ใครเห็นบ้าง? ปรากฏการณ์" เมฆอาร์คัส" ทะมึนก่อนฝนตกหนัก

Logo Thai PBS
ใครเห็นบ้าง? ปรากฏการณ์" เมฆอาร์คัส" ทะมึนก่อนฝนตกหนัก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ประธานชมรมคนรักมวลเมฆ อธิบายปรากฏการณ์เมฆสีดำทะมึนปกคลุมเหนือท้องฟ้ากทม. รวมทั้ง เกาะล้าน จ.ชลบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เรียก "เมฆอาคัส" เป็นส่วนหนึ่งของเมฆฝนฟ้าคะนอง

วันนี้ (29 ส.ค.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวโซเชียลพากันแชร์ภาพปรากฏการณ์เมฆฝนสีดำที่ลอยเหนือท้องฟ้ากทม.-ปริมณฑล รวมทั้งอีกหลายพื้นที่ ก่อนที่จะมีฝนตกหนักทั้งในกทม.และอีกหลายจังหวัด

ภาพนี้ คือเมฆอาคัส หรือเมฆกันชน ที่ปรากฎเหนือท้องฟ้า จ.เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของเมฆฝนฟ้าคะนอง และปฏิเสธไม่ได้ว่า เกิดจากภาวะโลกร้อน

 

เมฆอาร์คัส บนท้องฟ้า เหนือทะเล ในจ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ไม่ได้เห็นบ่อยนัก สร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ที่พบเห็น บางคนบอกว่า ทั้งความสวยงาม และน่ากลัว ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ส่วนอีกฝั่งของทะเล ยังเห็นเมฆแบบเดียวกัน ที่เกาะล้าน พัทยา จ.ชลบุรี

 

ส่วนในกรุงเทพฯ มีคนถ่ายภาพไว้ได้หลายจุด อย่างที่แยกเกษตร 

ชี้เมฆอาคัส เกิดก่อนฝนตก

นายบัญชา ธนบุญสมบัติ ผอ.ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และประธานชมรมคนรักมวลเมฆ อธิบายว่า "เมฆอาคัส" เป็นส่วนหนึ่งของเมฆฝนฟ้าคะนอง สามารถบอกทิศทาง การเคลื่อนที่เมฆฝนได้ คือถ้าส่วน "โค้งป่อง" ไปทางไหน แสดงว่า เมฆฝนทั้งก้อน จะเคลื่อนไปทางนั้น  ส่วนสีเทาเข้ม เกิดจากหยดน้ำในเมฆ

ถ้ามองเชิงวิทยาศาสตร์ ก็ไม่แปลกมาก ปกติเฆอาคัส หรือเมฆก้อนดำทะมึน ที่คนตื่นเต้นเพราะถ้าเกิดในพื้นที่โล่ง เหนือทุ่งนา ที่โล่ง ก็ดูน่าเกรงขาม แต่พอมาเกิดในเมือง ในกทม.ดูคุกคาม

"เมฆสีดำ" ภาพนี้ เกิดขึ้นย่านตลาดพลู นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล อธิบายว่า เมฆสีดำ เป็นเมฆโลกร้อน เมื่อโลกร้อนขึ้น ทะเลร้อนขึ้น น้ำทะเลระเหยมากขึ้น เมฆจุน้ำมหาศาล จนกลายเป็นฝนตกหนัก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฉลยแล้ว! ท้องฟ้ามืดครึ้ม "เมฆฝนสีดำ" ปกคลุม กทม.ฝนตกหนัก

เร่งอุดแนวฟันหลอเจ้าพระยาอีก 3% เคลียร์น้ำเหนือรับพายุ ก.ย.นี้

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง