ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมคดีความมั่นคง ปัจจัยสำคัญแก้ปัญหาใต้ ตอนที่ 4

8 มิ.ย. 56
14:17
54
Logo Thai PBS
ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมคดีความมั่นคง ปัจจัยสำคัญแก้ปัญหาใต้ ตอนที่ 4

โครงการพัฒนาร่างแนวทางปฎิบัติในการดำเนินคดีความมั่นคงฯของสำนักงานคดีแรงงานภาค 9 เป็นความพยายามที่จะปรับปรุงและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะในชั้นอัยการ ซึ่งผลที่ได้จากโครงการนี้ก็คือ ข้อเสนอในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมเกือบทั้งระบบ เพื่อหาทางยุติปัญหาสถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้

สถิติคดีความมั่นคงในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนใต้ยังสูงขึ้นจากเหตุรุนแรงรายวัน โดยนับตั้งแต่ปี 2547 ถึงกรกฎาคม 2555 มีคดีความมั่นคงเกิดขึ้น 7918 คดี ท่ามกลางข้อกังขาถึงประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม จนทำให้หน่วยงานสำคัญอย่างสำนักงานคดีแรงงานภาค 9 จัดโครงการพัฒนาร่างแนวทางปฎิบัติในการดำเนินคดีความมั่นคงฯเพื่อศึกษาและหาทางออกปัญหาที่เกิดขึ้น 

 
ข้อเสนอส่วนหนึ่งในเชิงนโยบาย คือให้แก้กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดี เช่นการกำหนดระยะเวลาทำหน้าที่แต่ละฝ่ายแยกส่วนให้ชัดเจน ทั้งพนักงานสอบสวน อัยการและศาล เพื่อให้การดำเนินคดีรวดเร็วขึ้น จากเดิมที่หลายคดีใช้เวลานานหลายปีส่งผลกระทบต่อผู้ตกเป็นผู้ต้องหาและความเชื่อมั่นของประชาชน และยังเสนอให้อัยการมีอำนาจหน้าที่เข้าสอบสวนผู้ต้องหาคดีความมั่นคงกับร่วมพนักงานสอบสวน เพื่อลดข้อบกพร่องระหว่างการสอบสวน เช่นเดียวกับที่ใช้ในหลายประเทศ
 
ที่สำคัญได้เสนอให้ตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาตรวจสอบการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนให้โปร่งใส และตั้งหน่วยงานด้านอัยการและพนักงานอัยการที่มีประสบการณ์รับผิดชอบคดีความมั่นคงโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ

    

 
ขณะที่ข้อเสนอในเชิงปฎิบัติ มีทั้งให้พัฒนาความรู้ผู้ผ่านการคัดเลือกก่อนปฎิบัติงานในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีลักษณะเฉพาะทางด้านวัฒนธรรม ศาสนาและภาษา เพื่อลดปัญหาความไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่รัฐ และการให้มีบทลงโทษผู้ปฎิบัติงานที่สร้างผลงานเท็จ/หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์ไม่สงบบานปลาย (ภาพด่านตำรวจ+ภาพพื้นที่)
 
ข้อเสนอที่ได้สำนักงานอัยการภาค 9 ได้ส่งมอบให้อัยการสูงสุดเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม 
ในมุมนักวิชาการผู้ติดตามสถานการณ์ใต้อย่างใกล้ชิดมองว่า การที่หน่วยงานสำคัญในกระบวนการยุติธรรมมีความพยายามจะปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมของโครงการนี้และยังยอมรับถึงข้อบกพร่องที่เกิดในกระบวนการจนนำมาสู่ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา ถือเป็นความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาเหตุรุนแรงในพื้นที่
 
นักวิชาการคนนี้ยังเชื่อว่า ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยโครงการนี้ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมฐานข้อมูลที่หน่วยงานอื่นยากจะเข้าถึงและการยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นเหตุการณ์จริงทั้งหมด ยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม และเชื่อว่าข้อเสนอเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จริง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง