สุสานไดโนเสาร์ "ซอโรพอด" อายุ 130 ล้านปีในอ่างเก็บน้ำพระปรง

สิ่งแวดล้อม
13 พ.ค. 62
17:14
47,168
Logo Thai PBS
สุสานไดโนเสาร์ "ซอโรพอด" อายุ 130 ล้านปีในอ่างเก็บน้ำพระปรง
กรมทรัพยากรธรณี ค้นพบสุสานไดโนเสาร์ ในบริเวณอ่างเก็บน้ำพระปรง จ.สระแก้ว หรือแอ่งบูรพา เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านซากดึกดำบรรพ์ โดยพบกระดูกไดโนเสาร์ ซอโรพอด อายุ 130 ล้านปี คาดเป็นชนิดใหม่ของโลก ประกาศคุ้มครองพื้นที่เป็นมรดกทางธรรมชาติ

วันนี้ (13 พ.ค.2562) กรมทรัพยากรธรณี จัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 หลักสูตรพิเศษเพื่อสร้างความเข้าใจทางด้านซากดึกดำบรรพ์ การบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์และกฎหมายคุ้มครอง ว่าด้วยซากดึกดำบรรพ์ โดยมีนายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมฯ

นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณีเป็นหน่วยงานหลักด้านการศึกษาวิจัยและบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ ได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 เพื่อคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติ ความเป็นมาของโลก บรรพชีวินธรณีวิทยา ซึ่งแหล่งซากดึกดำบรรพ์และซากดึกดำบรรพ์ ถือเป็นสมบัติของแผ่นดิน ที่ต้องอนุรักษ์ให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของแผ่นดิน

 

 

โดยพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีการค้นพบสุสานไดโนเสาร์ในบริเวณอ่างเก็บน้ำพระปรง ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านซากดึกดำบรรพ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติปางสีดา  

 

 

โดยพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยมีการค้นพบซากไดโนเสาร์ดึกดำบรรพที่บริเวณอ่างเก็บน้ำพระปรง ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว​ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านซากดึกดำบรรพ์ และขณะนี้ยังมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอด วงศ์ Titannosaurid มีอายุ 130 ล้านปี อยู่ในช่วงครีเทเชียสตอนต้น เป็นฟันไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ กระดูกเชิงกราน กระดูกหน้าแข้ง กระดูกสันหลัง กะดูกขาหลังท่อนบน

 

นอกจากนี้ ยังพบสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังร่วมยุค ประกอบด้วย จระเข้ (ฟัน) 2 ชนิด เต่า 3 ชนิด ปลากระดูกแข็ง (เกล็ด) 2 ชนิด และปลาฉลาม (ฟัน) 3 ชนิด และตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติปางสีดา จนถึงปัจจุบันได้มีการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ทั้งหมด 62 ชิ้น

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ากระดูกดังกล่าวเป็นของกลุ่มซอโรพอด คอยาว หางยาว และมีโอกาสที่จะเป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลกได้

กรมทรัพยากรธรณีวิทยา ได้มีแนวทางการบริหารจัดการในพื้นที่แหล่งไดโนเสาร์ ประกาศเป็นเขตพื้นที่การสำรวจศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของจังหวัด

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง