เกษตรกรไทย ปลูกอะไรมากที่สุด 5 อันดับแรก

เกษตรกรไทย ปลูกอะไรมากที่สุด 5 อันดับแรก

8 พ.ค. 67

รู้ไหมว่า “วันพืชมงคล” ของทุกปียังถูกกำหนดให้เป็น “วันเกษตรกร” อีกด้วย มาดูกันว่า เกษตรกรไทย ปลูกอะไรมากที่สุด 5 อันดับแรก แน่นอนว่า ซึ่งหนีไม่พ้น “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย

 

จากข้อมูลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 พบว่า ประเทศไทยมีเกษตรกรที่เป็นผู้ถือครองทำการเกษตร จำนวน 8.7 ล้านราย คิดเป็น 37.5% ของครัวเรือนทั้งประเทศ มีเนื้อที่ถือครองทำการเกษตรทั้งสิ้น 142.9 ล้านไร่ คิดเป็น 44.5% ของเนื้อที่ทั้งประเทศอีกด้วย โดยปลูกข้าวมากสุด 66 ล้านไร่ คิดเป็น 46.2% 

 

ตอกย้ำ "อาชีพทำนา" ที่ยังคงเป็นอาชีพที่สำคัญ โดยปัจจุบันกรมการค้าต่างประเทศ ได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องหมายการค้าของเครื่องหมายรับรอง “ข้าวหอมมะลิไทย” แล้วใน 48 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมหลายประเทศผู้นำเข้า เช่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศในภูมิภาคยุโรป และในปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลมีโครงการที่จะยื่นขอจดทะเบียนเพิ่มเติมในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น ซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักร อิสราเอล สหภาพยุโรป สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) และกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) เพื่อผลักดัน การส่งออกข้าวหอมมะลิไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

เกษตรกรไทย ปลูกอะไรมากที่สุด 5 อันดับแรก

8 พ.ค. 67

รู้ไหมว่า “วันพืชมงคล” ของทุกปียังถูกกำหนดให้เป็น “วันเกษตรกร” อีกด้วย มาดูกันว่า เกษตรกรไทย ปลูกอะไรมากที่สุด 5 อันดับแรก แน่นอนว่า ซึ่งหนีไม่พ้น “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย

 

จากข้อมูลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 พบว่า ประเทศไทยมีเกษตรกรที่เป็นผู้ถือครองทำการเกษตร จำนวน 8.7 ล้านราย คิดเป็น 37.5% ของครัวเรือนทั้งประเทศ มีเนื้อที่ถือครองทำการเกษตรทั้งสิ้น 142.9 ล้านไร่ คิดเป็น 44.5% ของเนื้อที่ทั้งประเทศอีกด้วย โดยปลูกข้าวมากสุด 66 ล้านไร่ คิดเป็น 46.2% 

 

ตอกย้ำ "อาชีพทำนา" ที่ยังคงเป็นอาชีพที่สำคัญ โดยปัจจุบันกรมการค้าต่างประเทศ ได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องหมายการค้าของเครื่องหมายรับรอง “ข้าวหอมมะลิไทย” แล้วใน 48 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมหลายประเทศผู้นำเข้า เช่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศในภูมิภาคยุโรป และในปีงบประมาณ 2567 รัฐบาลมีโครงการที่จะยื่นขอจดทะเบียนเพิ่มเติมในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น ซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักร อิสราเอล สหภาพยุโรป สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) และกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) เพื่อผลักดัน การส่งออกข้าวหอมมะลิไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :