2 พิธีสำคัญใน "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ"

2 พิธีสำคัญใน "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ"

8 พ.ค. 67

ร่วมสืบสาน “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เมื่อครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีรวมกัน

  1. พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ 
    เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกรวมกันว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่พระมหากษัตริย์ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ จะประกอบพิธีในวันแรก ณ วัดพระแก้ว  สำหรับ บุพพัณณปรัณณชาติ ที่นำเข้าพระราชพิธี จะเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว และเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ปลูกในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพระราชพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้ จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือ จะบรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้
  2. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์
    เป็นพิธีไถหว่าน จะประกอบพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ ท้องสนามหลวง โดยพระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายผ้านุ่ง และพระโคกินเลี้ยง เพื่อพยากรณ์ความอุดมสมบูรณ์ โดยในวันนี้จะเรียกกันว่า “วันพืชมงคล” ซึ่งแต่ละปีจะไม่ได้กำหนดวันที่ไว้แน่นอน ขึ้นอยู่กับฤกษ์ยามของปีนั้น ๆ ที่ทางสำนักพระราชวังจะประกาศออกมาภายหลัง 

2 พิธีสำคัญใน "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ"

8 พ.ค. 67

ร่วมสืบสาน “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เมื่อครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีรวมกัน

  1. พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ 
    เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกรวมกันว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่พระมหากษัตริย์ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ จะประกอบพิธีในวันแรก ณ วัดพระแก้ว  สำหรับ บุพพัณณปรัณณชาติ ที่นำเข้าพระราชพิธี จะเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว และเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ปลูกในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพระราชพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้ จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือ จะบรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้
  2. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์
    เป็นพิธีไถหว่าน จะประกอบพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ ท้องสนามหลวง โดยพระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายผ้านุ่ง และพระโคกินเลี้ยง เพื่อพยากรณ์ความอุดมสมบูรณ์ โดยในวันนี้จะเรียกกันว่า “วันพืชมงคล” ซึ่งแต่ละปีจะไม่ได้กำหนดวันที่ไว้แน่นอน ขึ้นอยู่กับฤกษ์ยามของปีนั้น ๆ ที่ทางสำนักพระราชวังจะประกาศออกมาภายหลัง