“เห็นในสิ่งที่ฉันเห็น” นิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้แสวงหาที่พักพิง

Logo Thai PBS
“เห็นในสิ่งที่ฉันเห็น” นิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวของผู้แสวงหาที่พักพิง

นิทรรศการชุด “เห็นในสิ่งที่ฉันเห็น” จัดขึ้นโดยองค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย โดยภาพที่จะใช้แสดงเป็นภาพที่ผู้แสวงหาที่พักพิง ได้บอกเล่าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญผ่านภาพถ่ายเหล่านี้

คนไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว พม่า และกัมพูชา แต่ในความจริงแล้วผู้ที่อพยพเข้ามาในไทยมีหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็น อิหร่าน ปากีสถาน บังกลาเทศ คองโก โซมาเลีย จีน เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งภู้ลี้ภัยเหล่านี้ส่วนใหญ่เข้ามาในประเทศไทยด้วยเหตุผลในความปลอดภัยของสงคราม

องค์การเยสุอิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย (JRS) จึงมีแนวคิดที่อยากบอกเล่าเรื่องราวของผู้ลี้ภัยที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ผ่านนิทรรศการภาพถ่าย  “เห็นในสิ่งที่ฉันเห็น” ทางเจอาร์เอสจึงจัดกิจกรรมอบรมภาพถ่ายภาพให้กับผู้ที่ยังไม่ได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัย หรือ ผู้แสวงหาที่พักพิง ซึ่งหลังจากผ่านการอบรมแล้ว ผู้อพยพ 7 คน อายุระหว่าง 14-45 ปีเป็นผู้แสวงหาที่พักพิงในประเทศไทย ที่มาจาก ศรีลังกา, ปากีสถาน, คองโก, จีน และกัมพูชา ได้บันทึกภาพชีวิต และเรื่องราวของพวกเขาเป็นระยะเวลา 2 เดือน ระหว่าที่พวกเขารอหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ให้สถานะผู้ลี้ภัย และความปรารถนาสูงสุดของผู้แสวงหาที่พักพิงคือการได้นำภาพที่เขาถ่ายเองมาแสดงแม้เพียงแค่ 1 วัน ซึ่งแต่ละภาพจะบอกเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวันของผู้ถายในแบบของเขาเอง

<"">
     
<"">

“ฉันไม่รู้หรอกว่าความฝันมันสวยงามแค่ไหน หรือชีวิตต้องเดินตามความฝันต่อไปอย่างไร เพราะชีวิตในปัจจุบันนี้ฉันแทบไม่มีความฝันอะไรเหลืออยู่อีกเลย”  นิคู หญิงสาวชาวอิหร่านที่ขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศไทยนานนับปีบอกเล่าความรู้สึกให้เราฟังหลังเธอถ่ายทอดผลงานความรู้สึกของเธอผ่านภาพถ่ายรูปดวงตาเธอที่จะใช้จัดแสดงในนิทรรศกาลภาพถ่ายครั้งนี้

<"">
     
<"">

ภาพถ่ายนิทรรศกาลชุด “เห็นในสิ่งที่ฉันเห็น” โดยผู้แสวงหาที่พักพิง ในเขตกรุงเทพมหานคร  เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญ ในรูปภาพหนึ่ง ผู้ชายถ่ายรูปภรรยาที่กำลังอาบน้ำให้ลูกสาวที่บ้านของเพื่อนบ้าน เพียงเพราะบ้านของเขาเล็กเกินไป นอกจากนี้ยังมาภาพที่ผู้คนลงทะเบียนเพื่อรับอาหารฟรีจากโบสถ์แห่งหนึ่ง ช่างภาพแต่ละคนต่างก็มีแนวทางของพวกเขาเอง และ หากใครสักคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเสียง แต่กลับได้รับเครื่องขยาย และหากใครสักคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีตัวตน เริ่มหัดใช้กล้องถ่ายรูป ภาพถ่ายของเขาเหล่านั้นจะบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาได้ดีแค่ไหน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง