ถอดบทเรียน “ลาบูบู้” ต่อยอด Pop Culture ผลิต Art Toy ไทย

เศรษฐกิจ
29 เม.ย. 67
18:22
3,848
Logo Thai PBS
ถอดบทเรียน “ลาบูบู้” ต่อยอด Pop Culture ผลิต  Art Toy ไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

"ปิศาจตัวน้อย ตาโต ฟันแหลม ขนฟูนุ่ม รอยยิ้มเจ้าเล่ห์"เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตุ๊กอาร์ตทอย "ลาบูบู้"กลายเป็นกระแสโด่งดังไปทั่วโลกที่หลายคนคลั่งไคล้อยากเป็นเจ้าของ แม้ว่าราคาของมันจะแพงกว่า ตุ๊กตาปกติทั่วไป

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสตุ๊กตาอาร์ตทอยกลายเป็นที่นิยมของนักสะสม และคนชอบตุ๊กตา ไล่ตั้งแต่ เฟอร์บี้ ครายส์ บลายธ์ จนล่าสุดมาถึง Labubu หรือลาบูบู้ โดยเฉพาะลาบูบู้ รุ่น THE MONSTERS exciting macaronmefyo ที่ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล มีอยู่ในความครอบครอง

ตุ๊กตาลาบูบู้

ตุ๊กตาลาบูบู้

ตุ๊กตาลาบูบู้

ด้วยความฮอตฮิตทำให้ราคาตุ๊กตาพุ่งขึ้นจากหลักร้อย หลักพัน สู่หลักหมื่นบาท ส่งผลให้ คาซิง ลัง (Kasing Lung) ชาวฮ่องกง ศิลปินผู้สร้างผลงานโด่งดังไปทั่วโลก ไม่แพ้ Labubu

ด้วยความน่ารัก สีสันสดใส และสามารถสวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า หรือเครื่องประดับสะท้อนตัวตน และนำมาใช้คล้องเป็นพวงกุญแจเก๋ๆ บวกกับมีศิลปินระดับโลกอย่างลิซ่าใช้ ย่อมทำให้กระแสตุ๊กตาดังกล่าวบูมขึ้นมาอย่างฉุดไม่อยู่

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า ตุ๊กตาลาบูบู้นั้นเป็นสินค้านำเข้าจากจีน ดังนั้นรายได้จากการจำหน่วยย่อมย้อนกลับไปยังบริษัทแม่ของตุ๊กตาในจีน

" Art Toy"ของเล่นสไตล์ "ป๊อปคัลเจอร์"

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อาร์ตทอย (Art Toy) เป็นสินค้าของเล่นของสะสมประเภทหนึ่งที่กำลัง อยู่ในกระแสนิยม ซึ่งอาร์ตทอยเป็นของเล่นที่ถูกออกแบบจากศิลปินหรือนักออกแบบ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะสมัยใหม่กับของเล่นแบบเดิม

จุดเด่นของอาร์ตทอยจะเน้นการสร้างสรรค์ตัวละครแบบไม่ต้องมีเนื้อเรื่อง แต่มีรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่ ผลิตในจำนวนที่จำกัด หากเป็นผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงหรือกำลังอยู่ในกระแส ความต้องการยิ่งเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จนเกิดกระแสนิยมในสไตล์ป๊อปคัลเจอร์ (POP Culture) หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.)

ตลาดอาร์ตทอย จากเดิมเป็นเพียงสินค้าที่นิยมเฉพาะกลุ่ม จนขยายวงกว้าง กลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่ม Gen Z กลุ่มพนักงานออฟฟิศ และกว่า70 % เป็นผู้หญิง เนื่องจากมีความหลงใหลชื่นชอบสินค้าที่มีรูปแบบน่ารักและน่าสะสม

ข้อมูลจาก HTF Market Intelligence ระบุว่าโดยปี 2566 มูลค่าตลาดอาร์ตทอยของโลกอยู่ที่ 8,517.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.26 จนมีมูลค่าสูงถึง 10,938.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2573 ซึ่งตลาดอาร์ตทอยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ และยุโรป

ประเทศในทวีปเอเชียที่เป็นศูนย์กลางของการผลิตและสะสมอาร์ตทอย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยเฉพาะจีน ที่มีตลาดและฐานการผลิตอาร์ตทอยขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะ 80% ผลิตจากจีน

ทั้งนี้มูลค่าของอุตสาหกรรมอาร์ตทอยมีมูลค่าผลผลิตกว่า 16,660 ล้านหยวน (2,479 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 29.80 สะท้อนให้เห็นว่า อุตสาหกรรมการอาร์ตทอยยังมีช่องว่าให้ผู้ผลินสินค้าเกี่ยวกับอาร์ตทอยได้เข้าไปเจาะตลาด โดยเฉพาะศิลปินและนักออกแบบไทย

อาร์ตทอย

อาร์ตทอย

อาร์ตทอย

สายชาร์ท

สายชาร์ท

สายชาร์ท

ไทยนำเข้าอาร์ตทอยสูงสุดในเอเซีย

ทั้งนี้ ตลาดอาร์ตทอย เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าในหมวดของเล่น (พิกัดศุลกากร 9503) ปี 2566 ตลาดโลก มีความต้องการนำเข้ารวม 50,044.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับประเทศไทย มีมูลค่าการนำเข้า 128.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.79 จากปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่า 114.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยนำเข้าของเล่น (รวมอาร์ตทอย) สูงสุดจาก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม

ขณะเดียวกันไทยส่งออกของเล่น (รวมอาร์ตทอย)ปี2566 มูลค่า 251.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐตลาดที่ไทยส่งออกสูงสุด คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร

ไทยจะเป็นตลาดศักยภาพที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในกลุ่มสินค้าอาร์ตทอย เพราะกลุ่มผู้ซื้อที่มีจำนวนมากขึ้น และมีพฤติกรรมชอบซื้อแบบสะสมครบทุกเซต ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่ซื้อเพื่อความสนุกสนาน

หนุน"ศิลปิน-นักออกแบบไทย"ขยายตลาด

อย่างไรก็ตามสิ่งที่รัฐบาลควรตระหนักและให้ความสำคัญกับตลาดอาร์ตทอย คือ การสนับสนุนศิลปินและนักออกแบบอาร์ตทอยของไทย เพราะหลายคนมีผลงานสร้างชื่อเสียงระดับโลก

เช่น ศิลปินผู้ออกแบบ CRYBABY เด็กหญิงเปื้อนน้ำตา หรือ ผู้สร้างสรรค์ Mardi เด็กในชุดกระต่ายสามตา และ ศิลปินผู้สร้าง Fenni จิ้งจอกหน้าตาน่ารัก ถือเป็นสัญญาณดีต่อผลงานอาร์ตทอยและสินค้าคาแรกเตอร์อื่น ๆ ที่ออกแบบโดยศิลปินชาวไทยให้สามารถขยายตลาดไปได้ทั่วโลก

CRYBABY เด็กหญิงเปื้อนน้ำตา

CRYBABY เด็กหญิงเปื้อนน้ำตา

CRYBABY เด็กหญิงเปื้อนน้ำตา

หากวิเคราะห์ในเชิงพาณิชย์พบว่า อาร์ตทอยไม่ได้เป็นเพียงของเล่นหรือของสะสม แต่เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อสามารถนำมาใช้ประดับตกแต่งภายในที่อยู่อาศัย ถือเป็นงานศิลปะที่บ่งบอกรสนิยม และเนื่องจากอาร์ตทอยเป็นสินค้าที่ผลิตในจำนวนที่จำกัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคาของอาร์ตทอยสูงขึ้นจนกลายเป็นสินทรัพย์

อาร์ตทอย เป็นสินค้าที่น่าจับตามอง แนวโน้มการขยายตัวของตลาดอาร์ตทอยของโลกและการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของไทย แสดงให้เห็นถึงโอกาสทางการค้าของทั้งศิลปินและผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมต่อกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

แต่การจะให้อาร์ตทอยของไทยสามารถแข็งขันได้ในตลาดโลก สิ่งสำคัญ คือ การสอดแทรกศิลปะวัฒนธรรมไทยในการออกแบบ การนำความเชื่อมาเป็นส่วนประกอบในการออกแบบ เช่น อาร์ตทอยพระพิฆเนศ และอาร์ตทอยแมวกวัก ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เสริมความนิยมด้านการท่องเที่ยว และสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของไทย รวมถึงอุตสาหกรรมของเล่นไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากทั่วโลก

อาร์ตทอย (Art Toy)

อาร์ตทอย (Art Toy)

อาร์ตทอย (Art Toy)

"ชอบส่วนตัว"นักสะสมอาร์ตทอย

“ไทยพีบีเอสออนไลน์” ได้สอบถามนักสะสมอาร์ตทอยมือสมัครเล่น กล่าวว่า ชอบสินค้าประเภทอาร์ตทอย เพราะดูน่ารัก แม้ว่าราคาจะขยับขึ้นมาแต่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะชื่นชอบก่อนที่จะมีกระแสนิยมอยู่แล้ว ซึ่งมีอาร์ตทอยที่สะสมหลายแบบและหลายราคา ซึ่งหากเจอก็จะซื้อสะสมแต่จะพิจารณาถึงความเหมาะสมด้วย

สำหรับกลุ่มประเทศผู้ผลิตตุ๊กตา แหล่งผลิตไม่ได้เฉพาะที่จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ กัมพูชาฯลฯ แต่ในประเทศไทย ก็มีแหล่งผลิตใหญ่ที่สำคัญ ซึ่งผู้ผลิตหลายบริษัทๆที่ได้รับลิขสิทธิ์จากประเทศต้นทาง มาจ้างคนไทยผลิตตุ๊กตา ชื่อดัง เช่น โดราเอมอน พิคาชู และตุ๊กตายี่ห้อลิขสิทธิ์อื่นๆอีกด้วย ไม่รวมรวมตุ๊กตาผ้าเลียนแบบ "ลาบูบู้" คือ "ลาเบเบ้" ที่วางจำหน่ายตามงานวัดและตลาดนัด เป็นทางเลือกให้กับเด็กๆที่มีงบน้อย

โดยแหล่งผลิตตุ๊กตาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธา ราม จ.ราชบุรี เกิดขึ้นในสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลครั้งนั้นได้ใช้งบประมาณของโครงการมิยาซาวา สนับสนุนให้ชุมชนต่างๆทั่วประเทศพัฒนาศักยภาพ และมีอาชีพอย่างยั่งยืน

ลาบูบู้งานวัด 
ที่มา:เพจผู้บริโภค

ลาบูบู้งานวัด ที่มา:เพจผู้บริโภค

โดยชาวบ้าน ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นหนึ่งในจำนวนหลายๆหมู่บ้านที่ได้รับโอกาส ด้วยการฝึกเย็บตุ๊กตาผ้า รูปสัตว์ และตัวการ์ตูนยอดนิยมของเด็กๆแต่ละยุค จนกระทั่งหมู่บ้านแห่งกลายเป็นที่รู้จักทั่วประเทศว่าเป็นแหล่งผลิตตุ๊กตาที่ใหญ่สุดในประเทศ

ปัจจุบันตุ๊กตาผ้าบ้านสิงห์ อ.โพธาราม ถือเป็นของที่ระลึกที่สร้างชื่อเสียงให้จ.ราชบุรีอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งผลิตตุ๊กตาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมหรือ มอก. ทุกชิ้น และได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสู่แบบมาตรฐานอุตสาหกรรมของเล่น มอก. 685-2540 เป็นการเข้าสู่ระบบขายในตลาดสากล และในแต่ละการผลิตตุ๊กตาจะ มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 1,000 ล้านบาท

อาร์ตทอย (Art Toy) ที่ขายในPOP MART ROBOSHOP

อาร์ตทอย (Art Toy) ที่ขายในPOP MART ROBOSHOP

อาร์ตทอย (Art Toy) ที่ขายในPOP MART ROBOSHOP

POP MART ROBOSHOP

POP MART ROBOSHOP

POP MART ROBOSHOP

ใช้"ลาบูบู้"เป็นแรงบันดาลใจ อย่าก็อปปี้

นายศิรพัทธ์ วัชราภัย ผู้อำนวยการกองลิขสิทธิ์ กรทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์” ว่า ในส่วนของลิขสิทธิ์การออกแบบไม่ว่าจะเป็นสินค้าใดๆก็ตาม ที่คิดและผลิตขึ้นมาเองโดยไม่ลอกเลียนแบบใคร สามารถมายื่นจดลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาทั้งทางออนไลน์และมาจดที่กรมฯได้

โดยในส่วนของสินค้าประเภทตุ๊กตาที่ผลิตจากชุมชนหรือกลุ่มชาวบ้าน จากข้อมูลมีมายืนจดบ้างแต่ไม่มากเท่า กางเกงช้างที่เป็นกระแสในขณะนี้ ส่วนกระแสความนิยมของตุ๊กตาลาบูบู้ที่มีบางกลุ่มผลิตสินค้าขึ้นมาเลือนแบบหรือก็อปปี้นั้น ขอเตือนว่าไม่ควรทำเพราะมีกฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่

ถ้าผู้ประกอบการผลิตตุ๊กตาโดยได้แรงบัลดาลใจจากตุ๊กตาลาบูบู้ สามารถทำได้ และเก็บหลักฐาน ภาพร่างๆต่างๆไว้เป็นหลักฐานในการขอยื่นจดลิขสิทธิ์ แต่อย่าก็อปปี้จนเหมือนซึ่งผิดกฎหมายลิขสิทธิ์

อ่านข่าวอื่นๆ:

ดัชนีราคาที่ดินเปล่าในกทม.-ปริมณฑล Q1/67 พุ่ง 5.7%

ราคาทองคำ เช้านี้ ติดลบ 150 คาดเฟดคงดอกเบี้ย แนะซื้อสะสม

พาณิชย์รับส่งออก มี.ค.ติดลบ 10.9% ครั้งแรกรอบ 8 เดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง