นักวิชาการชี้ เกณฑ์เก็บสถิติอุบัติเหตุของหลายหน่วยงานต่างกัน ทำให้ข้อมูล-ตัวเลขคลาดเคลื่อน

อาชญากรรม
3 ม.ค. 56
04:00
4,821
Logo Thai PBS
นักวิชาการชี้ เกณฑ์เก็บสถิติอุบัติเหตุของหลายหน่วยงานต่างกัน ทำให้ข้อมูล-ตัวเลขคลาดเคลื่อน

สถิติการเกิดอุบัติเหตุ ในทุกช่วงเทศกาล ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่วิธีการ และหลักเกณฑ์การเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงานยังมีแตกต่างกัน ทำให้การบูรณาการข้อมูลร่วมกันไม่สมบูรณ์ ซึ่งสะท้อนด้วย สถิติตัวเลขที่ถูกเปิดเผยออกมา อาจไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริง นั่นอาจหมายถึง ในช่วงเทศกาลอาจเกิดเหตุและมีการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตมากกว่าที่รายงาน

ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ (ศปถ.) 2556 รายงานสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 1 มกราคม 2556 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของช่วง 7 วันอันตราย เกิดอุบัติเหตุ 533 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 78 คน และมีผู้บาดเจ็บ 583 คน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เมาแล้วขับ ร้อยละ 46.9 รองลงมาคือขับรถเร็ว ร้อยละ 20.45 ซึ่งยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.28

สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 6 วัน คือตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม ถึง 1 มกราคม 2556 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,884 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 28 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 332 คน เพิ่มขึ้น 17 คน และผู้บาดเจ็บรวม 3,037 คน ลดลง 79 คน

จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุในช่วง 6 วัน คือ จังหวัดตราด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด คือจังหวัดเชียงใหม่ 123 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ จังหวัดนครปฐม 16 คน และจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด คือจังหวัดเชียงใหม่ 128 คน

แม้จะมีการรายงานตัวเลขอย่างเป็นทางการในทุกวันตลอดเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า ตัวเลขที่มีการรายงานนั้น ครอบคลุม ครบถ้วนของอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นแล้วจริงหรือไม่ เนื่องจากการเก็บรวบรวข้อมูลของแต่ละแหล่งมีความแตกต่างกัน อย่างกรณีของ ศปถ. ปกติแล้ว จะได้รับข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจาก 3 แหล่ง คือ
1.บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
2.ข้อมูลจากใบมรณะบัตร และ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ของกระทรวงสาธารณสุข
3.สถิติของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

โดยแหล่งข้อมูลจากทั้ง 3 แหล่งมีข้อมูลที่ไม่ยังตรงกัน เพราะมีนิยามการเก็บข้อมูลผู้เสียชีวิตต่างกัน เช่น ข้อมูลผู้เสียชีวิตภาพรวมในปี 2554 ตลอดทั้งปี บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต มากถึง 15,000 คนต่อปี ขณะที่ข้อมูลจากใบมรณะบัตร และ สพฉ.ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 14,033 คน ส่วนสถิติของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 10,172 คน

นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า ภาพรวมข้อมูลของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หลังจากมีการทำปฏิญญามอสโกกับสหประชาชาติ ว่าประเทศไทยจะต้องลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งต่อประชากรแสนคน ภายในเวลา 10 ปี คือตั้งแต่ปี 2554-2563 ซึ่งขณะนี้ผ่านมาแล้ว 2 ปีกับการประกาศเป็นปีทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง