นักวิชาการจุฬาฯ วิเคราะห์การไม่ร่วมประชุมเอเปกของ ไบเดน สะท้อนเสถียรภาพ ไทย

ต่างประเทศ
30 ก.ย. 65
14:45
1,581
Logo Thai PBS
นักวิชาการจุฬาฯ วิเคราะห์การไม่ร่วมประชุมเอเปกของ ไบเดน สะท้อนเสถียรภาพ ไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การตัดสินใจของ ปธน. โจ ไบเดน ที่จะไม่เข้าร่วม เอเปก ในเดือน พ.ย. เป็นผลสะท้อนภาพลักษณ์การเมืองไทย นักวิชาการทางการเมืองตั้งข้อสังเกตไว้

ศ.ดร.อุกฤษณ์ ปัทมานันท์ จากสถาบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Thai PBS World ว่า 

การตัดสินใจของ ไบเดน ครั้งนี้ ทำลายความฝันของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่หวังจะใช้ประโยชน์จากการปรากฏตัวของผู้นำโลกในการประชุมเอเปกเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

จากรายงานของทำเนียบขาวที่แจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ว่า รองปธน. กมลา แฮร์ริส จะเป็นตัวแทนของสหรัฐฯ ร่วมประชุมเอเปก วันที่ 18-19 พฤศจิกายน ที่กรุงเทพฯ ถูกมองว่า การปฏิเสธการเข้าร่วมของ ไบเดน เป็นการกดดันประเทศไทยเรื่องประชาธิปไตยภายในประเทศ ตามคำกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศ

นอกจากนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ เคยระบุอย่างชัดเจนว่า ต้องการเห็นการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในไทย เพื่อเป็นแบบอย่างในภูมิภาคอาเซียน แต่การพิจารณาวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ (30 ก.ย.2565) ค่อนข้างย้อนแย้งกับสิ่งที่ สหรัฐฯ ต้องการ

สหรัฐฯ ไม่ต้องการให้ เรื่องการไม่เข้าร่วมประชุมเอเปกของ ไบเดน เป็นเรื่องที่น่าสนใจไปกว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญกรณี 8 ปีของนายกรัฐมนตรีไทย

การประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย

ไบเดน ยืนยันเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่ม 20 (G20) ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 16-17 พ.ย. จากนั้นจะบินตรงกลับไปยัง กรุงวอชิงตัน ดีซี ทันทีเพื่อเข้าร่วมพิธีแต่งงานของหลานสาว ที่ทำเนียบขาวในวันที่ 19 พ.ย.

หมายความว่า ไบเดน ให้ความสำคัญต่อครอบครัวมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน

ศ.ดร.อุกฤษ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

การเข้าร่วมการประชุม G20 ของไบเดน ก็สามารถทำให้ภารกิจของ ไบเดน ในภูมิภาคเอเชียสำเร็จลุล่วงได้เช่นกัน ในการประชุมที่บาหลี ไบเดน จะนั่งประชุมร่วมกับผู้นำในกลุ่ม G20 ทั้งหมด ซึ่งรวมถึง ปธน.สี จิ้นผิง ของจีน และ ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียด้วย

ปธน.ไบเดนจะสามารถพูดถึงประเด็นทั้งหมดในการประชุม G20 ได้โดยที่ไม่ต้องย้ำข้อความเดิมในเอเปกที่ประเทศไทย


ประเทศไทยไม่มีบทบาท

ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศยังคงพยายามเจรจาให้ ไบเดน เข้าร่วมการประชุมเอเปก ต่อไป โดยจะเสนอให้ ผู้นำสหรัฐฯ ใช้เวทีนี้ เพื่อคลายความตึงเครียด กรณีของจีนกับไต้หวัน และ รัสเซียกับยูเครน

ทั้งๆ ที่รัฐบาลไทยไม่เคยแสดงจุดยืนในประเด็นนี้มาก่อนเลย ในขณะที่ ปธน.ของจีนและรัสเซีย ยังไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าจะเข้าร่วมการประชุมเอเปกหรือไม่

ศ.ดร.อุกฤษณ์ ปัทมานันท์ มองว่าความคิดของ รมว.ต่างประเทศ อาจไม่น่าดึงดูดความสนใจให้ ไบเดน มาร่วมประชุมมากพอ เพราะ นายกฯ ของไทยไม่เคยแสดงจุดยืนในเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ

เช่น กรณี จีน-ไต้หวัน รัฐบาลไทยเคยส่งสัญญาณสนับสนุนนโยบายจีนเดียว
เฉกเช่นเดียวกับ รัสเซีย-ยูเครน แม้ไทยจะเคยร่วมลงมติประณามการรุกรานยูเครนของรัสเซีย แต่ดูเหมือนความใกล้ชิดของ ไทย-รัสเซียนั้นมองเห็นได้ชัดเจนมากกว่า

รวมถึงทางการยูเครนเคยกล่าวว่า ประเทศไทยไม่มีบทบาทสำคัญใดๆ ทางด้านภูมิศาสตร์และการเมือง เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ โดยเฉพาะเวียดนาม

และยิ่งตอกย้ำชัดเจนจากฝ่ายบริหารของ ไบเดน ที่ให้ความสนใจเวียดนามมาก โดยเฉพาะกรณีที่ ฮานอยกำลังมีข้อถกเถียงกับปักกิ่ง เรื่องทะเลจีนใต้ เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายบริหารของ ไบเดน รวมถึงรอง ปธน.แฮร์ริส และ รมว.กลาโหม ออสติน ลอยด์ ก็เลือกที่จะเดินทางเยือนเวียดนามตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

ในแง่เศรษฐกิจ เวียดนามมีความน่าดึงดูดใจอย่างมากสำหรับการลงทุน เนื่องจากมีเสถียรภาพและเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

ศ.ดร. อุกฤษณ์กล่าว การบริหารประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เลือกย้ายไปลงทุนที่เวียดนามแทน


ปัญหาเมียนมาร์

รัฐบาลสหรัฐฯไม่เคยพอใจกับบทบาทของไทย ที่ไม่สามารถกดดันให้รัฐบาลทหารของเมียนมา ยุติการใช้ความรุนแรงและปัญหาด้ายมนุษยธรรมได้

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ คนใหม่ประจำประเทศไทย โรเบิร์ต โกเดก ได้กล่าวต่อวุฒิสภาสหรัฐฯว่า จะใช้โอกาสการรับตำแหน่งนี้ เข้ากดดันรัฐบาลทหารของเมียนมาให้ยุติการทำร้ายประชาชนของตนเอง

สหรัฐฯ คว่ำบาตรรัฐบาลทหารเมียนมา หลังจาก พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของ อองซาน ซูจี เมื่อปีที่แล้ว และฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้อาเซียนดำเนินการตามฉันทามติ 5 โดยเฉพาะประเด็นยุติความรุนแรงและการปล่อยนักโทษการเมืองเป็นอิสระ

แต่ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลไทยกลับยังมีความสัมพันธ์ตามปกติกับรัฐบาลทหาร และยังแสดงจุดยืนต่อการปราบปรามกลุ่มผู้เห็นต่างและกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธตามแนวชายแดนของกองทัพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง