ชวนผู้หายป่วย "โควิด" เก็บข้อมูลผลสุขภาพกระทบระยะยาว

สังคม
13 ก.ย. 64
11:49
1,474
Logo Thai PBS
ชวนผู้หายป่วย "โควิด" เก็บข้อมูลผลสุขภาพกระทบระยะยาว
กรมการแพทย์ ชวนผู้หายป่วย COVID-19 ร่วมตอบแบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 เบื้องต้น "หมอธีระวัฒน์" ชี้มีอาการ 3 ระยะตั้งแต่ 4 สัปดาห์หลังหายป่วยจนถึง 12 สัปดาห์ได้ เช่น ปวดศีรษะ ปอดบวม กระทบโรคประจำตัว

วันนี้ (13 ก.ย.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ขอเชิญชวนผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID- 19 ร่วมตอบแบบสอบถาม ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วย COVID-19 ตอบแบบสอบถามได้ที่ https://longcovidsurvey.dms.go.th/ หรือสแกน QR code 

จากการเข้าระบบแบบสอบถาม กรมการแพทย์ ระบุว่าเป็นแบบเก็บข้อมูลผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบความชุกของผู้ป่วย COVID-19 ที่รักษาหายแล้วแต่ยังคงมีอาการต่อเนื่อง หรือมีอาการเกิดขึ้นภายหลังรักษาหายแล้วที่เกี่ยวกับโรค COVID-19

ระยะเวลาที่ผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 มีอาการต่อเนื่อง หรืออาการที่เกิดขึ้นภายหลังรักษาหายแล้วที่เกี่ยวกับโรค COVID-19 รวมทั้งความรุนแรงของอาการต่อเนื่อง หรืออาการที่เกิดขึ้นภายหลังรักษาหายแล้วที่เกี่ยวกับโรค COVID-19 หรือผลกระทบต่อผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปจัดการการดูแลผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19  ที่มีภาวะแทรกซ้อน

กลุ่มเป้าหมาย 

ผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 ที่ได้รับการดูแลรักษาหายแล้ว ไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ หมายถึง ผู้ป่วยที่เคยได้รับการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี ตรวจสารคัดหลั่งบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนและคอ (nasopharyngeal and throat) โดยการสวอป หรือใช้ชุดตรวจ ATK โดยได้รับการดูรักษาในสถานบริการสุขภาพ ได้แก่ โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม hospital หรือกักตัวที่บ้าน (home isolation) หรือ ชุมชน (community isolation)

อาการต่อเนื่อง หรืออาการที่เกิดขึ้นภายหลังรักษาหายแล้วที่เกี่ยวกับโรค COVID-19 หมายถึง
อาการผิดปกติที่ยังคงอยู่ภายหลังการรักษา COVID-19 ไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ แต่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ นอกจากนี้ระดับความรุนแรงของอาการ หมายถึง ความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับก่อนที่จะป่วยด้วย COVID-19 

แนะติดตามอาการ COVID-19 ระยะยาว

ก่อนหน้านี้  นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เคยให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า พบว่ามีการรายงานของผู้ที่หายป่วยบางรายเกิดอาการในระยะยาวขึ้น โดยกลุ่มอาการ COVID-19 ของผู้ป่วยโรค  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อและมีอาการบ่งชี้ประมาณ 4 สัปดาห์
  • ระยะที่ 2 ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องไปอีก 4-12 สัปดาห์
  • ระยะที่ 3 ระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการบ่งชี้ของ COVID-19 ในช่วงระหว่างที่พบเชื้อหรือหลังจากการพบเชื้อโดยยังคงมีอาการต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์

อาการที่พบในผู้ป่วย COVID-19 ระยะยาว

อาการของผู้ป่วยโควิด-19 ระยะยาว เป็นอาการที่เกิดขึ้นนานกว่า 12 สัปดาห์ จะพบในผู้ป่วยจำนวน ใ ใน 5 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่อาการอ่อนเพลีย ไอ

ผู้ป่วยบางส่วนพบอาการคล้าย โรค COVID-19 หลังจากผ่าน 12 สัปดาห์ไปแล้ว ปวดศีรษะ
ในผู้ป่วยอาการรุนแรงที่รักษาช้า พบอวัยวะบางส่วนมีความเสียหายหรือถูกทำลายอย่างถาวร เช่นอาการปอดบวมหรือเนื้อปอดถูกทำลาย เชื้อ COVID-19 ยังอาจส่งผลให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยที่มีอยู่เดิมเกิดอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคใต โรคที่เกี่ยวกับระบบอวัยวะอื่น ๆ และภาวะสมองเสื่อม 

คำแนะนำจากแพทย์ โรค COVID-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่เคยติดเชื้อในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการป้องกันตัวเองและปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกัน COVID-19เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

 

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดเพิ่ม 12,583 คน เสียชีวิต 132 คน

 

 

 

 

  
ข่าวที่เกี่ยวข้อง