เพียงคำเดียว ภาษาน้ำในคำพังเพย "น้ำขึ้นให้รีบตัก"

Logo Thai PBS
เพียงคำเดียว  ภาษาน้ำในคำพังเพย "น้ำขึ้นให้รีบตัก"
สำนวนเดียวกัน หากแต่เมื่อนำใช้ในบางพื้นที่กลับมีความหมายต่างไป หนึ่งในนั้นคือ "น้ำขึ้นให้รีบตัก" สำนวนสะท้อนวิถีชาวน้ำเมืองแม่กลอง

โบราณว่าช้าๆได้พร้าเล่มงาม แต่สำหรับชาวเมืองสามน้ำช้าๆอาจไม่ทัน ต้องขยันรีบตัก นั่นก็เพราะแม้ขึ้นชื่อเป็นแม่น้ำ แต่ที่ตั้งใกล้ชายฝั่งปากอ่าวไทย น้ำที่ไหลขึ้นลงในแต่ละวันจึงมีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม นอกจากเป็นที่ของคำเรียก แม่กลองเมืองสามน้ำ วิถีชาวน้ำที่เมื่อน้ำขึ้นต้องรีบตักน้ำใส่ตุ่มก่อนที่น้ำจะเค็ม ยังถูกนำมาเปรียบเทียบกับคำพังเพย "น้ำขึ้นให้รีบตัก" สอนให้เตรียมพร้อม และไม่ประมาท

ปัญญา โตกทอง : ปราชญ์ชาวบ้านอัมพวา

ปัญญา โตกทอง : ปราชญ์ชาวบ้านอัมพวา

ปัญญา โตกทอง : ปราชญ์ชาวบ้านอัมพวา

มันเป็นภาษาถิ่นที่ชาวบ้านสั่งสมภูมิปัญญาและเรียกกันมา เช่น น้ำลักจืดลักเค็มก็คือน้ำกร่อย คนโบราณเค้าจะสอนลูกหลาน เวลาน้ำจืดไหลลงมาให้รีบตัก เพราะเมื่อน้ำขึ้นสุดตัวจะเค็ม

การขึ้นลงของน้ำยังทำให้เกิดคำเรียกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น น้ำเกิด-น้ำตาย ที่อ้างอิงได้จากข้างขึ้นข้างแรม หรือจะเป็นลักษณะของน้ำที่ไหล ในความหมายของ น้ำเท้อ-น้ำทาม

 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคำสื่อความถึงภาษาน้ำ เช่น น้ำทรง หมายถึง ช่วงน้ำหยุดไหลในขณะที่กำลังเปลี่ยนระดับ แต่หากมีลักษณะที่กระแสน้ำขึ้นน้ำลง หรือน้ำจืดน้ำเค็มมาบรรจบกัน ในทางภาษาบางพื้นที่เรียกว่า น้ำชน

 

https://www.facebook.com/ArtandCultureThaiPBS/videos/2601875619830673/

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง