เปิดปฏิบัติการ "อุดรอยรั่ว" น้ำมันรั่วทะเลระยองคาดใช้เวลา 10 วัน

สิ่งแวดล้อม
21 ก.พ. 65
11:20
903
Logo Thai PBS
เปิดปฏิบัติการ "อุดรอยรั่ว" น้ำมันรั่วทะเลระยองคาดใช้เวลา 10 วัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดปฏิบัติการอุดรอยรั่วท่อน้ำมันใต้ทะเล 25 เมตร จ.ระยอง คาดใช้เวลา 10 วัน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กังวลแผนเผชิญเหตุไม่รัดกุม เดิมพันน้ำมันค้างท่อ 12,000 ลิตร ทช. สุ่มเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันดินที่พบบนหาดแม่รำพึง จ.ระยองไปตรวจสอบ ส่วนน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ปกติ

วันนี้ (21 ก.พ.2565) นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมหลังรับแจ้งเหตุพบคราบฟิล์มน้ำมัน คราบตะกอนเหนียว และมีกลิ่นในพื้นที่หาดแม่รำพึง บริเวณคลองหัวรถ และร้านเจ๊จุกซีฟู๊ด จ.ระยอง จึงสำรวจชายหาดแม่รำพึง ตั้งแต่ศาลเจ้าแม่รำพึงถึงก้นอ่าว ระยะทางประมาณ 9.5 กม. พบสภาพน้ำทะเลเป็นปกติ และไม่พบคราบฟิล์มน้ำมันในน้ำทะเล

นายโสภณ กล่าวว่า ส่วนก้อนน้ำมันดินบนชายหาดตั้งแต่บริเวณสะพานท่าเรือตะพงไปจนถึงก้นอ่าว ระยะทาง 8 กม.ได้สุ่มเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันดินบริเวณสะพานท่าเรือตะพง คลองหัวรถ ร้านเจ๊จุกซีฟู๊ด และก้นอ่าวพบความหนาแน่นสูงสุดบริเวณคลองหัวรถ

อธิบดีทช.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จากการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลบริเวณชายหาดสุชาดา หาดแสงจันทร์ อ่าวบ้านเพ และหาดสวนสน พบสภาพน้ำทะเลเป็นปกติ ไม่พบคราบฟิล์มน้ำมันในน้ำทะเล และก้อนน้ำมันดิน ภาพรวมน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ปกติตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ 

ตอนนี้ ได้เก็บตัวอย่างน้ำทะเล และดินตะกอนบริเวณสถานีเก็บตัวอย่างก้อนน้ำมันดิน เพื่อหาการปนเปื้อนปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนด้วย

อ่านข่าวเพิ่ม ยังอุดรอยรั่ว "ท่อส่งน้ำมันดิบ" จุดที่ 2 ไม่ได้ รอกรมเจ้าท่าอนุมัติ

เปิดแผนอุดรอยรั่วน้ำมันใต้ทะเลระยอง 

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการประชุมหารือกรณีบริษัทสตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟนนิ่ง จำกัด (มหาชน) ขอเข้าพันปิดรอยรั่วของท่ออ่อนใต้ทะเล 25 เมตร ซึ่งเมื่อวานนี้ (20 ก.พ.) กรมเจ้าท่าได้เห็นชอบในหลักการต่อแผนปฏิบัติการแล้ว แต่วันนี้ขอให้ SPRC ส่งรายละเอียดตามข้อเสนอแนะจากที่ประชุมพิจารณาอนุมัติอีกครั้ง

อธิบดีกรมควลคุมมลพิษ กล่าวอีกว่า สำหรับการเข้าปฏิบัติการครั้งนี้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ มีคนรับรองและมีคนเข้าไปสังเกตการณ์ปฏิบัติภารกิจ เพื่อให้เกิดความรัดกุมมากที่สุด ทุกอย่างต้องมีความพร้อมมาก ไม่ต้องไม่เกิดปัญหาระหว่างปฏิบัติงานใต้ทะเลอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะเรื่องของดูดน้ำมัน หากเกิดการรั่วไหลระหว่างการเข้าไปอุดรอยรั่ว

ดังนั้นจึงเสนอให้มีการบันทึกการทำงานใต้ทะเล เพื่อเป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน เนื่องจากท่อเป็นวัตถุพยาน จึงต้องรักษาไว้ซึ่งสภาพของหลักฐานให้มากที่สุด ห้ามเปลี่ยนแปลงวัตถุพยาน

ยังมีความกังวลในขั้นตอนการทำงานที่ต้องละเอียดรอบคอบ ปลอดภัย มีแผน 1 และแผน 2 ในการเข้าปฏิบัติภารกิจอุดรอยรั่วท่อนำมัน ในช่วงเวลบา 10 วันข้างหน้า เพราะมีเดิมพันน้ำมันอีก 12,000 ลิตรที่ยังค้างท่ออยู่

เมื่อถามว่าจะมั่นใจอย่างไรว่าจะไม่เกิดเหตุซ้ำรอยรอยน้ำมันรั่วอีกรอบ อธิบดีกรมควลคุมมลพิษ กล่าวอีกว่า หากบริษัทความมีพร้อมตั้งแต่การรั่วไหลรอบแรก คงไม่มีเหตุการณ์น้ำมันนรั่วรอบ 2 รวมทั้งแผนเผชิญเหตุ แต่ทำได้แต่ไม่ดีพอ ไม่งั้นคงจะควบคุม และไม่ต้องขอใช้สารการใช้สาร Dispersant ในการกำจัดคราบน้ำมัน

ความยากง่ายของปฏิบัติอุดรอยรั่วน้ำมันใต้ทะเล

ข้อมูลจากที่ประชุมกรณีบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมาร่วมกับกรมเจ้าท่า SPRC คพ. สสภ.13 ศคพ.ระยอง สอจ.ระยอง สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สนง.ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด กลุ่ม IESG และ สภ.มาบตาพุด สรุปดังนี้ SPRC นำเสนอขั้นตอนการพันปิดรอยรั่วของท่ออ่อน 3 ขั้นตอนดังนี้

ฉีดน้ำยากันรั่วที่บอลวาล์วใต้ทะเล มี 3 ตัว ซึ่งปัจจุบันปิดวาล์วอยู่ เพื่อป้องกันโอกาสที่น้ำมันจะไหลย้อนมาจากฝั่งกลับมาที่รอยรั่ว โดยจะมีการฉีดน้ำยาทำความสะอาดก่อน ตามด้วยน้ำยากันรั่ว (sealant) แล้วดำเนินการทดสอบบอลวาล์วว่าสามารถรับแรงดันได้

 

ดูดน้ำมันที่ค้างท่ออ่อนออก เพื่อลดความเสี่ยงของน้ำมันที่อาจจะรั่วไหลออกมาได้ในช่วงที่มีการพันท่อ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) ดูดน้ำมันที่ค้างอยู่ในท่อแนวนอนออกก่อน โดยใช้ปั๊มสูบเก็บไว้ที่เรือ 2) ต่อหน้าแปลนกับวาล์วด้านบนซึ่งต่อกับปั๊มสูญญากาศในลักษณะปิดสนิท เพื่อให้เป็นระบบปิด เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันในขณะดูด  3) ต่อท่อน้ำด้านล่างเข้ากับวาล์วใต้ทะเล เติมน้ำให้เต็มและยกปลายสายอยู่ที่ระดับน้ำทะเล 4) เดินปั๊มสูญญากาศเพื่อให้ด้านบนมีความดันเป็นสูญญากาศ แล้วค่อยๆ เปิดวาล์วให้น้ำเข้ามาแทนที่น้ำมัน และดูดน้ำมันขึ้นทางด้านบน

ทั้งนี้ ปริมาณน้ำมันที่จะดูดขึ้นประมาณ 12,000 ลิตร จะดูดจนไม่เห็นสภาพน้ำมัน โดยตลอดช่วงที่ดำเนินการจะมีนักประดาน้ำเฝ้าสังเกตการณ์รอยรั่ว ข้อต่อทุกจุด หากพบการรั่วไหลของน้ำมันจะหยุดปฏิบัติการทันที

พันปิดรอยรั่วทั้ง 2 จุด เมื่อมั่นใจว่าภายในท่อเป็นน้ำทะเลทั้งหมด โดยได้มีการหารือผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทผู้ผลิตท่อ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และได้ร่วมทดลองปฏิบัติการบนฝั่งแล้ว

โดยมีการห้อหุ้ม 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นชั้นกันซึม ชั้นที่ 2 เป็นชั้นเพิ่มความแข็งแรง ชั้นที่ 3 เป็นชั้นกันซึม จากนั้นจะใช้สายรัดอุตสาหกรรมมัดอีกครั้ง และทำการทดสอบแรงดัน ไม่พบว่ามีการรั่วซึมออกมา วัสดุที่ใช้สามารถใช้งานได้ทั้งบนบกและในทะเล

การปฏิบัติงานครั้งนี้ ผู้ตรวจงานทุกคนต้องผ่านการอบรมด้านความปลอดภัย มีประสบการณ์ เชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งใน-ต่างประเทศ มาให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง รวมทั้งอุปกรณ์ เตรียมให้เพียงพอ ได้มาตรฐาน และมีการตรวจสอบความปลอดภัย เรือ อุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉิน

ซึ่งการกำกับดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานให้ปลอดภัย โดยมีหัวหน้าผู้ควบคุมงาน หัวหน้างานสำหรับแต่ละงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อให้การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทัพเรือ, กรมเจ้าท่า เพื่อให้การสนับสนุนการปฏิบัติงาน

เรือ 10 ลำทีมนักดำน้ำอุดรอยรั่วใต้ทะเล 24 คน

ภายใต้แผนปฏิบัติงานนี้ เตรียมอุปกรณ์ติดตั้งบูม 5 ปาก ยาวเส้นละ 200 เมตร ใช้เรือลากจูงบูม 10 ลำ
เรือฉีดพ่น Dispersant 3 ลำ ติดตั้งอุปกรณ์เก็บคราบน้ำมัน (Skimmer) บนเรือ ศรีราชา ออฟชอว์ 881 (เก็บน้ำ+น้ำมันได้ 100,000 ลิตรต่อ ชม. เรือสีวลี รับน้ำมันที่สูบจากทะเลได้ 600,000 ลิตร ติดตั้งเต้นท์ดักน้ำมันใต้ทะเล พร้อมปั้มดูดน้ำมันออกจากเต้นท์ ส่วน เรือหลวงหนองสาหร่าย ของกองทัพเรือ มีทีมนักประดาสำหรับเฝ้าระวัง บันทึกภาพใต้น้ำ และมียานสำรวจใต้น้ำในช่วงเวลากลางคืน นอกจากนี้มี นักประดาน้ำปฏิบัติงาน 24 คน เพื่อพันท่อ ต่ออุปกรณ์ และตอบโต้เหตุฉุกเฉิน

ขั้นตอนการเก็บกู้น้ำมัน

  • ใช้ทุ่นกักน้ำมันในการกักน้ำมันที่ออกมาจากท่อไห้น้ำ
  •  ในกรณีที่พบคราบน้ำมันหนา ในทุ่นกักน้ำมัน ใช้อุปกรณ์เก็บคราบน้ำมัน (Skimmer) เก็บคราบน้ำมันขึ้นมา
    ใช้แผ่นทุ่นซับน้ำมัน และถ้ามีปริมาณน้ำมันมากจะฉีดพ่น Dispersant
  • ในกรณีที่พบเป็นฟิล์มน้ำมันในทุ่นกักน้ำมัน ใช้แผ่นทุ่นซับน้ำมัน รวมทั้ง ฉีดพ่น Dispersant
  • ในกรณีคราบ/ฟิล์มน้ำมันหลุดออกจากพื้นที่วางทุ่นกักน้ำมัน ให้ใช้เรือที่ลากบูม เปลี่ยนมาฉีดพ่น Dispersant
  • ในกรณีคลื่นสูงเกิน 1.5 เมตร จะใช้เรือฉีดพ่น Dispersant

ทั้งนี้ SPRC แจ้งว่าในการปฏิบัติงาน จะใช้เวลาประมาณ 11 วัน แบ่งเป็น วันที่ 1 ฉีดสารล้างตัววาล์ววันที่ 2-3 ฉีดน้ำยากันรั่ว (sealant) วันที่ 4 นำน้ำมันออกจากท่ออ่อน วันที่ 5 ทำความสะอาดด้านนอกของท่ออ่อน วันที่ 6-11 พันปิดรอยรั่ว 2 จุด ที่เส้นท่ออ่อน

ทั้งนี้หลังจากพันท่อเสร็จแล้ว ให้ SPRC เพิ่มขั้นตอนการดูดน้ำในท่ออีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีน้ำมันตกค้างอยู่ และให้วิศวกรผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ตรวจสอบค่า HC ในน้ำที่ดูดขึ้นมาต้องไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด (15 ppm) จึงถือว่าการ flush สมบูรณ์แล้ว
 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน! น้ำมันรั่วซ้ำทะเลมาบตาพุด 5,000 ลิตร

สตาร์ปิโตรเลียมฯ รายงานน้ำมันค้างท่ออีก 12,000 ลิตร

 

    

ข่าวที่เกี่ยวข้อง