ค่าแรงคนจบใหม่ ใช้ชีวิตในกรุงฯ เท่าไหร่พอ

สังคม
1 พ.ค. 66
12:33
12,836
Logo Thai PBS
ค่าแรงคนจบใหม่ ใช้ชีวิตในกรุงฯ เท่าไหร่พอ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“วันแรงงานแห่งชาติ” เทียบค่าแรงของไทยกับประเทศในอาเซียนก็ไม่น้อยหน้า ขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก แต่สำหรับคนเรียนจบปริญญาตรี ที่เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท ต้องใช้ชีวิตในเมืองหลวงอย่างไรจึงจะพอ

วันนี้ (1 พ.ค.2566) วันนี้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ สิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของแรงงานทั่วโลกคือ “ค่าแรง” ค่าแรงเป็นตัวสะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ไทยพีบีเอสออนไลน์ค้นข้อมูลค่าแรง ซึ่งเป็น “แรงงานขั้นต่ำ” ต่อวัน ของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ด้วยข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2565 จาก 10 ประเทศ ดังนี้

  • สิงคโปร์ ไม่ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แต่แรงงานมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 46,051 บาท
  • บรูไน ไม่กำหนดรายได้ขั้นต่ำ แต่รายได้ต่อเดือนประมาณ 28,431 บาท
  • มาเลเซีย 392 บาท
  • ฟิลิปปินส์ 362 บาท
  • ไทย 354 บาท (ปรับครั้งล่าสุดวันที่ 31 ต.ค.2565)
  • อินโดนีเซีย 351 บาท
  • เวียดนาม 234 บาท
  • กัมพูชา 227 บาท
  • ลาว 85 บาท
  • เมียนมา 81 บาท

อย่างไรก็ตามค่าแรงของแต่ละประเทศ ก็เป็นตัวสะท้อนค่าครองชีพของแต่ละประเทศ แต่ละเมือง และแต่ละภูมิภาคของประเทศนั้น ๆ ด้วย

นอกจากนี้ไทยพีบีเอสออนไลน์ยังรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล ที่ประเมินว่า ค่าแรงขั้นต่ำของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และทำงานในกรุงเทพฯ โดยตั้งสมมุติฐานว่า เป็นผู้ที่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท และจะต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต่อเดือน ให้เพียงพอ

ซึ่งค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ไม่ว่าเป็นค่าที่พัก สำหรับใครที่ต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด หรือมีความจำเป็นต้องอยู่หอพัก หรือ อพาร์ทเม้นท์ รวมถึงค่าเดินทางต่างๆ นอกจากนี้ยังมีค่าอาหารการกินต่างๆ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว

นอกเหนือจากการบริหารเงินเดือนยังไงให้พอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นคือต้องเก็บเงินออมเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน หรือสำหรับอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

แรงงานไทยรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทยังเปราะบาง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง