ตาม BACKPACK JOURNALIST ไปดู "มดงานในเมืองใหญ่" ที่ย่างกุ้ง เมียนมา

ต่างประเทศ
29 ธ.ค. 58
16:56
175
Logo Thai PBS
ตาม BACKPACK JOURNALIST ไปดู "มดงานในเมืองใหญ่" ที่ย่างกุ้ง เมียนมา
ในย่างกุ้ง ทุกชีวิตอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น ทุกๆ พื้นที่กลายเป็นพื้นที่ สำหรับการหารายได้ การแข่งขันสะท้อนว่าโอกาสของทุกๆ คนมีไม่เท่ากัน ออกเดินทางตามหามุมมองและวิถีของคนตัวเล็กในเมืองใหญ่พร้อมกัน

นครย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงที่เป็นมรดกของการพัฒนา กลายเป็นพื้นที่หารายได้มากกว่าพื้นที่ใช้ชีวิตของชาวเมียนมา ทุกคนที่เข้ามาล้วนก้าวเดินให้กับชีวิตที่ดีกว่า และคนส่วนใหญ่ก็ทุ่มเทความหวังให้กับประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง ภายใต้การนำของพรรคเอ็นแอลดี


ทีมข่าวพบกับ "สะแป" เธอเป็นคนเดียวที่ใจกลางเมืองย่างกุ้งที่ตอบคำถามไม่เหมือนคนอื่น เธอบอกไม่รู้เรื่องกับการเลือกตั้ง การลงคะแนนไปก็ไม่สนใจ และเมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะมีผลดีกับตัวเธอหรือไม่...เธอตอบว่าไม่เข้าใจและไม่รู้


ที่ย่างกุ้งความคึกคักของแรงงานจะมีให้เห็นหลัง 9 โมงเช้า ผู้มาเยือนที่นี่จะเห็นชาวเมียนมาหิ้วปิ่นโตข้าวที่พวกเขาหิ้วมา เมียทาปูตาจี้ ที่เปรียบเหมือนหัวลำโพงบ้านเรา การถือปิ่นโตข้าวเป็นกิจวัตรนิยม ปิ่นโตดูเหมือนจะเป็นของคู่กายที่สะดุดตานักท่องเที่ยว แต่ว่ายิ่งไปกว่านั้นนับเป็นเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมาด้วย

 

แรงงานในย่างกุ้งมักจะเดินทางจากนอกเมืองมาทำงานในเมือง ราคาน้ำเปล่าที่นี่ราวๆ 100 จ๊าด เทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ 3,600 จ๊าดต่อวัน ซึ่งบางคนอาจจะได้ไม่ถึงด้วย ดังนั้น ถ้านั่งกินข้าวกลางวันตามร้านอาหาร จึงไม่เป็นที่นิยมสำหรับคนตัวเล็กๆ ในเมืองใหญ่

 

Sithu Aung Myint บรรณาธิการบริหาร เดอะ ซัน วีคลี่ นิวส์ กล่าวว่าข้อเสียของรัฐบาลชุดก่อนคือ คนเมียนมาไม่มีงานทำ แม้จะมีการลงทุนจาากต่างประเทศนิดหน่อย แต่ก็ไม่ทำให้คนตกงานมีงานทำ ที่ผ่านมาบางส่วนมีการขุดเหมืองแร่และก๊าซธรรมชาติ ก็ไม่มีงานที่เพียงพอต่อประชาชน ทำให้คนตกงาน แรงงานที่นี่จึงต้องไปทำงานที่ต่างประเทศอยู่ดี อันนั้นคือข้อเสีย

4-5 ปี มานี้มีหลายอย่างในเมียนมาที่เปลี่ยนแปลง รถยนต์สามารถนำเข้า มีขับกันทั่วไป แท็กซี่จึงเป็นอาชีพเกิดใหม่ที่มีจำนวนเยอะมาก ปัญหารถติดก็ตามมา ส่วนอีกอาชีพที่น่าจับตาหลังจากนี้คืองานก่อสร้าง เพราะว่าการลงทุนย่อมมาพร้อมสิ่งก่อสร้าง

 

ขยับออกมาที่แถบชานเมืองย่านกุ้ง เราจะพบกับนิคมอตสาหกรรม ชุมชน และวิถีชีวิตของแรงงานที่ต้องอยู่ในบ้านเช่าเล็กๆแม้ว่าต่อเดือนจะได้รายได้ 170,000 จ๊าด แต่ค่าเช่าห้อง บวกกับค่ากิน ค่าอยู่ก็สูงถึง 150,000 จ๊าด ที่เหลือ 20,000 จ๊าด จึงเป็นเงินที่ใช้สำหรับซื้อหาของใช้อื่นๆ

Gae Tee Au พนักงานโรงงานผลิตขนมปัง สิ่งสำคัญคือทำให้คนชั้นล่างมีงานทำ แล้วสิ่งอื่นๆ จะขึ้นตามมาเรื่อยๆ ส่วนในข่างกุ้งอยากให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเยอะๆ ถ้ามีงานทำก็คิดวาชีวิตน่าจะดีขึ้น

คนทุกระดับในเมียนมาสนใจติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มากๆ และเรื่องหลักๆหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง และเศรษฐกิจ Sithu Aung Myint บรรณาธิการบริหาร เดอะ ซัน วีคลี่ นิวส์ ให้ความเห็นทิศทางเศรษฐกิจของเมียนมาหลังจากเลือกตั้งว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 3,600 จ๊าด ต้องคำนึงถึงว่าคนเราซื้อกินซื้อใช้วันละเท่าไหร่ ลองยกตัวอย่างถ้าราคาข้าวสาร ราคาน้ำมันต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างแพง เงินจึงเฟ้อ รัฐบาลเต็งเส่งขึ้นมาปกครองแรกๆ 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับเงินเมียนมา 900 จ๊าดเอง แต่ตอนนี้ 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 1,270 จ๊าด เอง เท่ากับเงินเฟ้อขึ้น 60% เลย สิ่งที่อยากพูดก็คือเงินเมียนมามีค่าเงินตกต่ำ แม้อนาคตจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่า 3,600 จ๊าดต่อวัน ถ้าค่าเงินไม่คงที่ก็ไม่มีประโยชน์

 

กลุ่มแรงงานเป็นคนจำนวนมากของย่างกุ้ง พวกเขาหวังให้ที่นี่เจริญ มีโรงงาน มีงานทำเยอะๆ แต่หากว่าย่างกุ้งมุ่งเปลี่ยนแปลงไปจุดนั้นอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างฐานนิยมเพียงอย่างเดียว อะไรบ้างที่จะหายไปจากที่นี่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง