จ. กำแพงเพชร นำร่องจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตร

18 ก.ค. 56
14:05
1,249
Logo Thai PBS
จ. กำแพงเพชร นำร่องจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตร

การจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตร เป็นนโยบายที่รัฐบาลสนันสนุนให้มีการปลูกพืชเหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะที่จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการทำนาเกือบ 300,000 ไร่ จึงเตรียมสนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกอ้อยทดแทน เพราะมีโรงงานรองรับเพียงพอ ขณะที่นักวิชาการเสนอแนะให้เร่งศึกษาและการวิจัยรายละเอียดอย่างรอบด้าน

นาข้าว 8 ไร่ จากทั้งหมด 19 ไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ไม่สามารถปลูกข้าวเต็มพื้นที่ 2 ครั้งต่อปี เหมือนชาวนาทั่วไป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มานิตย์ แมลจิตร ชาวบ้าน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เห็นด้วยกับนโยบายในการเปลี่ยนที่นา เป็น ไร่อ้อย ของภาครัฐในขณะนี้ และพร้อมที่จะปลูกอ้อยแทนข้าวหากได้รับการสนุนสนุนเงินทุน

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดนำร่อง การจัดทำเขตการใช้ที่ดิน หรือ โซนนิ่ง ของรัฐบาล หลังพบว่ามีพื้นที่ที่ไม่เพราะสมต่อการทำนากว่า 28,000 ไร่ โดยเตรียมร่วมกับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมให้ปลูก อ้อย ซึ่งในพื้นที่ มีโรงงานน้ำตาลรองรับผลผลิต 3 แห่ง

ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณกับมาตราการแทรกแซงราคา จึงเหตุผลหลักที่กระทรวงเกษตรฯและสหกรณ์ เชื่อว่าการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด จะเป็นแนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุด

สอดคล้องกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เห็นด้วยกับการจัดทำเขตการใช้ที่ดิน แต่ต้องศึกษาวิจัยอย่างรอบด้านและเป็นรายจังหวัด พร้อมเสนอภาครัฐให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนการผลิต และ ใช้เกษตรอินทรีย์ เป็นทางเลือกให้เกษตรกร

ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ ระบุว่า พืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด ที่ควรมีการจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตร ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน โดยพืช 6 ชนิด มีพื้นที่เพราะปลูก 137 ล้านไร่ และ ข้าว มีพื้นที่มากถึง 84.5 ล้านไร่ ในจำนวนนี้พบว่า มีการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมถึง 30.7 ล้านไร่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง