สาวโรงงานร้องค่าครองชีพสูงตามค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

เศรษฐกิจ
17 ม.ค. 56
13:48
373
Logo Thai PBS
สาวโรงงานร้องค่าครองชีพสูงตามค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

นโยบายการปรับลดการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน เป็นมาตรการที่หลายบริษัทนำมาใช้เพื่อชดเชยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แม้คุณภาพชีวิตของพนักงานจะดีขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามรายได้ที่พวกเขาได้รับกลับลดน้อยลง เพราะไม่มีค่าล่วงเวลา เเม้การปรับขึ้นค่าแรงอาจจะส่งผลดีต่อพนักงานระดับล่างที่ได้รับค่าจ้างเเบบรายวัน เเต่ด้วยค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ค่าเเรง 300 บาท จึงเเทบไม่ต่างกับรายได้ขั้นต่ำที่ได้รับก่อนหน้านี้

โรงงานหลายแห่งภายในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นไปอย่างคึกคัก หลังพนักงานหลายบริษัทเลิกงานพร้อมๆกัน เนื่องจากโรงงานเหล่านี้ มีนโยบายปรับลดเวลาทำงาน ให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง โดยไม่มีการทำงานล่วงเวลาหรือโอทีเพิ่ม ทำให้การจราจรหลังช่วง 5 โมงเย็นของทุกวัน มีสภาพอย่างที่เห็น
 
วราภรณ์ เปียนขุนทด พนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเเห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา เล่าว่า ตั้งเเต่รัฐบาลมีนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลายบริษัทจึงต้องปรับตัวเเละกำหนดนโยบายการบริหารใหม่ การปรับลดเวลาโอทีจึงเป็นมาตรการหนึ่ง ที่หลายบริษัทนำมาปรับใช้ในระยะเริ่มต้น โดยหวังที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการต่อได้

 
<"">

 

เเม้ว่ามาตรการนี้ จะทำให้เธอเเละครอบครัว มีเวลาอยู่พร้อมหน้ากันมากขึ้น เเต่เมื่อคำนวณรายได้ต่อเดือนเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน กลับพบว่าลดลง เพราะรายได้หลักส่วนใหญ่ มาจากค่าโอทีทั้งสิ้น
 
การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท อาจจะส่งผลดีต่อพนักงานระดับล่าง ที่ได้รับค่าจ้างเเบบรายวันอย่างเธอ เเต่ด้วยค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ค่าเเรง 300 บาท จึงเเทบไม่ต่างกับรายได้ขั้นต่ำที่ได้รับก่อนหน้านี้

วราภรณ์ ระบุว่า ค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับค่าเเรงที่ได้รับ ทำให้เธอเเละครอบครัว ต้องวางเเผนการใช้จ่ายให้รัดกุมมากขึ้น ข้าวของเครื่องใช้ฟุ่มเฟือยต่างๆ จึงยังไม่มีอยู่ในเเผนการใช้จ่าย เพราะเห็นว่าอาจเสี่ยงเกินไปที่จะตัดสินใจซื้ออะไรในช่วงนี้
 
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะว่าประชาชนควรใช้จ่ายอย่างระวัง และไม่ก่อหนี้เกินตัว หลังจากที่มีสัญญาณตัวเลขหนี้ครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้น โดยรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่าสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 จากเดิมร้อยละ 30 สะท้อนว่าครัวเรือนไทยใช้จ่ายเกินตัวมากขึ้น
 
ทั้งนี้ปกติระบบธนาคารพาณิชย์ของไทย จะกำหนดสัดส่วนภาระหนี้รายเดือนต่อรายได้รวม ควรจะอยู่ที่ร้อยละ 40 โดยเมื่อคิดจากรายได้ขั้นต่ำต่อเดือน จากอัตราค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 หากมีรายได้ 9,000 บาท หนี้ไม่ควรเกิน 3,600 บาท
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง