เพียงคำเดียว สำนวนจากการละเล่นชักเชิดหุ่น

Logo Thai PBS
เพียงคำเดียว สำนวนจากการละเล่นชักเชิดหุ่น
พูดถึง "ใย" หลายคนนึกถึงแมงมุม หากแต่ในสำนวนที่กล่าวถึงคนบงการ "ชักใย" ที่ว่ากลับมีที่มาจากการละเล่นหุ่น

เพราะไม่ใช่แค่บังคับ จับให้ขยับ หากยังทำให้เคลื่อนไหวด้วยกลไกเชื่อมต่อหุ่นเข้ากับเชือกหรือเส้นด้าย จนดูคล้ายกับหุ่นขยับได้เอง นอกจากเป็นวิธีสร้างสรรค์การแสดงที่หลายชาตินำมาใช้กับหุ่นในแบบต่างๆ วิธีเดียวกันนี้ยังมีให้เห็นในศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทย ที่ผู้เชิดทำให้ตัวหนังเคลื่อนไหวราวมีชีวิต 

 

จากหนังหรือหุ่นเบื้องหน้าจึงกลายเป็นที่มาของคำกริยา ว่าด้วยการ "ชักใย" สำนวนไทยใช้เปรียบกับการกระทำที่มีผู้ควบคุมบงการอยู่เบื้องหลัง หรือในบางครั้งยังแสดงถึงอิทธิพลของกลุ่มคนที่ไม่ดี บางทีใช้ว่า "หุ่นเชิด"

ผศ.พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ / อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มศว 

ใยก็เหมือนกับเชือกที่จะต้องไม่เส้นใหญ่หรือชัดเจนมากนัก เหมือนว่าหุ่นเคลื่อนไหวไปเองตามธรรมชาติ ชักใยจึงเป็นสำนวนที่มาจากการแสดงหรือการละเล่น เปรียบเทียบพฤติกรรมคนที่ไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง ต้องมีคนคอยบอก

 

นอกจากกริยาการชักเชิดหุ่นในสำนวนไทย ภาษาอังกฤษเองก็มีคำเฉพาะเจาะจงในความหมายเดียวกัน คือการใช้ PUPPET ทั้งในความหมายว่า หุ่น และหุ่นเชิดที่ตกเป็นเครื่องมือของผู้อื่น

อ.ศุภณิจ กุลศิริ / ประธานหลักสูตร ศศ.บ. สาขาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มศว 

ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเรามีคำที่ใช้สำนวนเหมือนกันในหลายๆคำ อย่าง PUPPET เป็นคำนาม แปลว่าหุ่น และหุ่นเชิด 

 

รูปแบบการละเล่นที่โดดเด่นของหนังตะลุงหรือหนังใหญ่ ซึ่งในอดีตเป็นมหรสพที่มักลงโรงแสดงก่อนประชุมเพลิง ยังทำให้เกิดสำนวน "หนังหน้าไฟ" ให้ความหมายถึง ผู้ที่คอยออกรับหน้า หรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่นเป็นอันดับแรก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง