง โดยรองอธิบดีกรมการค้าภายในได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในช่วงเวลาเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรนำผลผลิตไปจำหน่ายมาก เนื่องจากมักจะทำการเก็บเกี่ยวและรวบรวมผลผลิตในช่วงเช้าและกลางวัน

อ่านข่าวอื่นๆ:

อากาศร้อน "ผักแพง" พาณิชย์ ลดค่าครองชีพ ขนผักราคาถูกขายทั่วกทม.

ถอดบทเรียน “ลาบูบู้” ต่อยอด Pop Culture ผลิต Art Toy ไทย

พาณิชย์รับส่งออก มี.ค.ติดลบ 10.9% ครั้งแรกรอบ 8 เดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง