7 พฤติกรรม "ฆ่า" แบบไหนที่ต้องรับโทษประหาร

อาชญากรรม
19 มิ.ย. 61
15:03
21,271
Logo Thai PBS
 7 พฤติกรรม "ฆ่า" แบบไหนที่ต้องรับโทษประหาร
ญาตินักโทษประหารติดต่อรับศพกลับไปประกอบพิธีทางศาสนาแล้ว เผยก่อนประหารสีหน้าเรียบเฉย ขอกินข้าวเหนียวไก่ย่างเป็นอาหารมื้อสุดท้าย ด้านสำนักงานกิจการยุติธรรมเผย 7 พฤติกรรมการฆ่า ที่ต้องรับโทษหนักด้วยการประหารชีวิต

วันนี้ (19 มิ.ย.2561) พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า หลังกรมราชทัณฑ์ได้บังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี ผู้ต้องขังในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ว่าญาติของนักโทษได้มารับศพออกจากเรือนจำกลางบางขวางเพื่อนนำไปประกอบพิธีทางศาสนาแล้ว

สำหรับนักโทษประหารรายนี้ หลังทราบคำสั่งประหารชีวิต เจ้าหน้าที่ได้คุมตัวไปยังแดนประหาร โดยให้ติดต่อไปยังญาติพี่น้องเพื่อแจ้งข่าวและกล่าวคำอำลา พร้อมให้รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยนักโทษร้องขอข้าวเหนียวไก่ย่างเป็นอาหารมื้อสุดท้าย หลังกินอาหารอิ่มจึงนำตัวเข้าไปยังห้องฉีดยาพิษเพื่อบังคับโทษตามคำพิพากษาให้ประหารชีวิต ซึ่งนักโทษมีสีหน้าเรียบเฉยตลอดระยะเวลาห้วงสุดท้ายของชีวิต

นักโทษประหาร "ฉีดยาพิษ"คนแรกในรอบ 9 ปี

เมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.) กรมราชทัณฑ์ได้บังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี ผู้ต้องขังในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 ก.ค.2555 ที่จ.ตรัง นักโทษเด็ดขาดดังกล่าวได้ทำร้ายและบังคับให้เอาทรัพย์สิน คือ โทรศัพท์มือถือ และกระเป๋าสตางค์ รวมทั้งใช้มีดแทงผู้ตาย รวม 24 แผล เป็นเหตุให้เหยื่อถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิตศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาพิพากษายืนเป็นผลให้คดีถึงที่สุด ถือเป็นคนแรกในรอบ 9 ปี และเป็นนักโทษคนที่ 7 ที่ถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดยา หลังมีการเปลี่ยนแปลง กฎหมายอาญาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิต จากการยิงเป้า เป็นฉีดยา หรือสารพิษให้ตายแทน

 

ภาพ: พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์

ภาพ: พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์

ภาพ: พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์


พ.ต.อ.ณรัชต์  อธิบายการบังคับโทษประหารชีวิตดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ประกอบมาตรา 19 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย หลักเกณฑ์ และ วิธีการประหารชีวิตนักโทษ พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยา หรือสารพิษให้ตาย นับเป็นผู้ต้องขัง คนที่ 7 นับแต่มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546

ซึ่งเปลี่ยนวิธีการบังคับโทษประหารชีวิตจากการยิงเสียให้ตายเป็นการฉีดสารพิษอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยังเปิดเผย ตัวเลขการบังคับโทษประหารชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน มีการบังคับโทษประหารชีวิตแล้ว 325 คน โดยแยกเป็น- ใช้อาวุธปืนยิง จำนวน 319 คน- การฉีดยา-สารพิษ จำนวน 6 คนการประหารชีวิต ถือเป็นบทลงโทษทางอาญา ที่หนักที่สุดตามกฎหมายไทย ซึ่งมีโทษ 5 อย่าง คือ ปรับ ริบทรัพย์ กักขัง จำคุก และประหารชีวิต กรมราชทัณฑ์ ระบุหวังว่าการประหารชีวิตจะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ที่คิดจะก่ออาชญากรรมร้ายแรงหรือกระทำผิดกฎหมายได้ยั้งคิดถึงบทลงโทษนี้

 

ภาพ: สำนักงานกิจการยุติธรรม

ภาพ: สำนักงานกิจการยุติธรรม

ภาพ: สำนักงานกิจการยุติธรรม

 

7 พฤติกรรมฆ่าที่ต้องโทษประหารชีวิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่านอกจากนี้สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้เผยแพร่สื่ออินโฟกราฟฟิกชี้แจง 7 พฤติกรรมการฆ่า ที่ต้องรับโทษหนักด้วยการประหารชีวิต ไว้ดังนี้ 1. การฆ่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทวดที่สืบสายโลหิตโดยตรง 2.ฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำตามหน้าที่ 3. การฆ่าโดยทรมานหรือทารุณโหดร้าย 4. การฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่ได้ทำตามหน้าที่ หรือฆ่าบุคคลที่กำลังจะช่วยเหลือ หรือได้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน

5.การฆ่าเพื่อเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ หรือเพื่อปกปิดหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิด 6 การฆ่าเพื่อเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิด 7 การฆ่าโดยไตร่ตรอง คิดทบทวน วางแผน ก่อนจะลงมือฆ่า เช่น จ้างวานฆ่า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

รมว.ยุติธรรมเรียกถกด่วน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ หลังประหารนักโทษ

คนแรกในรอบ 9 ปี “ฉีดยาพิษ” ประหารชีวิต นักโทษฆ่าชิงทรัพย์

แอมเนสตี้ ชี้ "ประหารชีวิต" ละเมิดสิทธิ-ไม่ลดอาชญากรรม

2 ทนายเห็นแย้ง ควรใช้หรือยกเลิกโทษประหารชีวิต

ทำผิดคดีไหน? อาจถึงโทษประหารชีวิต 

แอมเนสตี้ฯ ออกแถลงการณ์ หลังไทยประหารชีวิตครั้งแรกรอบ 9 ปี 

สถานการณ์ลงโทษ "ประหารชีวิต" ปี 60 จีนมากที่สุด 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง