โดรน: อาวุธลับยูเครนต่อกรรัสเซียปลายปี 2024 ที่ฐานใต้ดินแห่งหนึ่งไม่ไกลมากนักจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน โดรนหลากหลายรุ่นล่าสุดที่ประดิษฐ์โดยกองทัพยูเครนถูกวางจัดไว้เพื่อเตรียมอวดโฉมกับโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในขณะนั้น เนื่องจากบทบาทของอาวุธไร้คนขับที่มีอิทธิพลต่อสงครามที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปเป็นที่ประจักษ์ ทำให้บริษัทโดรนจำนวนมากสนใจเข้ามาลงทุนในยูเครน ผู้นำหลายชาติต้องการเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการทำสงคราม สงครามในยูเครนกลายเป็นฐานผลิตยุทโธปกรณ์ที่ผู้คนให้ความสนใจการเติบโตของอุตสาหกรรมโดรนยูเครนข้อมูลล่าสุดจากหน่วยงานทางการยูเครนชี้ว่า ในระหว่างปี 2022 ถึง 2024 หรือสองปี ยูเครนมีผู้ผลิตโดรนมากกว่า 200 รายการผลิตโดรนเติบโตแบบก้าวกระโดด:
ปี 2022: 3,000-5,000 ลำ
ปี 2023: 300,000 ลำ
ปี 2024: หลักล้านลำ
การผลิตโดรนจำนวนมหาศาลต้องอาศัยการทำงานระดับล่างสุดอย่างบุคคล ไปจนถึงระดับบนสุดอย่างโรงงานอุตสาหกรรมอย่างการซ่อมแซมด้วยมือมนุษย์ที่ศูนย์ซ่อมโดรน ไปจนถึงการใส่เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มอานุภาพที่ต้องใช้การผลิตระดับโรงงานอุตสาหกรรมศูนย์ซ่อมโดรน : หัวใจสำคัญของการพัฒนาที่ศูนย์ซ่อมโดรนพื้นที่รวมช่างมากฝีมือของยูเครน ทุกครั้งที่หัวแร้งเจาะที่ตัวโดรนจะมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโดรนเหล่านี้ให้พร้อมรบช่างซ่อมโดรนบอกกับเราว่า งานของพวกเขาคือ การกำจัดข้อบกพร่องของโดรนที่เพิ่งได้รับการทดสอบ และพัฒนาโมเดลใหม่ของโดรนจากการโหลดแบบพิมพ์สามมิติในอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในโดรนในส่วนที่ระดับใหญ่ขึ้นอย่างอุตสาหกรรม ยูเครนกำลังผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้าไปในโดรน ทำให้สามารถล็อกเป้าหมายที่ระบุได้โดยผู้ปฏิบัติการในช่วงสุดท้ายของการบินก่อนจะเกิดระเบิดได้ การทำเช่นนี้ช่วยให้โดรนสู้กับระบบก่อกวนและระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียได้ดีขึ้น ไม่เฉพาะจำนวนที่มากขึ้น แต่โดรนของยูเครนมีพิสัยการทำการได้ไกลมากขึ้นการโจมตีฐานทัพอากาศเอนเกลส์-2เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ฐานทัพอากาศเอนเกลส์-2 หนึ่งในฐานทัพหลักของกองทัพอากาศรัสเซียที่ตั้งอยู่ในนครซาราตอฟ ห่างจากชายแดนยูเครนไปกว่า 700 กิโลเมตร ถูกโดรนหลายลำพุ่งถล่มเข้าใส่เป้าหมาย คือคลังเก็บขีปนาวุธของรัสเซีย หลักฐานจากภาพถ่ายดาวเทียมบ่งชี้ถึงความเสียหายหนัก ฐานทัพแห่งนี้เป็นที่ประจำการของเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียหลายรุ่น การโจมตีเป้าหมายเชิงเศรษฐกิจหลังการโจมตีฐานทัพอากาศเอนเกลส์-2 โดรนจากยูเครนก็ถูกส่งเข้าดินแดนรัสเซียต่อเนื่อง เป้าหมายหลายจุดเป็นคลังน้ำมัน - แหล่งรายได้หลักของรัฐบาลรัสเซีย คลังน้ำมันทั้งหมดที่ตกเป็นเป้าโจมตีตั้งอยู่ห่างจากชายแดนยูเครนไม่น้อยกว่า 500 กิโลเมตร เป็นเป้าหมายที่ยูเครนต้องการทำลายแต่ก่อนหน้านี้ทำไม่ได้เนื่องจากไม่มีอาวุธที่มีพิสัยไกลพอปัญหาข้อจำกัดขีปนาวุธ ATACMSต้นปี 2024 ยูเครนได้ร้องขอไปที่รัฐบาลสหรัฐ ที่ในขณะนั้นยังอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อขอให้ไฟเขียวอนุญาตให้ยูเครน ใช้ระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีกองทัพบกหรือ ATACMS ซึ่งมีพิสัยทำการไกลประมาณ 350 กิโลเมตร ที่สามารถยิงเข้าทำลายคลังอาวุธของรัสเซียในดินแดนรัสเซียได้ ซึ่งประธานาธิบดีไบเดนก็ไฟเขียวในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567แต่การเปิดทางให้ยูเครนใช้ ATACMS ไม่เพียงช้าเกินไป ยังเกิดขึ้นท่ามกลางข้อจำกัด คือหัวรบที่สหรัฐฯ ให้มีจำนวนหลักสิบหัวเท่านั้น ยูเครนจำเป็นต้องหาทางออกอื่นโดรน: ทางเลือกใหม่โดรนที่มีพิสัยไกลถึง 1,000 กิโลเมตร ที่ผลิตได้เองจึงอาจจะคือคำตอบ แต่จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดหรือไม่? โดรนเหล่านี้จะสามารถชดเชยหรือทดแทนขีปนาวุธระยะไกลจากสหรัฐได้หรือไม่ ยังคงเป็นคำถาม ชมแบบเต็ม ๆ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน โดรน โฉมหน้าสงครามในอนาคต