ครม.เวนคืนที่ดิน 5 จังหวัด เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง "กทม.-หนองคาย"

เศรษฐกิจ
22 มี.ค. 65
15:50
940
Logo Thai PBS
ครม.เวนคืนที่ดิน 5 จังหวัด เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง "กทม.-หนองคาย"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มติ ครม.เวนคืนที่ดิน 5 จังหวัด เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง "กทม.-หนองคาย" ครม.เวนคืนที่ดิน 5 จังหวัด ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา

วันนี้ (22 มี.ค.2565) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2565 ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินจะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สระบุรี จ.นครราชสีมา

ทั้งนี้ เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืนให้ถูกต้องชัดเจน

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

 

ร่าง พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนของท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อ.ลาลูกกา อ.ธัญบุรี อ.คลองหลวง อ.เมืองปทุมธานี อ.สามโคก จ.ปทุมธานี อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา อ.อุทัย อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา อ.หนองแซง อ.เสาไห้ อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และ อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.เนินสูง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา รวมเนื้อประมาณ 667 ไร่ และอาคาร 1,130 หลัง

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ขนาดทาง 1.435 ม.จำนวน 2 ทาง ระยะทางประมาณ 253 กม. สถานีรถไฟความเร็วสูงใหม่ จำนวน 4 สถานี และศูนย์ควบคุมการเดินรถและซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ 1 แห่ง

รวมถึงก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางรถยนต์ลอด และทางคนลอดใต้ทางรถไฟแทน โดยร่าง พ.ร.ฎ.มีผลใช้บังคับ 4 ปี และให้เจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิเริ่มทำการสำรวจได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประเมินมูลค่าโครงการแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 179,412 ล้านบาท ประกอบด้วยค่ารื้อย้ายและเวนคืน สัญญางานโยธา

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

 

น.ส.รัชดา กล่าวด้วยว่า เมื่อก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงตามโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะเป็นการพัฒนาระบบรางของไทยให้มีความเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ อันเป็นการเสริมศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนดแผนการดำเนินโครงการคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง