รออีก 7 วัน! น้ำตกธารเสด็จปนเชื้ออีโคไล-แต่ค่าออกซิเจนผ่านเกณฑ์

สิ่งแวดล้อม
15 ส.ค. 65
17:22
299
Logo Thai PBS
รออีก 7 วัน! น้ำตกธารเสด็จปนเชื้ออีโคไล-แต่ค่าออกซิเจนผ่านเกณฑ์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คพ.ชี้ปมน้ำตกธารเสด็จ ทางขึ้นอุทยานฯ ดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ ปนเปื้อน "เชื้ออีโคไล" ผลตรวจสอบคุณภาพน้ำ พบค่าออกซิเจน 7.41 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานดี ส่วนการปนเปื้อนเชื้อรออีก 7 วัน เบื้องต้นพบต้นน้ำชุมชน ร้านค้าไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย

ความคืบหน้ากรณีมีการนำเสนอข้อมูลพบน้ำตกทางขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ มีการปนเปื้อนของแบคทีเรียอีโคไล มาเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ อาจสร้างความสับสน และตื่นตระหนกให้กับสาธารณชน

วันนี้ (15 ส.ค.2565) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า  สำนักงานสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่ 1 นำโดยนายประดิษฐ์ สีใส พร้อมด้วยหน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่ 1 (สคพ.1) นำโดยน.ส.โสภา สงคราม พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ อุทยานดอยสุเทพ-ปุย เทศบาลตำบลสุเทพ ศูนย์อนามัยที่ 1 และทสจ.เชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จริง และตรวจวัดคุณภาพน้ำลำห้วยผาลาด จำนวน 3 จุด ได้แก่ น้ำตกปีนปักป้าย น้ำตกรับเสด็จ และสะพานวัดผาลาด

การตรวจวัดหาปริมาณอีโคไล ทางศูนย์อนามัยที่ 1 เป็นผู้ตรวจวิเคราะห์ โดยใช้เวลา 7 วัน และ สคพ.1 จะเป็นผู้ตรวจวิเคราะห์หาปริมาณ TCB และ FCB โดยใช้เวลาประมาณ 7 วัน

ผู้ประกอบการร้านค้าไม่มีการบำบัดน้ำเสีย 

นายอรรถพล กล่าวว่า บริเวณน้ำตกรับเสด็จ จุดที่ถูกอ้างอิงตามสื่อจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นทางกายภาพ มีปริมาณน้ำค่อนมาก น้ำมีสีใส ไม่มีกลิ่นเหม็น ตรวจวัดปริมาณออกซิเจน 7.41 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานดี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการอนุรักษ์น้ำหรือสันทนาการทางน้ำ แต่หากจะนำมาบริโภคต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

นอกจากนี้ ยังได้สำรวจการจัดการเสียของผู้ประกอบการ และชุมชนดอยสุเทพ พบว่าผู้ประกอบการ ร้านค้าส่วนมากไม่มีการบำบัดน้ำเสีย และส่วนน้อยที่มีการติดตั้งถังดักไขมัน จึงได้มีคำแนะนำแนวทางที่ถูกต้องให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับปรุง

 

สำหรับกรณีข่าวที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 ได้ประสานและข้อมูลเพิ่มเติมเจ้าของโพสต์ ทราบข้อเท็จจริงนำว่า ข้อมูลที่นำเสนออ้างอิงจากผลการวิจัยของนักศึกษา และไม่มีข้อมูลผลการตรวจสอบอีโคไล จากแหล่งอื่น

จากข้อเท็จจริงข้างต้น หากการโพสต์ มีการอ้างอิงเฉพาะ รายงานการวิจัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในพื้นที่ ที่ปรากฏเฉพาะข้อมูลผลตรวจ กลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria ไม่มีผลตรวจอีโคไล

การที่ผู้โพสต์สื่อให้สาธารณชนเจ้าใจว่าเป็นอีโคไล จะทำให้สาธารณชนสับสน เข้าใจคลาดเคลื่อนและเกิดความตื่นตระหนก จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนรับทราบ โดยเฉพาะผลการวิเคราะห์พบข้อมูลคุณภาพน้ำมีเชื้ออีโคไล จะแจ้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหา

 

การตรวจค่าอีโคไล เป็นพารามิเตอร์ที่กำหนดในมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มเพื่อการบริโภค ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างจากการตรวจวิเคราะห์ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria, TCB) และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria, FCB) เพื่อบ่งชี้การปนเปื้อนจากของเสียที่ออกมาจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลือดอุ่นหรือมนุษย์ ซึ่งอาจมีการระบายน้ำเสียจากชุมชนหรือครัวเรือนลงแหล่งน้ำ เพื่อนำไปสู่หาแนวทางการจัดการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถกด่วน! น้ำตกทางขึ้นดอยสุเทพ-ปุย ปนเปื้อน "อีโคไล" 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง