"เอกชน" ยังไม่พอใจมาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีของรัฐฯ หลังได้รับผลกระทบค่าแรง 300

เศรษฐกิจ
9 ม.ค. 56
03:07
103
Logo Thai PBS
"เอกชน" ยังไม่พอใจมาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีของรัฐฯ หลังได้รับผลกระทบค่าแรง 300

สภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือยืนยันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีบางจังหวัด ได้รับผลกระทบจากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ หลายโรงงานต้องปิดกิจการ ขณะที่มาตรการเยียวยาผลกระทบของรัฐบาลที่ออกมา ยังไม่เป็นที่พอใจของภาคเอกชน

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ประกอบด้วย การขยายมาตรการทางภาษีออกไปอีก 1 ปี โดยจะหักค่าใช้จ่ายส่วนต่างได้ 1.5 เท่า , ยกเว้นภาษีให้เอสเอ็มอีที่มีกำไรไม่เกิน 300,000 บาท และหักค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปีแรก ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนค้ำประกันสินเชื่อ โดยที่ไม่ตรงกับมาตรการ 7 ข้อ ที่สภาอุตสาหกรรมเสนอคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะสิ่งที่เอกชนต้องการคือตั้งกองทุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน รวมถึงการชดเชยส่วนต่างแบบขั้นบันไดเป็นเวลา 3 ปี แต่รัฐบาลยืนยันไม่สามารถทำได้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ในส่วนของการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2 กระทรวงการคลังจะนำไปพิจารณาอีกครั้ง แต่คาดว่า จะไม่สามารถลดให้ได้ตามที่เอกชนต้องการเช่นกัน ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีระบุว่า หลังจากนี้รัฐบาลและเอกชนอาจหารือเพิ่มหากมาตรการยังไม่ครอบคลุม แต่ในระยะยาวรัฐบาลมุ่งเน้นพัฒนาเอสเอ็มอี

ด้านนายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่ามาตรการ 6 ข้อของรัฐบาล ไม่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีกำไรน้อยอยู่แล้ว ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนอีกประมาณร้อยละ10-12 เหลือกำไรร้อยละ 5 พร้อมระบุมาตรการหักค่าเสื่อมเครื่องจักรใหม่ในความเป็นจริงเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ไม่ได้มีทุนเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ ส่วนการขยายระยะเวลาเสียภาษีเอื้อประโยชน์กับธุรกิจที่มีกำไรมาก


ข่าวที่เกี่ยวข้อง