นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ป้องกันไข้เลือดออก

27 ก.ค. 56
07:30
1,306
Logo Thai PBS
นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ป้องกันไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกที่ระบาดในขณะนี้ มีผู้ป่วยทั่วประเทศมากกว่า 54,000 คน เสียชีวิตไปแล้ว 62 คนทำให้ทุกพื้นที่จึงต้องเข้มงวดในการเฝ้าระวังป้องกันโรค โดยเฉพาะการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย รวมไปถึงการนำนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่มีส่วนช่วยสำคัญของการลดปัจจัยเสี่ยงการระบาดโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาชนะใส่น้ำตามบ้านเรือน เป็นจุดเจ้าหน้าที่ อสม. จังหวัดยโสธร เน้นการตรวจหาลูกน้ำยุงลาย เหมือนพื้นที่น้ำขังอื่นๆ อย่าง จานรองกระถางต้นไม้ ท่อซีเมนต์ ที่พบลูกน้ำยุงลายได้ง่าย  การแก้ปัญหาโดยใช้จุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลายเทลงไปในแหล่งน้ำขัง จึงเป็นมาตรการที่ช่วยควบคุมลูกน้ำยุงลาย พาหะโรคไข้เลือดออก

ขณะนี้มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้วจำนวน 366 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา ทำให้การรณรงค์ป้องกันต้องทำอย่างจริงจัง  ขณะที่ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมากขึ้น

การทำงานเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ เพื่อสอดส่องดูแลจุดเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเท่านั้น การได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ ถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้การป้องกันการแพร่ระบาดทำได้ง่ายขึ้น

กระแสไฟที่จ่ายไปยังวงจรกำเนิดคลื่นความถี่สูงอุลตร้าโซนิกส์ ขนาด 40 กิโลเฮิร์ต มีคุณสมบัติสร้างคลื่นใต้น้ำ ทำให้เกิดแรงกระแทกรุนแรงจนทำให้ลูกน้ำที่อยู่ในรัศมี 1 ฟุต ตายทันที แต่ไม่เกิดอันตรายต่อคน หรือสัตว์น้ำ เป็นหลักการทำงานของเครื่องฯที่นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล ม.เทคโนโลยีสุรนารี คิดค้นขึ้น และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำมาถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่การใช้งานจริง  ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้การควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในชุมชนทำได้ดียิ่งขึ้น

ล่าสุดพบผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้วกว่า 54,000 คน เสียชีวิต 62 คน และการที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ทำให้การเฝ้าระวังเป็นแนวทางที่ดีที่สุด

จากนี้สวทช.จะขยายผลงานวิจัยในการลดการระบาดโรคไข้เลือดออก ไปยังพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จ.นครพนม แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต เพชรบูรณ์ และระยอง

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง