ทิศทางแรงงานยุค “ไทยแลนด์ 4.0”

เศรษฐกิจ
18 ม.ค. 60
20:04
1,343
Logo Thai PBS
ทิศทางแรงงานยุค “ไทยแลนด์ 4.0”
"ทีดีอาร์ไอ" ชี้ระบบการศึกษาไทยยังไม่รองรับนโยบาย 4.0 อนาคตแรงงานกึ่งฝีมือร้อยละ 75 เสี่ยงตกงาน เร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรองรับกับเทคโนโลยี ขณะที่นักวิชาการด้านแรงงานแนะภาครัฐสนับสนุนการลงทุน ควบคู่คุ้มครองแรงงาน

รศ.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึง การลงทุนของภาคเอกชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ในกระบวนการผลิตเพื่อรองรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ว่ายังไม่เห็นภาพการลงทุนในภาพรวม โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานขั้นสูงให้รองรับกับเทคโนโลยี ข้อมูลการพยากรณ์ด้านเศรษฐกิจ ที่ระบุว่าแรงงานร้อยละ 75 เป็นแรงงานกึ่งฝีมือ และอาจเสี่ยงกับการตกงานในอนาคต ขณะที่แผนระบบการศึกษาในปัจจุบันก็ไม่รองรับนโยบาย 4.0 ที่ต้องการแรงงานฝีมือที่มาจากอาชีวศึกษาและมีประสบการณ์จริงในการฝึกปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ รศ.กิริยา กุลกลการ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ระบุว่าขณะนี้บริษัทขายสินค้าออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ในสหรัฐอเมริกาอย่างอเมซอนเริ่มใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มพนักงานบริษัทก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบนี้

ขณะที่ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ด้านแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลควรวางแผนและส่งเสริมการศึกษาที่ตอบโจทย์การทำงานตามความต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีวะศึกษาที่ต้องเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น พร้อมทั้งมุ่งเน้นการวางหลักสูตรที่รองรับโดยเฉพาะเรื่อง STEM การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไปพร้อมกับความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ให้นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนรู้ หรือฝึกการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบกิจการ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง