ปลูกกล้วย CSR เลี่ยงอัตราภาษีที่ดิน-ใครครอบครองมากสุด?

เศรษฐกิจ
25 พ.ค. 65
19:21
1,743
Logo Thai PBS
ปลูกกล้วย CSR เลี่ยงอัตราภาษีที่ดิน-ใครครอบครองมากสุด?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปีแรกหลังรัฐบาล กลับมาเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตราหลังจากลดให้ร้อยละ 90 ในช่วงโควิด ล่าสุดมีเคสปลูกกล้วย 1 หมื่นต้น ริมทะเลสาบเมืองทอง และอีกจุดถนนเพิ่มสินสายไหม ทำให้เกิดคำถามว่าเพื่อ CSR หรือการเลี่ยงภาษี

กลายเป็นประเด็นในโซเชียล หลังพบว่าที่ดินบริเวณริมทะเลสาบเมืองทองธานี ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสวนเกษตรขนาดใหญ่ ปลูกกล้วยกว่า 10,000 ต้น ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา อายุของต้นกล้วยขณะนี้อยู่ที่ 4-5 เดือน 

เฟซบุ๊ก IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center ระบุว่า ผู้บริหาร ต้องการนำที่ดินเปล่า 50 ไร่ มาสร้างประโยชน์ทำโครงการเกษตร ปลูกกล้วยกว่า 10,000 ต้น เพื่อเป็นวัตถุดิบสนับสนุนครัวอิมแพ็คและช่วยเหลือสังคมในโอกาสต่างๆ 

รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียว เสริมสภาพแวดล้อมให้เมืองทองธานีน่าอยู่ขึ้น และไม่ได้เกิดขึ้นที่นี่เพียงที่แรกเท่านั้น ที่บริเวณถนนเพิ่มสินเขตสายไหม เป็นอีกที่ที่มีการนำพื้นที่ว่างเปล่ามาทำเกษตรโดยปลูกกล้วยเช่นเดียวกัน

ภาพ:IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center

ภาพ:IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center

ภาพ:IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center

 

พ่อค้ารถที่ขายผลไม้อยู่บริเวณนี้มาหลายปีบอกว่า ที่ดินตรงนี้มีกลายเป็นสวนเกษตรตั้งแต่ปีที่แล้ว ปลูกพืชหลายชนิด แต่เหลือเพียงกล้วยเท่านั้น เนื่องจากน้ำท่วม

มันก็ดี เพราะแต่ก่อนมันรก เพราะทำให้มีความร่มรื่นขึ้น  

ความแตกต่างในการจัดเก็บภาษี สำหรับที่ดินเพื่อทำเกษตรกรรม อยู่ที่ร้อยละ 0.01 ถึงร้อยละ 1 ขณะที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะจัดเก็บอัตราร้อยละ 0.3-0.7

ผลการศึกษาของกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นรัฐไร้พรมแดน พบว่า กลุ่มทุนที่ถือครองที่ดินมากที่สุด คือ ตระกูลสิริวัฒนภักดี 630,000 ไร่ รองลงมาเป็น ตระกูลเจียรวนนท์ มีไม่ต่ำกว่า 200,000 ไร่ อันดับ 3 คือ บมจ.สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ดำเนินธุรกิจด้านน้ำมันปาล์มรายใหญ่ในภาคใต้ ถือครองที่ดินกว่า 44,400 ไร่

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง