ผลสำรวจดัชนี"เชื่อมโยงข้ามชาติระดับโลก" ระบุไทยไต่ขึ้นสู่อันดับ 15 ของโลก

ต่างประเทศ
18 มิ.ย. 56
10:56
103
Logo Thai PBS
ผลสำรวจดัชนี"เชื่อมโยงข้ามชาติระดับโลก" ระบุไทยไต่ขึ้นสู่อันดับ 15 ของโลก

โดย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีการเชื่อมโยงข้ามชาติสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ตามหลังยุโรปและอเมริกาเหนือ ส่วนไทยติดอันดับที่ 4 ในระดับภูมิภาค จากทั้งหมด 19 ประเทศ ตามหลังสิงคโปร์ ฮ่องกง และเกาหลี

 ดีเอชแอล จัดทำดัชนีการเชื่อมโยงข้ามชาติระดับโลกครั้งที่ 2 เผย “ไทย”  มีการเชื่อมโยงข้ามชาติระดับโลกทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2548 จนถึงปี 2554 โดยไต่ขึ้นจากอันดับที่ 20 ในปี 2554 สู่อันดับที่ 15 ในปี 2555 ทั้งยังติดอันดับที่ 17 ด้านความเชื่อมโยงในวงกว้าง และอันดับที่ 33 ด้านความเชื่อมโยงเชิงลึก ทั้งนี้ ไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีการเชื่อมโยงข้ามชาติระดับโลกสูงสุดทั้งในเชิงกว้างและลึกอยู่ใน 25 อันดับแรก ซึ่งได้แก่ สิงคโปร์ ติดอันดับที่ 2  ฮ่องกง ติดอันดับที่ 12  เกาหลี ติดอันดับที่ 14  ไทย ติดอันดับที่ 15 มาเลเซีย ติดอันดับที่ 16 และไต้หวัน ติดอันดับที่ 21 

 
นายเจอร์รี่ ชู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ดัชนีการเชื่อมโยงข้ามชาติระดับโลกที่ดีเอชแอลได้จัดทำขึ้นนี้ ได้คัดค้านแนวคิดเรื่องกระบวนการโลกามุสาวาท (globaloney) ที่ชี้ว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นตำนานที่ไร้สาระ ไม่จริง1 เพราะจากรายงานการศึกษาดัชนีการเชื่อมโยงข้ามชาติ พบว่า โลกปัจจุบันมีการติดต่อเชื่อมโยงกันทั่วโลกในสัดส่วน 10 - 20% โดยเป็นการไหลเวียนข้ามชาติภายในภูมิภาคสูงถึง 50 – 60% ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว บ่งชี้ว่า ประเทศต่างๆ ยังคงมีศักยภาพอย่างมหาศาลสำหรับนำมาใช้สนับสนุนการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างกันได้มากขึ้น โดยปัจจุบัน การติดต่อเชื่อมโยงระหว่างกันยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงเกิดวิกฤติทางการเงิน ทั้งยังมีโอกาสสร้างรายได้สูงถึงหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงการเติบโตที่ชะลอตัวนี้ ควรส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงข้ามชาติมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญ
ในการขับเคลื่อนการฟื้นตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม          
 
 
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกส่วนใหญ่ได้ใช้การส่งออกเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว   เสริมด้วยการพัฒนาของภาคเอกชนที่มุ่งเน้นขยายจุดการผลิตในหลากหลายประเทศอย่างครบวงจรทั่วทั้งภูมิภาค การค้าของไทยซึ่งเป็นเสาหลักที่แข็งแกร่งของประเทศ และติดอันดับที่ 5 ของโลก ได้นำมาใช้ควบคู่กับการส่งออกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยโดยรวม การค้าของไทยยังคงมีภูมิภาคเอเชียเป็นตลาดหลัก โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ได้แก่ จีน 12% ญี่ปุ่น11% ฮ่องกง 7% มาเลเซีย5%  สิงคโปร์5% อินโดนีเซีย 4%และเวียดนาม 3%
 
ดัชนีการเชื่อมโยงข้ามชาติ ปี 2555 ยังมีการวิเคราะห์การเชื่อมโยงของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งระบุว่า  การเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกทำให้การเชื่อมโยงของภาคอุตสาหกรรมมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย การย้ายการผลิตและการบริโภคไปยังตลาดเกิดใหม่มีผลต่ออุตสาหกรรม 3 ประเภทหลัก ซึ่งได้แก่ ยา รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และโทรศัพท์มือถือ
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง