"วีรชัย" ชี้แจงภูมะเขือไม่ใช่ส่วนหนึ่งปราสาทพระวิหาร

การเมือง
13 พ.ย. 56
08:57
99
Logo Thai PBS
"วีรชัย" ชี้แจงภูมะเขือไม่ใช่ส่วนหนึ่งปราสาทพระวิหาร

เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ชี้แจงที่ในที่ประชุมร่วมรัฐสภากรณีคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารว่า โดยระบุว่าภูมะเขือไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์แยกจากกัน

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ชี้แจงที่ในที่ประชุมร่วมรัฐสภากรณีคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารว่า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนว่า สำหรับคำว่ายอดเขา เป็นคำแปลชั่วคราวมาจากคำว่า "Promontory" เพราะยังหาคำว่าที่เหมาะสมกว่ายอดเขาไม่ได้ บางคนใช้คำว่า "ชะง่อนผา" ซึ่งจะรับไปพิจารณา
          
สำหรับคำพิพากษาในส่วนที่เป็นเหตุผลนั้นมีสาระสำคัญคือ ศาลตีความคำพิพากษา ปี 2505 มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือศาลไม่ได้ชี้ขาดเรื่องเขตแดน ซึ่งศาลรับฟังข้อต่อสู้ของไทย ขณะที่แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ศาลฟังกัมพูชาแต่จำกัดในบริเวณพิพาทในคดีเดิมเท่านั้น แม้เส้นเขตแดนบนแผนที่ดังกล่าวจะยาวกว่า100 กิโลเมตร และศาลได้ตีความว่าปราสาทอยู่บนดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และระบุดินแดนที่ไทยต้องถอนกำลังออก 
 
ทั้งนี้ ดูในหลักศาลจากคดีเดิมว่ากองกำลังของไทยตั้งอยู่ที่ใด โดยคำให้การในปี 2504 ก่อนมีคำพิพากษา ศาลจึงเห็นว่าอย่างน้อยบริเวณใกล้เคียงปราสาทจะต้องรวมที่ตั้งของตำรวจตระเวนชายแดนไทยที่ตั้งอยู่ทิศเหนือของเส้นมติครม. ปี 2505 ที่กำหนดในภายหลังคดี แต่อยู่ใต้เส้นเขตแดนบนแผนที่ 1 ต่อ 200,000 และอยู่เหนือเส้นสันปันน้ำ ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่าเส้นเขตแดนตามมติครม.ไม่อาจเป็นขอบเขตใกล้เคียงปราสาทเขาพระวิหารได้
 
ศาลยังตีความว่าอธิบายพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยใช้ลักษณะของภูมิศาสตร์เป็นหลัก จากนั้นก็ตีความว่าพื้นที่ในคดีเดิม คือแคบและจำกัดอย่างชัดเจน ส่วนทางเหนือจำกัดโดยดินแดนของกัมพูชา บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ศาลตีความจำกัดว่ายอดเขาพระวิหาร ด้วยเหตุผลว่าไม่รวมภูมะเขือ เพราะเป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์แยกจากกัน ผู้ว่าฯราชการจังหวัดเขาพระวิหาร ในสมัยนั้นก็ให้การว่าพื้นที่ภูมะเขืออยู่คนละจังหวัดกับยอดเขาพระวิหาร 
 
ขณะที่ทนายความของกัมพูชาก็บอกว่าภูมะเขือไม่ใช้พื้นที่สำคัญในการพิจารณา และไม่มีหลักฐานว่ากองกำลังของไทยอยู่ที่ภูมะเขืออีกด้วย จึงสรุปได้ว่าพื้นที่ใกล้เคียงจำกัดเพียงยอดเขาพระวิหาร และจะต้องเล็ก แคบ จำกัด และเห็นได้ชัด ศาลรับทราบข้อต่อสู้ของไทยเพื่อถ่ายทอดแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ลงไปในพื้นที่จริง และศาลในคดีเดิมก็ไม่ได้พิจารณาจึงอยู่นอกอำนาจของศาลปัจจุบัน การถ่ายทอดเส้นของแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ไม่สามารถดำเนินการฝ่ายเดียวได้ 
 
นอกจากนี้ ศาลยังตัดสินว่าไทย และกัมพูชาต้องร่วมมือกันและประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องปราสาทเขาพระวิหารในฐานะมรดกโลก และจำเป็นต้องมีทางเข้าปราสาทจากที่ราบในฝั่งกัมพูชา นอกจากนี้ ศาลยังไม่วินิจฉัยของประเด็นเส้นเขตแดนมีผลผูกพันหรือไม่ และพันธกรณีการถอนกำลังทหารต่อเนื่องหรือไม่ เพราะศาลเดิมไม่ได้ตัดสินเอาไว้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง