แพลตฟอร์มคนไทย ช่วยจัดการอาหารโรงเรียน ตอบโจทย์โภชนาการ-ต้นทุน

Logo Thai PBS
แพลตฟอร์มคนไทย ช่วยจัดการอาหารโรงเรียน ตอบโจทย์โภชนาการ-ต้นทุน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แพลตฟอร์มคนไทยช่วยจัดอาหารในโรงเรียนครบวงจร ตอบโจทย์โภชนาการและการจัดการต้นทุนและ สามารถตรวจสอบได้

วันนี้ (22 มิ.ย.2565) สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ หุ้นส่วนและ ที่ปรึกษา บริษัท ดาร์วินเทค โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้ระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยจัดอาหารและดูแลสุขภาพในสถานศึกษาแบบครบวงจร โดยอธิบายว่า แพลตฟอร์มดังกล่าว จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและช่วยใน 4 ด้าน 1.ระบบบริหารจัดการอาหารในโรงเรียนสำหรับผู้ประกอบการ, 2.ระบบบริหารจัดการโรงอาหารแบบ Smart Canteen,3.บริการจัดหาวัตถุดิบและปรับเมนูอาหารให้เหมาะสม,4.บริการเชื่อมต่อ IOT Devices ตามความต้องการ

 

สุปิยา กล่าวเพิ่มเติมว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถตอบโจทย์การจัดการอาหารได้เป็นอย่างดี หลังให้บริการมากกว่า 10 ปีในโรงเรียนกว่า 40,000 แห่ง โดยเฉพาะโรงเรียนที่จัดการอาหารตามงบประมาณที่ได้รับ

 

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่จัดการอาหารในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ในโรงเรียนมัธยมซึ่งเป็นรูปแบบของโรงอาหารที่ให้เด็กสามารถเลือกอาหารได้เอง ทางบริษัทก็มีแพลตฟอร์มที่ช่วยบริหารจัดการได้หรือเรียกว่า Smart canteen โดยให้นักเรียนสามารถเลือกอาหารเอง หรือ Tailor-Made รายบุคคล

 

ขณะที่ รูปแบบของโรงเรียนที่จ้างเหมาผู้ประกอบการในการประกอบอาหารให้กับโรงเรียน จะมีแพลตฟอร์มที่สามารถจัดการอาหารให้ครบถ้วนตามโภชนาการและสามารถบริหารต้นทุนได้ รวมถึงยังเชื่อมต่อข้อมูลอาหารที่จัดเข้าสู่ Thai School Lunch เพื่อให้ทางโรงเรียนตรวจสอบรายการอาหาร คุณภาพ และปริมาณวัตถุดิบได้

 

รวมถึง ยังช่วยตอบโจทย์การยกระดับอาหารปลอดภัยในโรงเรียนที่แต่เดิมที่หลายภาคส่วนมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงความต้องการของโรงเรียนกับเกษตรกร และจะจบที่ Smart Contact ซึ่งหากจะยกระดับอาหารปลอดภัยให้ได้อย่างแท้จริงจะต้องตอบโจทย์ไปถึงระบบโลจิสติกส์ การทำบัญชี หรือ อีเพย์เมนต์ ซึ่งทางแพลตฟอร์มจะสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้

นอกจากนี้ ยังมี แพลตฟอร์มไดอารี ในการช่วยให้โรงเรียนสามารถเฝ้าระวังและติดตามด้านสุขภาพ โดยจะเน้นในเรื่องโภชนาการและพัฒนาการ ซึ่งแท้จริงมีความต้องการจากโรงเรียนที่หลากหลายทั้งสุขภาวะอื่น ๆ ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนที่มีความเชี่ยวชาญด้านฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์ IOT ที่สามารถเชื่อมต่อให้ครบวงจรอย่างแท้จริง

 

ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าว เป็นหนึ่งใน 9 ผลงานที่ได้รับการอนุมัติจาก สวทช.ในการส่งผ่านงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ในรูปแบบธุรกิจใหม่ สวทช.ที่เรียกว่า "นาสท์ด้า สตาร์ตอัป" NSTDA Startup" ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา

โครงการดังกล่าว จะช่วยตอบโจทย์การเร่งให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (RDI) ให้เร็วยิ่งขึ้น โดยหลัก คือ จะมีกลุ่มนักวิจัยเข้าร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชนและ/หรือ สวทช. ในการปั้นโมเดลธุรกิจ (Business Model) จากผลงานวิจัยของ สวทช.เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นแผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างเป็นรูปธรรม แล้วก้าวไปสู่การร่วมจัดตั้งเป็นบริษัทสตาร์ตอัป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง