ผู้เชี่ยวชาญโซเชียล มีเดียฟันธง 10 ปี สิ้นสุดยุคสื่ออนาล็อกมุ่งสู่ยุคสื่อดิจิทัล

สังคม
30 พ.ค. 55
10:43
24
Logo Thai PBS
ผู้เชี่ยวชาญโซเชียล มีเดียฟันธง 10 ปี สิ้นสุดยุคสื่ออนาล็อกมุ่งสู่ยุคสื่อดิจิทัล

ผู้เชี่ยวชาญวงการโซเชียล มีเดีย สหราชอาณาจักรคาดการณ์อนาคตวงการสื่อ ในอนาคตอีกไม่เกิน 10 ปี ทีวียุคเก่าจะหมดไป และเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ สื่อไม่จำเป็นต้องใช้ทุกประเภท เพียงเลือกใช้ให้ตรงกลุ่ม ด้านตัวแทนสื่อเกาหลีระบุสถานีเล็กใช้โซเชียล มีเดียช่วยขยายฐานกลุ่มผู้ชมได้ ด้านตัวแทนสื่อไทยชี้นักข่าวต้องปรับตัวเพิ่มความเป็นมืออาชีพเผยแพร่ข่าวได้ในหลายช่องทาง

 

<"">
      
<"">

การประชุมสุดยอดสื่อสารมวลชนเอเชีย แปซิฟิก ครั้งที่  9 หรือ หรือ AMS ในวันที่ 2 ในหัวข้อเสวนา “การควบคุมสื่อโชเชียล มีเดีย และการส่งต่อข้อมูล” นางซารา เอ.เชส ตัวแทนจากสหรัฐฯ ระบุถึง การมีอิทธิพลของโซเชียล มีเดียในปัจจุบันว่า ขณะนี้ สังคมโลกอยู่ในการปฏิวัติเทคโนโลยี มนุษย์จะใฝ่หาความรู้ เนื่องจากการมีโซเชียลมีเดียถือว่าเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ถือเป็นเครื่องมือสำคัญซึ่งจากนี้ไปองค์กรสื่อจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาเนื้อหาที่เกิดขึ้นจากชนบท รวมถึงการพัฒนาระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์สู่ยุดดิจิทัล ซึ่งในอนาคตผู้ชมสามารถติดตามข่าวสารได้จากโทรศัพท์มือถือ จึงเท่ากับว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นตัวแปรไปสู่การพัฒนารรูปแบบของการทำงานและการส่งต่อข้อมูลที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น

ด้านนายอัน จุง มุน ตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ เคบีเอส ประเทศเกาหลี กล่าวว่า การที่สำนักข่าวจะเพิ่มฐานผู้ชมให้มากขึ้นนั้นสามารถเพิ่มได้โดยการใช้สื่อโซเชียล มีเดีย โดยจากตัวอย่างสำนักข่าวเคบีเอสที่แม้ว่าจะไม่ใช่สถานีโทรทัศน์ที่ใหญ่ แต่สามารถเพิ่มฐานผู้ชมจากการใช้สื่อโซเชียล มีเดีย ซึ่งได้แบ่งตามฐานของกลุ่มผู้ชม เช่น สื่อทวิตเตอร์ ที่ส่วนใหญ่ผู้ใช้งานเป็นผู้หญิง ก็จะนำเสนอในรูปแบบบันเทิง เป็นต้น รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้ชมก็เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มฐานข้อมูลอีกด้วย เช่นการให้ผู้ชมส่งคลิปเข้ามาทางโซเชียล มีเดีย  การแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นการขยายฐานของผู้ชมได้ รวมถึงเป็นการตอบสนองของลูกค้าอีกด้วย 

ด้านแคลร์ วอเดิล ตัวแทนสื่อ สหราชอาณาจักร กล่าวว่า การเติบโตที่ค่อนข้างรวดเร็วอย่างมากของ โซเชียล มีเดียนั้นมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สำนักข่าวต่างๆ สื่อต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลที่รวดเร็วนั้นสามารถนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

“การที่สื่อโซเชียล มีเดีย เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และอุปกรณ์เทคโนโลยี อาทิ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ในอนาคตไม่เกิน 10 ปีโทรทัศน์แบบปกติทั่วไปจะหมดไป โดยมีการรับชมผ่านสื่อดิจิทัล หรือผ่านเว็บไซต์ที่วีด้วยโทรศัพท์มือถือแทน รวมถึงเหตุผลหลักจาการหลองรวมทางข้อมูลข่าวสารที่ง่ายขึ้นด้วย” ตัวแทนสื่อจากประเทศอังกฤษเผย

จุดสำคัญก็คือสื่อโซเชียล มีเดียมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ครั้งละมากๆ หรือไม่ใช่เพียงกลุ่มคนพียง 1 คนอีกต่อไปอีกต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวต่างๆ จะต้องมียุทธศาสตร์ในการดูแลผู้รับข่าวสารจะต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายสนใจในเรื่องใด และสามารถทำอะไรได้บ้าง

ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียถือเป็นอีกเวทีสำหรับการแสดงความคิดเห็น สื่อจะต้องปรับตัวตลอดเวลา รวมถึงการสามารถนำความคิดหรือประเด็นข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้ชมมากที่สุด 

ทั้งนี้ สื่อกระจายเสียงซึ่งเป็นสื่อกระแสหลักต้องรู้จักเรียนรู้ ลักษณะการใช้สื่อและการปฏิสัมพันธ์ของผู้ชม และผู้ฟังในสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อให้สามารถเข้าถึงและได้รับการยอมรับจากผู้ชม ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจที่มีต่อสื่อกระแสหลักอีกด้วย

นายสุทธิชัย หยุ่น ตัวแทนจากสำนักข่าวเนชั่น ประเทศไทย กล่าวว่า บุคคลทั่วไปนั้นสามารถเป็นนักข่าวพลเมืองได้แล้ว ผู้สื่อข่าวจึงจำเป็นต้องงลืมธรรมชาติของสื่อในรูปเก่า ทั้งการที่ไม่ได้เป็นแหล่งข่าวคนแรกในการนำเสนอข่าวอีกต่อไป หรือการทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลเพียงเดียว ซึ่งรูปแบบที่เปลี่ยนไปนั้นยิ่งทำให้ผู้สื่อข่าวจะต้องพัฒนาการทำข่าวให้ดียิ่งขึ้น โดยในประเทศไทย ก็มีผู้ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวพลเมือง และสามารถทำหน้าที่เปิดประเด็น และนำเสนอข่าวสารใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้น ผู้สื่อข่าวจะต้องพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสามารถสร้างเนื้อหาและเผยแพร่ได้ในหลายช่องทางผ่านระบบโซเชียล มีเดีย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ชมติดตามการทำงานของผู้สื่อข่าวได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่มีผู้ติดตามผู้สื่อข่าวจากการเผยแพร่ข้อมูลผ่านโซเชียล มีเดีย อาทิ ทวิตเตอร์ ก็จะต้องเพิ่มความรับผิดชอบ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสื่อมวลชนใน 2 ทางที่รวดเร็วได้ช่วยให้ผู้สื่อข่าวพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

“ต่อไปนี้การดูข่าวช่วงเวลาไพร์มไทม์จะไม่ใช่ช่วงเวลาเดิมอย่างช่วง ข่าว 2 ทุ่มอีกต่อไปแล้ว เพราะช่วงเวลาไพร์มไทม์ต่อไปจากนี้ในยุคโซเชียล มีเดีย คือช่วงเวลาที่เกิดข่าว” สุทธิชัย กล่าว

ทั้งนี้ ในอดีตคนจะนั่งดูข่าวผ่านหน้าทีวีเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน คนสามารถรับข่าวได้จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต และทุกคนที่อยู่ในพื้นที่สามารถรายงานข่าวได้ทันที และห้องข่าวก็จะไม่ใช่ศูนย์รวมข่าวอีกต่อไป ทุกที่ ที่มีข่าวจะกลายเป็นห้องข่าว เพราะฉะนั้นการทำข่าวแบบที่เคยมีการเรียนการสอนมานั้นสิ้นสุดลงแล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างเติบโตอย่างรวดเร็ว และโซเชียลมีเดีย จึงเป็นสิ่งสำคัญในการรายงานข่าวอย่างมา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง