สำรวจคนกรุง ทุ่มเงินช้อปช่วงปีใหม่ ฉีดเงินเข้าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค 2.5 พันล้านบาท

เศรษฐกิจ
11 ม.ค. 56
12:28
184
Logo Thai PBS
สำรวจคนกรุง ทุ่มเงินช้อปช่วงปีใหม่ ฉีดเงินเข้าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค 2.5 พันล้านบาท

คนไทยใช้จ่ายซื้อของอุปโภคบริโภคมากขึ้นโดยเฉลี่ย 20% ในช่วงเทศกาล ฉีดเงินเข้าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อการซื้อของขวัญหรือซื้อของเข้าบ้านช่วงเทศกาล12,500 ล้านบาท ตลอดทั้งปี

•นักช็อปชาวไทยใช้เงินประมาณ 5,000 ล้านบาท ซื้อของอุปโภคบริโภคช่วงปีใหม่ โดยรายได้นั้นมาจากชาวกรุงเทพเป็นส่วนใหญ่ (52%)
 
•ซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ตเป็นช่องทางหลักสำหรับผู้บริโภคในการจับจ่ายสินค้าในช่วงเทศกาล ตามมาด้วยร้านโชว์ห่วย
 
•ความแตกต่างในพฤติกรรมการซื้อสินค้าช่วงเทศกาลที่น่าสนใจคือ น้ำผลไม้พร้อมดื่มจะได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปีใหม่ในเขตกรุงเทพฯ ในขณะที่เบียร์ จะได้รับความนิยมมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยผู้บริโภคจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
จากผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาล พบว่าผู้บริโภคไทยจับจ่ายซื้อของอุปโภคบริโภคพิเศษเพิ่มขึ้นอีก 5 พันล้านบาท เพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ นับเป็น 40% ของค่าใช้จ่ายพิเศษในช่วงเทศกาลตลอดทั้งปี ที่มีมูลค่าทั้งหมด 12,500 บาท
 
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทยได้รับผลบวกจากค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ (เพิ่มขึ้น 5 พันล้านบาท) ตามด้วยเทศกาลสงกรานต์ (3.7 พันล้านบาท) เทศกาลกินเจและเทศกาลตรุษจีน (เทศกาลละประมาณ 500 ล้านบาท) (ดูตาราง 1)
 
ชาวกรุงเทพนับว่าเป็นผู้ใช้จ่ายรายใหญ่ที่สุดในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ โดยมากกว่าครึ่ง (52%) ของค่าใช้จ่ายพิเศษปลายปีมาจากชาวกรุงเทพ เพิ่มยอดขายให้กับน้ำผลไม้พร้อมดื่มเป็นพิเศษ
 
ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้ว่าผู้บริโภคจากภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจมีค่าใช้จ่ายสำหรับเทศกาลปลายปีเพียงแค่ 8% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว 44% ของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมาจากภูมิภาคนี้ โดยมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ตามมาด้วยสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส
 
ซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต ยังเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับการจับจ่ายซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในทุกๆช่วงเทศกาลพิเศษ ซึ่ง 4 ใน 10 ของผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าจำนวนมากในจากสถานที่เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีใหม่ ทำให้ทางซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ตได้รับรายได้เพิ่มถึง 3.7 พันล้านบาทจากการขายกระเช้าปีใหม่เป็นหลัก 
นอกจากนี้ การสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าร้านค้าโชว์ห่วย ถึงแม้ว่าจะได้รับความนิยมอันดับ 2 รองจาก ซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต (39%) แต่ในช่วงสงกรานต์ ร้านค้าโชว์ห่วยได้รับความนิยมสูง แซงหน้าซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ตด้วยรายได้ถึง 2.7 พันล้านที่มาจากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก (ดูตาราง 2)
 
ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการโฆษณาของนีลเส็น ระบุว่าด้านผู้ผลิตสินค้าเอง ก็เพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับการโฆษณาทางทีวีในช่วงเทศกาลพิเศษถึง 50% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปกติ โดยมีมูลค่ามากถึง 5,580 ล้านบาทสำหรับเดือนธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ส่วนทางด้านผู้ค้าปลีกเองก็เพิ่มการแจกจ่ายใบปลิวขึ้นอีกถึง 40%
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง