"โรคแถบสีเหลือง" ลามปะการังหลายชนิดในอ่าวไทย 1,000 ไร่

สิ่งแวดล้อม
30 พ.ย. 65
16:14
420
Logo Thai PBS
"โรคแถบสีเหลือง" ลามปะการังหลายชนิดในอ่าวไทย 1,000 ไร่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทช.อัปเดตสถานการณ์ "โรคแถบสีเหลือง" พบครั้งแรกทะเลไทย หลังเริ่มลามปะการังหลายชนิดในพื้นที่เกาะขาม จ.ชลบุรี นับ 1,000 ไร่ เร่งประเมินอีก 5 จังหวัดพร้อมเร่งหาทางรับมือสถานการณ์

วันนี้ (30 พ.ย.2565) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เผยภายหลังจากลงดำน้ำเพื่อติดตามการระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง บริเวณเกาะขามว่า หลังจากที่ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก (ศวบอ.) เรื่องการสำรวจระบบนิเวศแนวปะการังในปี 2564-2565 ทั้งสิ้น 90 สถานี ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในบริเวณอ่าวไทยตอนบนและตอนกลาง พบว่าโรคแถบสีเหลืองกระจายตัวอยู่ เฉพาะบริเวณเกาะสัตหีบ-แสมสาร จ.ชลบุรี จำนวน 11 สถานี

ถือเป็นรายงานการพบโรคนี้ครั้งแรกในไทย ปะการังส่วนใหญ่ที่สำรวจพบว่าเป็นโรค ได้แก่ ปะการังโขด และปะการังเขากวาง คิดเป็นร้อยละ 1-10 ของปะการัง 

อ่านข่าวเพิ่ม "โรคแถบสีเหลือง" ระบาดปะการังหมู่เกาะสัตหีบ-แสมสาร

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

พบพื้นที่เสียหายนับ1,000 ไร่ 

นายอรรถพล กล่าวว่า จากการรายงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ทราบว่า ขณะนี้ได้มีการกระจายตัวของโรคระบาดไปยังปะการังหลายชนิด เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังลายดอกไม้ ปะการังดอกไม้ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังวงแหวน ปะการังช่องเล็ก และปะการังช่องเหลี่ยม

ถือว่าการแพร่ระบาดของโรคในแนวปะการังเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควร จะต้องมีการวางแผนเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะบริเวณที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคนั้นมีขนาดของพื้นที่ 1,000 ไร่

อธิบดี ทช.กล่าวว่า ไม่อยากให้ใช้คำว่าโรคระบาด ข้อมูลจากนักวิชาการทช.แจ้งว่า การระบาดที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio ซึ่งปะการังแต่ละชนิด ก็จะเป็นแบคทีเรียที่แตกต่างกัน หลังจากนี้ ทช.จะหารือร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อศึกษาและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

พร้อมทั้งนำเรื่องเข้าสู่กลไกของคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัด การทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เพื่อพิจารณาและกลั่นกรองร่วมกันในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน

ประกอบด้วย กองทัพเรือ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อีกทั้งช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อทรัพยากรปะการัง

จะมีการกำหนดขอบเขตเพื่อเตรียมประกาศพื้นที่คุ้มครอง พร้อมทั้งหารือร่วมกับอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เพื่อหาทางออกหลังจากที่แปลงเพาะปลูกปะการังได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง