เป็นประจำทุกเดือนแพทย์ พยาบาล และทีมสหวิชาชีพ ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมผู้ป่วย กลุ่มโรคซึมเศร้า, ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยติดยาเสพติด เพื่อสอบถามอาการ และประเมินการรักษา ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว และชุมชน

ครอบครัวนี้มีปัญหาหลานติดยาเสพติด เริ่มใช้ความรุนแรง แม้จะผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูแล้ว แต่ก็ต้องติดตามอาการอย่างใกล้ ล่าสุดอาการดีขึ้น แต่กว่าจะเข้าสู่การรักษาได้ ครอบครัวต้องใช้ความพยายามอยู่นาน

นพ.ศิริพัฒน์ โอกระจ่าง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คลินิกชุมชนเทศบาลเมืองลำพูน ระบุว่า การดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งซึมเศร้า จิตเวช และยาเสพติด แต่ละรายต้องประเมินอย่างละเอียด ซึ่งสมาชิกในครอบครัวถือว่ามีบทบาทสำคัญในกระบวนการรักษาคนไข้ให้อาการดีขึ้น

ซึ่งลำพูน ถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงต้น ๆ ของประเทศ ปี2564 จำนวนผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ร้อยละ 22.70 ต่อแสนประชากร เทศบาลเมืองลำพูน ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับประชาชน จึงร่วมกับ อสม. และให้คลินิกชุมชน
นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ระบุว่า กองการแพทย์ ดำเนินการเฝ้าระวัง ค้นหา และนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษา

หลังดำเนินการต่อเนื่องเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ปี 2564 มีจำนวนผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 4 คน คิดเป็นอัตราการฆ่าตัวตายร้อยละ 34.40 ต่อแสนประชากร แต่ในปี 2565 ที่ผ่านมามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเพียง 1 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 8.79 ต่อแสนประชากร
แม้ว่าลดลงแต่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเร่งค้นหาผู้ป่วยให้เจอ และนำเข้าสู่กระบวนการรักษาให้เร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยป้องกันเหตุรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในครอบครัว และสังคมได้
แท็กที่เกี่ยวข้อง: