ศูนย์จีโนมฯ เปิดข้อมูล 4 กลุ่มไวรัส "ฝีดาษลิง"

สังคม
15 ส.ค. 65
12:26
155
Logo Thai PBS
ศูนย์จีโนมฯ เปิดข้อมูล 4 กลุ่มไวรัส "ฝีดาษลิง"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดรายละเอียด 4 กลุ่มหรือเคลดของไวรัส "ฝีดาษลิง" จากการถอดรหัสพันธุกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม ที่องค์การอนามัยโลกได้ทำการแบ่งตามอาการโรคและการกลายพันธุ์ที่ปรากฏจากการถอดรหัสพันธุกรรม

เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2565 เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้เผยแพร่ข้อความระบุว่า การตั้งชื่อชนิดหรือประเภทของไวรัสเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานของไวรัส (the International Committee on the Taxonomy of Viruses : ICTV) ไม่ใช่หน้าที่ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกระบวนการตั้งชื่อไวรัสฝีดาษวานรและไวรัสฝีดาษในสัตว์อื่น ๆ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

การตั้งชื่อไวรัสฝีดาษลิงที่ถูกเรียกขานกันมานานไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะชื่อควรระบุถึงอาการของโรค เลี่ยงชื่อสถานที่ระบาด เลี่ยงชื่อคนหรือชื่อสัตว์ และงดใช้ชื่อที่ก่อให้เกิดบาดแผลทางสังคม รวมทั้งแก้ชื่อที่ปรากฏบนฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดูแล ป้องกัน รักษา และคิดค่าใช้จ่าย


ตัวอย่างการตั้งชื่อไวรัสที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ชื่อไวรัสที่ก่อโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2 (SARS-CoV-2)

ในส่วนขององค์การอนามัยโลก ระหว่างรอการตั้งชื่อไวรัสฝีดาษลิงอย่างเป็นทางการจาก "ICTV" ได้ทำการแบ่งกลุ่มหรือเคลด (clade/variant) ของไวรัสฝีดาษลิงตามอาการโรคและการกลายพันธุ์ที่ปรากฏจากการถอดรหัสพันธุกรรมเสร็จเป็นที่เรียบร้อยและมีผลนำไปใช้ได้ทันที ดังนี้

ภาพ : Center for Medical Genomics

ภาพ : Center for Medical Genomics

ภาพ : Center for Medical Genomics

กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I)

พบระบาดบริเวณลุ่มน้ำคองโก (แอฟริกากลาง) มีความรุนแรงของโรคสูง อัตราการตายในบางพื้นทีสูงถึง 10% แพร่ระบาดระหว่างสัตว์สู่คนกลายพันธุ์ในอัตราต่ำ

กลุ่มไวรัสที่ 2 (clade II)

พบระบาดบริเวณแอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1% แพร่ระบาดระหว่างสัตว์สู่คน ในทุกชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย ล้วนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อฝีดาษลิง พบติดเชื้อในชาย 60% ในหญิง 40% พบการระบาดระหว่างคนสู่คนในวงจำกัดและสงบลงอย่างรวดเร็วกลายพันธุ์ในอัตราต่ำ-ปานกลาง

ภาพ : Center for Medical Genomics

ภาพ : Center for Medical Genomics

ภาพ : Center for Medical Genomics


กลุ่มไวรัสที่ 2a (clade IIa)

พบการระบาดในปี 2022 นอกทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่พบนอกทวีปยุโรป มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1% จีโนมมีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I) และกลุ่มไวรัสที่ 2 (clade II) มากกว่า 46 ตำแหน่ง เนื่องจากเอนไซม์มนุษย์ที่สร้างจากยีน “APOBEC3” ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไวรัสเข้ามารุกรานเซลล์ โดยเอนไซม์ดังกล่าวจะกระตุ้นให้จีโนมไวรัสมีกลายพันธุ์ในลักษณะจำเพาะ (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) จนทำให้จีโนมเสียหายไม่อาจเพิ่มจำนวนไวรัสได้ ส่วนไวรัสที่เหลือรอดก็จะปรากฏเสมือนแผลเป็น (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) บนสายจีโนม แพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มของชายรักชายถึงร้อยละ 99

กลุ่มไวรัสที่ 2b (clade IIb)

ระบาดในปี 2022 นอกทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่พบในทวีปยุโรป มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1% จีโนมมีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I) และกลุ่มไวรัสที่ 2 (clade II) มากกว่า 46 ตำแหน่ง เนื่องจากเอนไซม์มนุษย์ที่สร้างจากยีน “APOBEC3” ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไวรัสเข้ามารุกรานเซลล์โดยเอนไซม์ดังกล่าวจะกระตุ้นให้จีโนมไวรัสมีกลายพันธุ์ในลักษณะจำเพาะ (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) จนทำให้จีโนมเสียหายไม่อาจเพิ่มจำนวนไวรัสได้ ส่วนไวรัสที่เหลือรอดก็จะปรากฏเสมือนแผลเป็น (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) บนสายจีโนม แพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มของชายรักชายถึงร้อยละ 99

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

WHO เผยผู้เชี่ยวชาญตั้งชื่อใหม่ 2 สายพันธุ์ "ฝีดาษลิง"

คนที่ 5 "ฝีดาษลิง" หญิงไทยกลับจากดูไบ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง