วิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

15 ก.ย. 56
14:32
1,188
Logo Thai PBS
วิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา การแก้ปัญหาราคายางพารา รัฐบาลเลือกใช้วิธีแก้ปัญหา ด้วยการอัดฉีดงบประมาณ และส่งเสริมปัจจัยการผลิต แต่เกษตรกรชาวสวนยางพาราจำนวนมาก เชื่อว่า มีช่องว่างเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ไม่ได้รับอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะชาวสวนยางนอกระบบที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

ตลอดกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา การชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาราคายางพาราของกลุ่มเกษตรกรในหลายจังหวัด ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การแก้ไขปัญหานั้นยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่เบ็ดเสร็จได้ รัฐบาลต้องใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการอัดฉีดเงินงบประมาณลงไปในรูปปัจจัยส่งเสริมการผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรจำนวนมากยังมองว่ายังคงมีช่องว่างเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ไม่ได้กระจายอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเกษตรกรนอกระบบที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

แม้ว่ารัฐบาลจะมีแนวทางในการช่วยเหลือด้วยการชดเชยเป็นเงินอุดหนุนในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 12 บาท ในอัตราการผลิตที่ 2 กิโลกรัมต่อไร่เป็นเวลา 15 วัน ใน 1 เดือนตลอดระยะเวลา 7 เดือน คิดเป็นเงินไร่ละ 2,520 บาทก็ตาม เกษตรกรหลายคนยังเห็นตรงกันว่าไม่ใช่เป็นทางออกของการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ แต่กลับยิ่งจะสร้างปัญหา เพราะไม่ได้รักษาเสถียรภาพของราคาได้อย่างแท้จริง ตามข้อเรียกร้องของเกษตรกร

เป็นเวลากว่า 1 เดือนมาแล้วที่การเคลื่อนไหวของเกษตรกรชาวสวนยางได้เริ่มขึ้นจาก อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบ “ชะอวดโมเดล” เกษตรกรได้เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องราคายางพาราที่กำลังตกต่ำมาตลอด 2 ปี บวกกับความเดือดร้อนด้านค่าครองชีพที่ขยับสูงขึ้นอย่างไม่สอดคล้อง จนนำไปสู่การชุมนุมที่กลายเป็นจุดร่วมของเกษตรกร และขยายวงกว้างไปในอีกหลายจังหวัด เป็นปรากฏการณ์ที่นักวิชาการนำมาถอดเป็นบทเรียนเพื่อหาทางออกให้กับสังคม
 

<"">
 
<"">

แนวทางในการช่วยเหลือชาวสวนยางของรัฐบาลด้วยการชดเชยเป็นเงินอุดหนุนคิดเป็นเงินไร่ละ 2,520 บาท ยังคงมีช่องว่างสิทธิประโยชน์ไม่ได้กระจายอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเกษตรกรนอกระบบที่ไม่มีเอกสารสิทธิ สวนยางในเขตป่าสงวน ลูกจ้างในการผลิตยางพารา รวมทั้งเจ้าของสวนยางพาราที่บริหารจัดการในรูปแบบกงสีของครอบครัว การเคลื่อนไหวอีกครั้งในขณะนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับคำประกาศของผู้ชุมนุมบนที่ว่าการอำเภอชะอวด ว่าพวกเขาต้องการให้ราคายางพาราอยู่ที่ กิโลกรัมละ 90 บาทเท่านั้น

นโยการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราซึ่งถูกกระตุ้นโดยฝ่ายการเมือง แต่ขาดการวางแผนในการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงในเสถียรภาพของราคายางในตลาดโลก ขณะที่ภาครัฐโดยเฉพาะฝ่ายการเมืองยังคงมุ่งแก้ปัญหาที่ฐานคะแนนเสียง โดยไม่มององค์รวมของปัญหาอย่างรอบด้าน การหาทางออกของเกษตรกรเพื่อให้ได้รับการตอบสนองจากรัฐ จึงยังคงมีให้เห็นอยู่บนท้องถนนต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง