ปภ.เผยเหลือพื้นที่น้ำท่วม 13 จังหวัด - น้ำล้นตลิ่ง 6 จังหวัด

ภัยพิบัติ
6 ต.ค. 65
12:11
1,595
Logo Thai PBS
ปภ.เผยเหลือพื้นที่น้ำท่วม 13 จังหวัด - น้ำล้นตลิ่ง 6 จังหวัด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปภ.เผยยังมีพื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม 13 จังหวัด น้ำล้นตลิ่ง 6 จังหวัด เร่งระบายน้ำ-ช่วยเหลือประชาชน พบข้อมูลตั้งแต่ 28 ก.ย.-6 ต.ค. น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก 30 จังหวัด กระทบ 72,557 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บ 2 คน

วันนี้ (6 ต.ค.2565) เวลา 10.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า จากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับผลกระทบจากพายุโนรู ทำให้เกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 13 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี ปราจีนบุรี รวม 85 อำเภอ 399 ตำบล 2,557 หมู่บ้าน ขณะที่สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งมีพื้นที่ได้รับผลกระทบใน 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี สิงห์บุรี และชัยนาท รวม 22 อำเภอ 167 ตำบล 285 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น

  • เพชรบูรณ์ น้ำท่วม 10 อำเภอ ได้แก่ วิเชียรบุรี บึงสามพัน หนองไผ่ หล่มสัก ศรีเทพ เมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า ชนแดน วังโป่ง และน้ำหนาว รวม 89 ตำบล 696 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,0647 ครัวเรือน เสียชีวิต 1 คน ระดับน้ำทรงตัว
  • พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ สามง่าม วชิรบารมี ทับคล้อ บึงนาราง และบางมูลนาก รวม 20 ตำบล 87 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
  • นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ หนองบัว พยุหะคีรี ท่าตะโก ไพศาลี โกรกพระ เมืองนครสวรรค์ ตาคลี ลาดยาว ชุมแสง บรรพตพิสัย ตากฟ้า แม่เปิน และแม่วงก์ รวม 56 ตำบล 407 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,764 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  • ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ เมืองศรีสะเกษ ห้วยทับทัน ยางชุมน้อย วังหิน ภูสิงห์ น้ำเกลี้ยง และอุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 2 คน และอพยพประชาชน 528 ครัวเรือน 2,152 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 23 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ เดชอุดม ดอนมดแดง สำโรง พิบูลมังสาหาร เขื่องใน และตระการพืชผล รวม 27 ตำบล 120 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,688 ครัวเรือน อพยพประชาชน 129 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 81 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ เมืองขอนแก่น ชนบท น้ำพอง และโคกโพธิ์ชัย รวม 11 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ เนินสง่า จัตุรัส เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว บ้านเขว้า หนองบัวแดง บ้านแทน บำเหน็จณรงค์ เมืองชัยภูมิ และหนองบัวระเหว รวม 25 ตำบล 102 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 560 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ ลำทะเมนชัย สูงเนิน และชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 885 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  • บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ บ้านด่าน พุทไธสง สตึก เฉลิมพระเกียรติ นางรอง ปะคำ บ้านกรวด กระสัง คูเมือง ชำนิ และลำปลายมาศ รวม 31 ตำบล 122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 308 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  • เลย น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 2 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 127 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  • มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ เมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย โกสุมพิสัย และเชียงยืน รวม 41 ตำบล 450 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,690 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  • ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ เมืองลพบุรี ชัยบาดาล บ้านหมี่ โคกสำโรง และพัฒนานิคม รวม 53 หมู่บ้าน 343 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,567 ครัวเรือน อพยพประชาชน 497 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 5 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ กบินทร์บุรี เมืองปราจีนบุรี และประจันตคาม รวม 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,363 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

น้ำท่วม-น้ำป่าหลาก เสียชีวิต 4 เจ็บ 2 คน

ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย.-6 ต.ค.2565 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 30 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ ตาก พิจิตร อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร ลพบุรี กาญจนบุรี สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา รวม 155 อำเภอ 589 ตำบล 3,177 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 72,557 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 คน (ศรีสะเกษ 3 คน เพชรบูรณ์ 1 คน) บาดเจ็บ 2 คน (ศรีสะเกษ)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง