"กรมเจ้าท่า" รับดินเลนขุดลอกร่องน้ำถมปะการังเกาะหนู-เกาะแมว

สิ่งแวดล้อม
16 ก.ค. 63
18:01
1,148
Logo Thai PBS
"กรมเจ้าท่า" รับดินเลนขุดลอกร่องน้ำถมปะการังเกาะหนู-เกาะแมว
"กรมเจ้าท่า" ยืนยันไม่ได้นำดินเลนจากการขุดลอกร่องน้ำไปทิ้งบริเวณที่มีปะการังเกาะหนู เกาะแมว ชี้อาจแจะถูกพัดพาไปโดยธรรมชาติ จนทำให้ปะการังเสื่อมโทรม แต่เร่งเดินหน้าแก้ปัญหา ด้านนักวิชาการ ระบุสภาพพื้นที่มีตะกอนจากฝั่งลงทะเล ต้องขุดลอกทิ้งทุกปี

กรณีปัญหาร้องเรียนเรื่องปัญหาการขุดลอกทะเลสาบสงขลา จ.สงขลา ซึ่งอาจมีการนำดินที่ขุดลอกไปทิ้งจนทำให้ปะการัง รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเล ในพื้นที่เกาะหนู เกาะแมว เกิดปัญหาเสื่อมโทรม

วันนี้ (16 ก.ค.2563) นายอนันต์ แก้ววิเชียร ผอ.สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 กรมเจ้าท่า ชี้แจงว่า ตะกอนดิน อาจจะถูกพัดพามาโดยธรรมชาติ ระหว่างการขุดลอกทะเลสาบสงขลา ไม่ได้เป็นการตั้งใจนำดินเลนไปทิ้งบริเวณดังกล่าว เพราะกำชับให้ผู้รับจ้าง นำดินเลนไปทิ้ง ห่างจากฝั่ง 12 กิโลเมตร แต่จะตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

ส่วนหนึ่งยอมรับว่ามาจากระหว่างการปฏิบัติงาน ช่วงที่นักประดาน้ำลงไปเป็นช่วงที่การช่วงที่ขุดร่องน้ำบริเวณเกาะแมวพอดี และในการขุดลอกจะมีตะกอนได้แน่ๆ และกระแสน้ำพัดจากเกาะหนู เกาะแมวได้ จะมีตะกอนลงไปถึงแนวปะการัง

 

ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาชนในจ.สงขลา ยืนยันจะติดตามการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะแหล่งปะการังและหญ้าทะเลในจ.สงขลา มีน้อยมาก จึงเรียกร้องให้ร่วมกันรักษาคงระบบนิเวศทางทะเลไว้เพาะการขุดลอกทะเลสาบสงขลา 2 โครงการ คือการขุดทะเลสาบตอนล่าง และบริเวณท่าเรือน้ำลึกสงขลา เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าทางทะเล ที่คาดว่าเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดตะกอนดินจำนวนมาก ทับถมแหล่งหญ้าทะเล และแหล่งกัลปังหา บริเวนเกาะหนู เกาะแมว จนเกิดความเสียหายเสื่อมโทรม โดยเฉพาะหญ้าทะเล ที่เคยมีอยู่กว่า 6 ไร่ ขณะนี้เหลือเพียง 1 ไร่เศษ

ตะกอนจากชายฝั่ง-ขุดลอกปัจจัยร่วม 

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบทางกรมเจ้าท่า พยายามเร่งแก้ปัญหานี้ทันที หลังจากถูกร้องเรียนว่ามีการนำเอาดินจากการขุดลอกไปทิ้ง โดยมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปบนเรือทุกครั้ง กำหนดจุดทิ้งตะกอนดินทางด้านเหนือห่างจากชายฝั่งประมาณ 12 กิโลเมตรและตรวจวัดโดยใช้จีพีเอส

ตะกอนที่ทับถมแนวปะการังส่วนหนึ่ง มาจากปากทะเลสาบสงขลา ซึ่งพัดพาจากชายฝั่งออกไปเกาะหนู เกาะแมว ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ ทำให้มีปะการังเสื่อมโทรม รวมทั้งหญ้าทะเลบางชนิดเช่น หญ้าชะเงาใบกลม หายไปหลายปี 

 

นายศักดิ์อนันต์ กล่าวว่า  ส่วนปะการังบางชนิดมีแนวโน้มเสื่อมโทรมมาก เหลือบางกลุ่ม เช่น ปะการังจาน จะทนตะกอนสูง แต่ก็มีปะการังครอบคลุมพื้นที่แค่ 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งนี้พื้นที่แถวนี้เป็นร่องน้ำที่ใช้เดินเรือขนาดใหญ่ และเนื่องจากมีตะกอนที่พัดเข้ามาทุกปี ทำให้ต้องมีการขุดลอกตะกอนออกจากพื้นที่ทุกปี 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง