นักวิจัยญี่ปุ่นดัดแปลงพันธุกรรมไข่ไก่ ให้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่แพ้ไข่ขาว

Logo Thai PBS
นักวิจัยญี่ปุ่นดัดแปลงพันธุกรรมไข่ไก่ ให้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่แพ้ไข่ขาว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยมหาวิทยาลัยฮิโรชิมาได้ใช้เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome) หรือ TALENs เพื่อพัฒนาไข่ไก่ที่ไม่มีโปรตีนโอโวมิวคอยด์ (ovomucoid) เพื่อให้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่แพ้ไข่ขาว

โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยามากเกินไปต่อโปรตีนที่พบในไข่ไก่นั้น ทำให้คนเราสามารถแพ้ไข่ขาวหรือไข่แดงได้ แต่การแพ้ไข่ขาวนั้นพบได้บ่อยกว่า และโดยปกติแล้วมักพบในช่วงวัยเด็กก่อนเป็นวัยรุ่น ซึ่งอาการของการแพ้ไข่ขาวจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ลมพิษ คัดจมูก คลื่นไส้อาเจียน ไปจนถึงปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลทันที

โดยอาการแพ้ไข่ขาวนี้ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่มีผู้ที่มีอาการแพ้ต้องใส่ใจกับอาหารต่าง ๆ มากขึ้นกว่าคนทั่วไป แต่ในตอนนี้นักวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขจีโนม เพื่อพัฒนาไข่ไก่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคที่เป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น

นักวิจัยมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา (Hiroshima University) ได้ใช้เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome) หรือ Transcription activator-like effector nucleases (TALENs) เป็นเอนไซม์เทียมที่ออกแบบมาเพื่อตัด DNA ที่ลำดับเฉพาะ ทำลายสายคู่ของ DNA เมื่อเส้นใยขาดเซลล์จะตอบสนองโดยเริ่มกลไกการซ่อมแซมเพื่อให้ทั้ง 2 ด้านของส่วนที่ขาดเชื่อมต่อกันใหม่ เพื่อพัฒนาไข่ไก่ที่ไม่มีโปรตีนโอโวมิวคอยด์ (ovomucoid - OVM) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 11% ของโปรตีนทั้งหมดที่พบในไข่ขาว เพื่อให้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่แพ้ไข่ขาว

TALENs จะทำลาย RNA ของไก่ที่เรียกว่า exon 1 ซึ่งเป็นรหัสของโปรตีนเฉพาะ ไข่ไก่ที่แม่ไก่วางนั้นจะได้รับการทดสอบเพื่อหาโปรตีนโอโวมิวคอยด์ และโปรตีนโอโวมิวคอยด์ที่กลายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบนอกเป้าหมายอื่น ๆ ซึ่งผลการทดสอบพบว่าไข่ไม่มีความปกติ และไม่มีร่องรอยของโอโวมิวคอยด์ หรือโปรตีนที่กลายพันธุ์ โดยผลลัพธ์เหล่านี้บ่งชี้ถึงความสำคัญของการประเมินความปลอดภัย และเผยให้เห็นว่าไข่ของไก่ที่ถูกทำลาย RNA จะช่วยแก้ปัญหาการแพ้อาหาร และวัคซีนได้

ในขั้นตอนต่อไป นักวิจัยจะประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ และความเหมาะสมในการประมวลผลของไข่ไร้โปรตีนโอโวมิวคอยด์ เพื่อยืนยันประสิทธิภาพผ่านการทดลองทางคลินิก อีกทั้งจะยังคงดำเนินการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ไข่ที่ช่วยลดอาการแพ้ต่อไป

ที่มาข้อมูล: newatlas, newfoodmagazine, phys
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง