"คนกับควาย" เพลงสะท้อนเรื่องราวชนชั้นและการเมือง

ศิลปะ-บันเทิง
18 มิ.ย. 56
15:22
6,768
Logo Thai PBS
"คนกับควาย" เพลงสะท้อนเรื่องราวชนชั้นและการเมือง

เนื้อเพลงดีๆ ไม่ต่างจากการจดบันทึก ที่ถูกส่งต่อด้วยท่วงทำนองและเสียงร้อง เหมือนที่เพลงเพื่อชีวิต "คนกับควาย"สะท้อนเรื่องราวช่วง 6 ตุลาคม 2519 การทบกระเทียบควายสัตว์คู่ผืนนาไทย กับเรื่องราวของชนชั้นและการเมือง จึงเป็นอีกทางออกที่นักศึกษาวัยสดใส ผู้ฝันหาประชาธิปไตยในตอนนั้นพอจะทำได้ พากลับไปคุยกับเจ้าของบทเพลงแห่งตำนานกันอีกครั้ง

นักร้องคนเดิม เนื้อหาเหมือนเดิม แต่ที่เปลี่ยนไปคือห้วงเวลา  เพราะเพลง"คนกับควาย"ที่ หงา คาราวาน หรือ สุรชัย จันทิมาธร ขับร้องไว้เมื่อปี 2555 ถูกถ่ายทอดได้อย่างเปิดเผย เรียกเสียงปรบมือจากผู้ฟังได้โดยไม่ต้องปิดบัง ผิดกับเมื่อ 37 ปีก่อน ที่เพลงคนกับควาย ที่ หงา และเพื่อนร่วมอุดมการณ์ สมคิด สิงสง ช่วยกันแต่งคำร้อง โดยนำทำนองเพลง Master of War ของ Bob Dylan มาใส่เนื้อร้องเสียดสี สะท้อนชีวิตชนชั้นชาวนา ซึ่งเนื้อหาซื่อๆ ที่เทียบวิถีควายกับคนจนที่โดนเอาเปรียบ ทำให้เพลงนี้กลายเป็นเสียงเพลงต้องห้าม  

เดี๋ยวนี้ควายหาชมได้ยากแล้วเพราะวิถีเกษตรที่เปลี่ยนไป แต่จริงๆ แล้ววิถีของคนกับความนั้นผูกพันกันมานานแล้ว มีทั้งในคำพูด เรื่องเล่า รวมไปถึงบทเพลงด้วย อย่างเพลงคนกับควาย ที่บันทึกประวัติศาสตร์ทั้งเรื่องการเมืองและแง่มุมในสังคม

สมคิด สิงสง  นักแต่งเพลงคนกับควาย เปิดเผยว่า เพลงนี้มัน 40 ปีแล้ว ช่วงนั้นผมเป็นหนุ่มสาว เป็นนักศึกษา อยู่ธรรมศาสตร์ เป็นนศ.มาจากบ้านนอกฝนตก ฟ้าร้องคิดถึงบ้าน นึกถึงบรรยากาศโน่นนี่ก็นึกถึงควาย เลยนึกถึงเพลงคนกับควาย ผมคิดว่าเบื้องหลังวรรณกรรม คือ นักเขียน เบื้องหลังนักเขียนคือนักรบ ผมเขียนคนกับความขึ้นมา เพื่อซึมซับรับรู้ความเป็นไปของนักรบ แล้วสะท้อนออกมาเป็นเพลง บทเพลงคือวรรณกรรมชิ้นหนึ่ง

ขณะที่สุรินทร์ ภาคศิริ  ครูเพลงลูกทุ่ง เผยว่า แทนปากเสียงของประชาชนในยุคนั้นสำคัญมาก เพราะวงคาราวานครองใจ ประชาชนรากหญ้า พอร้องปุกคล้ายเพลงปลุกใจ ฮึกเหิมไม่ย่อท้อแบบภาษาควายอะไรแล้วแต่ แต่ก่อนไม่มีคำว่าไพร่ คำว่าอมาต มีแต่ห่างกันคนละชนชั้น

ถูกนำมาถ่ายทอดซ้ำในหลายรูปแบบไม่เว้นแม้แต่ การเปลี่ยนท่วงทำนองเป็นอคูสติก และยิ่งคุ้นหูเมื่อบทเพลงคนกับควาย ถูกดัดแปลงเนื้อร้องจนถูกใจคอลูกทุ่งกลายเป็นเพลง "เราคนจน" ของสดใส รุ่งโพธิ์ทอง ที่โด่งดังไม่แพ้กันเมื่อ 40 ปีก่อน  โดยเพลงนี้ถูกยกให้เป็นเพลงชาติของคนเพื่อชีวิต โดยมีท่วงทำนองเดิมที่โลดแล่นปลุกความทรงจำ   

เทปมาสเตอร์คนกับควาย ผลิตขึ้นมาเพียงไม่กี่ร้อยแผ่น จำหน่ายในราคา 25 บาท และกลายเป็นอัลบั้มประวัติศาสตร์ที่ถูกทำลายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519  ก่อนจะมีการรีมาสเตอร์อีกครั้งเมื่อ 18 ปีก่อน และกลายเป็นอัลบั้มหายากของนักสะสม ด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาทีในการถ่ายทอดจริง แต่บทเพลงง่ายๆ ที่แสดงความเป็นตัวตน กลับทำให้วงคาราวานกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ เรียกร้อง เพื่อผู้ทุกย์ยากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในขณะที่เพลงคนกับควาย ทำหน้าที่บอกเล่าประสบการณ์อันเจ็บปวดในการต่อสู้ของตัวแทนแห่งยุค


ข่าวที่เกี่ยวข้อง