ชาวบ้านหวั่น 4 ข้อสั่งการนายกฯ นำไปสู่ "เงื่อนไขใหม่" เพิ่มรุนแรงชายแดนใต้

ภูมิภาค
10 ส.ค. 55
13:53
13
Logo Thai PBS
ชาวบ้านหวั่น 4 ข้อสั่งการนายกฯ นำไปสู่ "เงื่อนไขใหม่" เพิ่มรุนแรงชายแดนใต้

หนึ่งใน 4 ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ คือ การจัดเขตเซฟตี้โซนในพื้นที่เกิดเหตุความรุนแรงบ่อยครั้งรวมทั้งหมด 6 พื้นที่ ซึ่งชาวบ้านหลายคนมองว่า วิธีการแบบนี้อาจเป็นปัจจัยท้าทายให้แนวร่วมเข้ามาก่อเหตุ เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐเพิ่มขึ้น ณะที่รองนายกรัฐมนตรียอมรับว่า กังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นหากรัฐยังไม่สามารถควบคุมได้อาจถูกหยิบยกขึ้นไปพูดคุยในที่ประชุมองค์กรมุสลิมโลกที่จะมีขึ้นในเดือนหน้า

 

<"">
 
<"">

แม้อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จะเป็นหนึ่งใน 6 พื้นที่ที่ถูกจัดเป็นเซฟตี้โซนตามข้อสั่งการ 4 ข้อของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ แต่สำหรับชาวบ้านแล้ว เห็นว่า เป็นเพียงการป้องกันที่ปลายเหตุ และ การจัดโซนตี้โซนอาจเป็นแรงผลักทำให้กลุ่มแนวร่วมอยากเข้ามาก่อเหตุในพื้นที่ เพื่อสะท้อนว่า อำนาจรัฐอ่อนแอ และ ในทางกลับกันอาจส่งผลให้ชาวบ้านที่ใช้ชีวิตทั่วไปไม่ได้รับความสะดวก และ อาจกลายเป็นเงื่อนไขใหม่

ข้อสั่งการทั้ง 4 ข้อเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ ทั้งการจัดเขต Safety Zone 13 พื้นที่ ใน 7 อำเภอของเขตเมือง และ ในพื้นที่สถานการณ์ความรุนแรงบ่อยครั้ง อีก 6 พื้นที่การจัดให้มีการตั้งด่านตรวจสมบูรณ์แบบที่ ตำบลควนมีด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หรือ การตรวจสอบการย้ายถิ่นของบุคคล และการเคลื่อนย้ายพาหนะ ถูกนำมาชี้แจงในที่ประชุมร่วมของหน่วยงานด้านความมั่นคงในวันนี้ ( 10 ส.ค.) โดยเฉพาะในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนที่จะต้องนำแผนทั้งหมดไปปรับใช้ เพื่อลดความสูญเสีย

  

<"">
 
<"">

แต่แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะระมัดระวังตัวอย่างไร พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า กลุ่มแนวร่วมได้ปรับยุทธวิธีเพื่อตอบโต้เช่นกัน แต่เจ้าหน้าที่ก็ต้องหาทางหยุดยั้งให้ได้ โดยเฉพาะในเดือนหน้า ซึ่งจะมีการประชุมองค์กรมุสลิมโลก ซึ่งปัญหาภาคใต้อาจจะถูกหยิบยกขึ้นไปพูดคุยหากรัฐยังควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ส่วนการติดต่อขอมอบตัวของแนวร่วม 40 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาแต่คำขอให้ละเว้นการดำเนินคดีค้างเก่ารัฐอาจยอมได้แค่บางเรื่องเท่านั้น

แม้รัฐจะปรับยุทธวิธี ตั้งรับหลากรูปแบบ แต่รองนายกรัฐมนตรี ยอมรับ ความยากของการแก้ปัญหาภาคใต้ คือ หน่วยงานต่างๆขาดการทำงานแบบบูรณาการ จึงเป็นเงื่อนปมที่ไม่สามารถคลี่คลายได้ในระยะเวลาอันสั้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง