ยอดผู้ติดเชื้อ​โควิด-19 เพิ่ม​ 9,721 ​​​คน​ เสียชีวิต ​77 คน

สังคม
3 พ.ค. 65
06:25
338
Logo Thai PBS
ยอดผู้ติดเชื้อ​โควิด-19 เพิ่ม​ 9,721 ​​​คน​ เสียชีวิต ​77 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โควิดวันนี้ (3 พ.ค.) ติดเชื้อรายใหม่ 9,721 คน ผู้ป่วยกำลังรักษา 118,567 คน เสียชีวิต 77 คน สธ.จับตา 2-4 สัปดาห์ เคสป่วยปอดอักเสบ-ใส่ท่อช่วยหายใจ ลดลงหรือไม่

วันนี้ (3 พ.ค.2565) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานยอดติดเชื้อรายใหม่ 9,721 คน จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 9,670 คน ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 51 คน ผู้ป่วยสะสม 2,058,101 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) หายป่วยกลับบ้าน 20,145 คน หายป่วยสะสม 1,965,697 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65) ผู้ป่วยกำลังรักษา 118,567 คน เสียชีวิต 77 คน

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,669 คน เฉลี่ยจังหวัดละ 22 คน อัตราครองเตียง ร้อยละ 21.2

จับตา 2-4 สัปดาห์ เคสป่วยปอดอักเสบ-ใส่ท่อช่วยหายใจ 

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีการรายงานผู้เสียชีวิตมีการปรับรายงานแยกระหว่างกลุ่มติดเชื้อโควิด ปอดอักเสบและเสียชีวิต กับกลุ่มที่มีโรคเรื้อรังและตรวจพบโควิดเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การติดเชื้อและเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีมาตรการที่จะลดการเสียชีวิตจากการดูแลรักษาที่ต่างกันจะช่วยให้วางมาตรการการรักษาในอนาคตได้

ทั้งนี้ สายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการไม่มาก แต่หากไม่ฉีดวัคซีน ยังมีโอกาสป่วยหนักรุนแรงและทำให้เสียชีวิตสูง โดยการฉีดเข็มกระตุ้นจะลดการเสียชีวิตได้ถึง 31 เท่า ดังนั้น ต้องช่วยกันนำผู้สูงอายุไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งปัจจุบันฉีดได้เพียง 41.5%

ขณะที่ความครอบคลุมที่จะช่วยลดการป่วยหนักเป็นวงกว้างได้ คือ 60% ขึ้นไป ส่วนเด็กอายุ 5-11 ปี ขอให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานไปฉีดก่อนเปิดเทอมเช่นกัน

นพ.จักรรัฐ กล่าวถึงสถานการณ์การติดเชื้อป่วยหนักและเสียชีวิตยังเป็นไปตามคาดการณ์ ส่วนผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจจะลดลงตามผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยปอดอักเสบหรือไม่ ยังต้องติดตามอีก 2-4 สัปดาห์

ขณะนี้จึงยังคงแจ้งเตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ ขอให้หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มและสถานที่เสี่ยงเพราะบางจังหวัดยังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคอีสานส่วน 40 กว่าจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยลดลง และมีแนวโน้มคงตัว

ทั้งนี้ ได้ให้จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมพร้อมเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่น เพื่อมั่นใจว่าหากมีเชื้อกลายพันธุ์ที่ระบาดง่ายรุนแรงมากขึ้นจะสามารถรับมือได้ โดยต้องมีวัคซีนและแพทย์เพียงพอให้การดูแลรักษาป้องกันได้ตามมาตรฐาน

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง