วิเคราะห์มองเลือกตั้ง อบต.ในพื้นที่ จ.พะเยา

ภูมิภาค
24 พ.ย. 64
09:32
1,476
Logo Thai PBS
วิเคราะห์มองเลือกตั้ง อบต.ในพื้นที่ จ.พะเยา
จ.พะเยา นับเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคพลังประชารัฐ กับพรรคเพื่อไทย การเลือกตั้งใหญ่ครั้งที่ผ่านมาเพื่อไทย เสียที่นั่ง ส.ส. 2 ใน 3 ที่ให้กับพรรคพลังประชารัฐ การเลือกตั้ง อบต. ครั้งนี้จึงถูกจับตาอาจเป็นตัวชี้วัดการเมืองในระดับชาติ

นายถิรายุส์ บำบัด ผู้ช่วยคณบดีคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มองภูมิศาสตร์การเมือง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หน้าเขา และหลังเขา

หน้าเขา ได้แก่ อำเภอเมือง, ดอกคำใต้, แม่ใจ, หลังเขา เชียงคำ, ภูซาง, ปง, เชียงม่วน

จุน จะอยู่ตรงกลางการเมืองทั้ง 2 กลุ่มนี้

การเลือกตั้ง อบต.ในรอบนี้ มีการแข่งขันสูงเป็นเรื่องปกติ มองว่า น่าจะเป็นสนามที่ประเมินฐานคะแนนเสียงที่สำคัญก่อนจะเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ทั่วไปอีกครั้ง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ในพื้นที่ จ.พะเยา ย่อมมีผลต่อการเลือกตั้งระดับชาติ

 

ภาพการเมืองระดับชาติมองระดับท้องถิ่นทุกพรรคการเมืองเริ่มที่จะขยับ ในทางกฎหมายอาจลงสนับสนุนการเมืองระดับ อบต.ไม่ได้ แต่การเมืองระดับชาติกับการเมืองท้องถิ่นในเชิงพฤตินัย ย่อมมีความสัมพันธ์กันในตัวกลุ่มการเมืองและนักการเมืองในพื้นที่

ยกตัวอย่างเช่น อ.เมืองพะเยา พื้นที่ จ.พะเยา เป็นที่ทราบดี กลุ่มการเมืองที่สำคัญปัจจุบันคือ ร.อ ธรรมนัส พรหมเผ่า พื้นที่การเลือกตั้งระบบทางวิชาการ ระบบหัวคะแนนระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล เป็นผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น

เพราะฉะนั้นการเมืองท้องถิ่นต้องการอิงกับกระแส อาจจะไม่ใช่พรรคการเมือง อาจจะเป็นกลุ่มการเมืองของนักการเมืองระดับชาติ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแต่ละพื้นที่ เช่นที่ อบต.บ้านตุ่น อ.เมือง มีความน่าสนใจ เช่น ป้ายหาเสียงชื่อกลุ่มการเมืองเดียวกัน ใช้คำว่า "ฮัก" คือ "ฮักตำบลบ้านตุ่น" ทั้งสองหมายเลข

ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับกลุ่มนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่ คือ ร.อ ธรรมนัส ชัดเจน เหมือนพี่กับน้องแข่งขันกัน ทั้งอดีตนายก อบต.คนเก่า กับ ผู้ท้าชิงคืออดีตผู้ใหญ่บ้านแหนบทองคำ สุดท้ายก็เป็นการแข่งขันกลุ่มการเมืองระดับชาติ

ส่วนที่ อ.เชียงคำ กลุ่มการเมืองระดับชาติ ก็เป็นพื้นที่คนละกลุ่มของ ร.อ. ธรรมนัส เป็นพื้นที่ของนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา 5 สมัย พื้นที่น่าสนใจ เช่น อบต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ

ผู้สมัครนายก อบต.ทั้ง 2 คนหันมาอิงกลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส เมื่อการเมืองระดับชาติ ในพื้นที่ จ.พะเยา เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2562 การเมืองท้องถิ่น ก็เปลี่ยนจากพื้นที่สีแดงเข้มเป็นสีน้ำเงิน

พรรคพลังประชารัฐ เจาะพื้นที่สีแดงไป 2 เขต คือเขตที่ 2 พื้นที่ อ.เชียงคำ เมื่อกระแสการเมืองระดับชาติเปลี่ยน ระดับท้องถิ่นก็มีการย้ายมาอิงกับอีกฝั่งเป็นเรื่องธรรมดา

สัญลักษณ์การเมืองในพื้นที่ จ.พะเยา ถ้าพื้นที่ไหนป้ายผู้สมัครหาเสียงเป็นชุดพื้นเมืองสีชมพู เห็นทีมงานทีมผู้สมัคร นายก อบจ. และ ส.อบจ.ก็จะเป็นทีมฮักพะเยา ถ้าปรากฏป้ายหาเสียงแบบนี้ที่ไหน ท้องถิ่นนั้นก็จะอิงการเมืองระดับชาติได้ และมีชื่อกลุ่มฮักต่างๆ

การเลือกตั้ง อบจ.ที่ผ่านมา สามารถนำมาวิเคราะห์ ผลการเลือกตั้ง อบต.ได้ เพราะสนามเลือกตั้ง ร.อ.ธรรมนัส ถือว่าเป็นกลุ่มการเมืองใหม่ กลุ่ม นายก อบจ.และ ส.อบจ.

การที่น้องชาย ร.อ.ธรรมนัส ชนะการเลือกตั้งกลุ่มการเมืองเก่า ใน จ.พะเยาและเป็นพรรคใหญ่ที่เคยเป็นรัฐบาล เช่น พรรคเพื่อไทย การเลือกตั้ง นายก อบจ.พะเยา ทีมฮักพะเยา จาก 24 เขต ชนะมาทั้งหมดยกเว้น 3 เขต

 

ส่วน ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ หัวหน้าพรรคเสมอภาค อดีต ส.ส.พะเยา ติดต่อกัน 3 สมัย และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ถือเป็นตำนานนักการเมืองระดับชาติของ จ.พะเยา การไม่ได้ลง ส.ส.เขต แต่ไปลงบัญชีรายชื่อ ตั้งแต่ปี 2539 ทำให้ห่างการเมืองท้องถิ่นไปมาก

สำหรับจังหวัดพะเยา มี อบต.36 แห่ง มีผู้สมัคร นายก อบต.88 คน ผู้สมัครสมาชิก อบต.1,030 คน ผู้สมัครนายก อบต.มากสุด คืออบต.แม่นาเรือ อ.เมือง จำนวน 5 คน และผู้สมัคร สมาชิก อบต.มากที่สุด คือ อบต. พื้นที่ อ.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จำนวน 49 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง