ข่าวดี! พบกะโหลก-ขากรรไกรบน ฟอสซิล "วาฬอำแพง"

สิ่งแวดล้อม
25 พ.ย. 63
11:30
1,839
Logo Thai PBS
ข่าวดี! พบกะโหลก-ขากรรไกรบน ฟอสซิล "วาฬอำแพง"
ข่าวดี! พบชิ้นส่วนสำคัญกะโหลก และขากรรไกรบน (บางส่วน)ของฟอสซิลวาฬที่พบบนบกในต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร พบวาฬเกือบทั้งตัวยาว 12 เมตรถือว่าสมบูรณ์ที่สุด ลุ้นศึกษาวิวัฒนาการสายพันธุ์วาฬ และต่อจิกซอว์สภาพแวดล้อมทะเลโบราณ

ความคืบหน้ากรณีพบโครงกระดูกวาฬขนาดใหญ่ในพื้นที่ ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ในบ่อดินของเอกชน ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบและขุดค้นฟอสซิล จนพบสภาพที่เกือบสมบูรณ์มีความยาว 12 เมตร 

วันนี้ (25 พ.ย.2563) เพจ ThaiWhales เผยแพร่ข่าวดีล่าสุดว่า ทีมนักธรณีวิทยา ขุดพบชิ้นส่วนที่สำคัญของซากฟอสซิลแล้ว เป็นกะโหลกและขากรรไกรบน (บางส่วน) ซึ่งยังขุดไม่เสร็จ โดยแหล่งข่าวระบุว่า หลังจากขุดค้นมาเกือบ 20 วัน ตอนนี้เจอชิ้นส่วนของวาฬเกือบครบทั้งตัว และเป็นการยืนยันเบื้องต้นว่าสายพันธุ์ของฟอสซิลวาฬตัวนี้คล้ายกับวาฬบรูด้า แต่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ แต่อายุของฟอสซิลน่าจะมีอายุ 1,000 -6,000 ปี

"ทีมนักธรณีค่อนข้างตื่นเต้นมาก เพราะเป็นงานขุดค้นแรกๆเกี่ยวกับฟอสซิลวาฬที่ถือว่ามีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ตอนนี้ยังรอผลการตรวจอายุที่เป็นทางการจากชิ้นส่วนที่ขุดได้ และบางส่วนได้เคลื่อนย้ายนำมาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี เพื่อวิจัยต่อเรื่องสายพันธ์ุ"
ภาพ : ThaiWhales

ภาพ : ThaiWhales

ภาพ : ThaiWhales

 

อ่านข่าวเพิ่ม  คาด 15 วันเก็บกู้โครงกระดูกวาฬโบราณสมุทรสาคร

รอลุ้นสายพันธุ์วาฬ-ศึกษาวิวัฒนาการ

นักธรณีวิทยา กล่าวอีกว่า ซากฟอสซิลวาฬ ที่เจอบนแผ่นดินในพื้นที่ ต.อำแพง ตัวนี้จะตอบโจทย์เรื่องธรณีสัณฐาน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและขอบทะเลโบราณ แสดงว่าวาฬตัวนี้อาศัยอยู่ในทะเลแถบนี้มาก่อน และจุดที่เจอเคยมีระดับน้้ำทะเลท่วมถึง 12 กิโลเมตร ซึ่งจุดใกล้ๆกันนี้ยังมีการขุดเจอซากเรืออาหรับเปอร์เซียแถวนี้ ซึ่งกรมศิลปากรกำลังขุดค้นอยู่เช่นกัน โดยข้อมูลที่พบในพื้นที่แถบนี้จะต่อจิ๊กซอว์ว่าแถวนี้มีสภาพแวดล้อมอย่างไร และเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ถึงการรุกของน้ำทะเลเข้ามาในแผ่นดินเมื่อหลายพันปีก่อน

วาฬตัวนี้ทีมนักธรณีเรียกชื่อว่า อำแพง เพราะอยู่ใน ต.อำแพง จุดนี้เคยเป็นทะเลมาก่อนแต่ตอนนี้กลายเป็นบก วาฬจะไขปริศนาหลักฐานสำคัญ ทำให้ต้องอาศัยทีมจาก ทช.และผู้เชี่ยวชาญหลายส่วนมาขุดค้น และศึกษาวิวัฒนาการของซากวาฬตัวนี้เทียบกับวาฬสายพันธุ์ต่างๆ ที่ยังมีชีวิตบนโลกนี้
ภาพ : ThaiWhales

ภาพ : ThaiWhales

ภาพ : ThaiWhales

 

สำหรับการขุดค้นซากฟอสซิลวาฬที่เกือบจะสมบูรณ์ ในเวลา​ 12.30​ น.​นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมคณะสำรวจจากกรมทรัพยากรธรณี และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะลงพื้นที่​ แหล่งพบซากกระดูกวาฬ ​อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร 

อ่านข่าวเพิ่ม ตะลึง! พบกระดูกวาฬโบราณที่บ้านแพ้ว คาดจุดพบเป็นทะเลมาก่อน

ภาพ:กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ:กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ:กรมทรัพยากรธรณี

อีก 1 เดือนรู้ผลอายุฟอสซิลวาฬ

นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า จากการขุดค้นช่วงวัน 9-15 พ.ย.พบมีกระดูกวาฬอีกหลายชิ้นที่เรียงตัวต่อเนื่อง และขุดค้นได้มากกว่าร้อยละ 50 ประกอบไปด้วย กระดูกสันหลังที่สมบูรณ์ 19 ชิ้น กระดูกซี่โครง ข้างละ 5 ชิ้น สะบักไหล่และแขน (ครีบ) ด้านซ้าย ต่อมาคณะสำรวจได้เข้าพื้นที่เพื่อทำการสำรวจเพิ่มเติมอีกครั้งเมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา

การขุดค้นครั้งนี้ค้นพบชิ้นส่วนกระดูกวาฬเพิ่มเติมมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนลำตัวถึงส่วนคอ กระดูกซี่โครง และกะโหลกพร้อมขากรรไกรสภาพสมบูรณ์ หลังจากนี้จะนำตัวอย่างไปอนุรักษ์ในห้องปฏิบัติการและเตรียมวิจัยเพื่อระบุสายพันธุ์

นอกจากโครงกระดูกวาฬ คณะสำรวจยังพบซากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในบริเวณโดยรอบ เช่นฟันฉลาม ฟันกระเบน เปลือกหอย ปูทะเล เพรียงทะเล และเศษไม้ และได้นำตัวอย่าง เปลือกหอย ซากพืช และกระดูกวาฬ ส่งวิเคราะห์หาอายุด้วยวิธีศึกษาธาตุคาร์บอน-14 (C-14) คาดว่าจะทราบผลประมาณอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า 

เปิดสเก็ตช์ภาพฟอสซิลวาฬสมบูรณ์ 

ขณะที่เพจ ThaiWhales ยังโพสต์ข้อมูลว่า WHALE ON LAND กลับมาที่ซากโครงกระดูกกึ่งๆ ฟอส ซิลกันบ้าง ทำไมต้องตีเส้นเชือก ผูกเชือกเพื่ออะไร ขึงสายสิญจน์ให้วาฬเหรอ ตีกริดคืออะไร ทำเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร 

รอบๆ ซากโครงกระดูกวาฬที่อำแพง เราได้ความรู้เรื่องอื่นๆนอกจากเรื่องวาฬมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการทำงานด้านธรณีวิทยา และการขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ จากทีมนักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี
นายปรีชา สายทอง หรือพี่ช้าง ผอ.ส่วนบริหารการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ได้ช่วยอธิบายให้ฟังว่า

การตีกริด เป็นการช่วยในการวาดรูปตัวอย่างกระดูกให้ได้ตามสัดส่วนจริง โดยใช้กระดาษกราฟที่มีช่องเล็กๆ เป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้มาก่อนที่จะมีกล้องถ่ายรูป กล้องฟิลม์ กล้องดิจิทัล หรือ โปรแกรมตัดต่อรูปต่างๆ
ภาพ:กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ:กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ:กรมทรัพยากรธรณี

 

งานตีกริดที่ใช้กันคืองานขุดค้น งานขุดค้นด้านซากดึกดำบรรพ์อาจใช้สีแบ่งเป็นการทำงานรายเดือน รายปี ในงานขุดกระดูกวาฬนี้ นักธรณีวิทยาจะสเก็ตภาพหน้างาน และจึงนำลงคอมฯ วาดตามที่สเก็ตช์มา
ส่วนงานโบราณคดีที่ต้องค่อยๆขุด ค่อยๆวาดรูป แบ่งเป็นชั้นๆ ถ้าขุดเปิดออกในแนวดิ่ง ยังมีตัวอย่างอยู่ในแนวเดียวกันวางซ้อนๆ กันอยู่หรือการขุดร่องสำรวจแผ่นดินไหว ต้องวาดรูปการเปลี่ยนแปลงชั้นตะกอนดินด้วย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง