ผลสอบโอเน็ตกับความเหลื่อมล้ำของเด็กเมืองกรุง-ชนบท ?

29 มี.ค. 53
10:42
981
Logo Thai PBS
ผลสอบโอเน็ตกับความเหลื่อมล้ำของเด็กเมืองกรุง-ชนบท ?

เมื่อปิดเทอมใหญ่มาถึงน.ส.สุดารัตน์ ทีคะ นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยาจ.ชัยภูมิจะมุ่งเข้าเมืองเพื่อหางานพิเศษทำแทนที่จะออกไปเรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยงานรับจ้างในโรงงานตกแต่งอะไหล่รถยนต์ ที่จ.สมุทรสาครคืองานพิเศษที่เธอหาได้ในเวลานี้เพื่อแลกกับเงินค่าจ้างวันละ 200 บาทแม้การได้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ ความใฝ่ฝันสูงสุดของสุดารัตน์ แต่คะแนนโอเน็ตที่ประกาศผลออกมาในวันนี้ ก็ทำให้เธอรู้ว่าความฝันคงจะไม่เป็นจริง เพราะเธอเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนักเรียนต่างจังหวัดจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสเรียนกวดวิชา เหมือนนักเรียนในกรุงเทพฯ เพราะฐานะทางบ้านยากจน ซึ่งทำให้เธอต้องใช้เวลาว่างไปกับการทำงานเก็บเงินไว้เป็นทุนการศึกษาของตัวเอง

น.ส.สุดารัตน์ ทีคะ นักเรียนร.ร.มัธยมบ้านแก้งวิทยาจ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเด็กต่างจังหวัด ที่อยากเข้ามหาวิทยาลัยดังๆแต่ก็ไม่ค่อยมีโอกาส อย่างมากสุดก็แค่ราชภัฏ หนึ่งคือทุนการศึกษาเราไม่มีทุนเรามีน้อยพ่อแม่ไม่สามารถส่งเราได้ อย่างมากก็แค่ราชภัฏเพราะราชภัฏค่าเทอมพ่อแม่พอส่งได้

ขณะที่พ่อแม่ของสุดารัตน์ ก็ต้องใช้ชีวิตที่บ้านใน จ.ชัยภูมิอย่างเงียบเหงา ระหว่างที่รอการกลับมาของลูกสาวทั้งคู่บอกว่า ไม่ได้คาดหวังว่าลูกจะได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่กรุงเทพฯขอเพียงให้ได้มหาวิทยาลัยที่ค่าเทอมไม่แพงก็พอ

นางกุลทอง ทีคะ กล่าวว่าไม่คาดหวัง เพราะว่าไม่มีฐานะอะไร ตามใจเขา เขาอยากเรียนที่ไหนก็ให้ไป เขาอยากไปเมืองเลยก็ให้ไป แต่ว่าเขาเลือกราชภัฏ

อย่างไรก็ดีเกือบ 4 ปีแล้ว นักเรียนโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา ในจังหวัดชัยภูมิ สอบโอเน็ตได้คะแนนไม่ถึงครึ่งมากถึงร้อยละ 40 นาย ไพริน สุริยะพันธุ์พงศ์ ผอ.ร.ร.มัธยมบ้านแก้งวิทย บอกว่า การศึกษาของเด็กชนบทมีความเหลื่อมล้ำกับเด็กกรุงเทพมาก ปัญหาการขาดแคลนครู ทำให้ครูในชนบทต้องรับหน้าที่สอนหลายวิชา แม้จะไม่ได้เชี่ยวชาญกับวิชาที่สอนก็ตาม โดยอาจารย์สอน 8 รายวิชาอาจารย์ต้องออก 8 รายวิชาฉะนั้นการออกข้อสอบก็ไปเอาจากสำนักพิมพ์ หนังสือคู่มือสำนักพิมพ์มาโดยทั่วไปคือสภาพต้องยอมรับว่าในสภาพความเป็นจริงมันเป็นแบบนี้ ก็ไปดึงตัวนั้นมาสอบยังไงก็ออกอย่างนั้นขนาดข้อสอบโอเน็ตเนี่ย นักวิชาการก็เอาหลักสูตรมากาง วิเคราะห์ออก ฉะนั้นเด็กที่จะทำข้อสอบ จึงไม่แปลกใจว่าต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งนั้นเลย

สำหรับการปรับเปลี่ยนข้อสอบโอเน็ตให้มีการคิดวิเคราะห์มากขึ้น ยิ่งสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเด็กในต่างจังหวัด เพราะข้อสอบบางวิชาที่ออกมาไม่สอดคล้องกับการสอนในโรงเรียนชนบท

ขณะที่ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ ให้ความเห็นว่า ข้อสอบโอเน็ตครั้งนี้ไม่เป็นธรรมต่อนักเรียน เพราะไม่แจ้งล่วงหน้าเพื่อให้เตรียมตัวได้ทัน แต่สำหรับการสอบโอเน็ตทุกครั้งซึ่งเป็นการวัดความสามารถของนักเรียนทั่วประเทศนั้น ข้อสอบจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

นักวิชาการอิสระ บอกด้วยว่า สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ.ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการออกข้อสอบ จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนโดยการออกข้อสอบที่มุ่งวัดความรู้ความสามารถโดยไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อหาที่เหมือนกันทั่วทั้งประเทศ
แต่คะแนนโอเน็ตที่ประกาศผลออกมาในวันนี้ ก็ทำให้เธอรู้ว่าความฝันคงจะไม่เป็นจริง เพราะเธอเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนักเรียนต่างจังหวัดจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสเรียนกวดวิชา เหมือนนักเรียนในกรุงเทพฯ เพราะฐานะทางบ้านยากจน ซึ่งทำให้เธอต้องใช้เวลาว่างไปกับการทำงานเก็บเงินไว้เป็นทุนการศึกษาของตัวเอง
น.ส.สุดารัตน์ ทีคะ นักเรียนร.ร.มัธยมบ้านแก้งวิทยาจ.ชัยภูมิ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเด็กต่างจังหวัด ที่อยากเข้ามหาวิทยาลัยดังๆแต่ก็ไม่ค่อยมีโอกาส อย่างมากสุดก็แค่ราชภัฏ หนึ่งคือทุนการศึกษาเราไม่มีทุนเรามีน้อยพ่อแม่ไม่สามารถส่งเราได้ อย่างมากก็แค่ราชภัฏเพราะราชภัฏค่าเทอมพ่อแม่พอส่งได้

ขณะที่พ่อแม่ของสุดารัตน์ ก็ต้องใช้ชีวิตที่บ้านใน จ.ชัยภูมิอย่างเงียบเหงา ระหว่างที่รอการกลับมาของลูกสาวทั้งคู่บอกว่า ไม่ได้คาดหวังว่าลูกจะได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่กรุงเทพฯขอเพียงให้ได้มหาวิทยาลัยที่ค่าเทอมไม่แพงก็พอ
นาง กุลทอง ทีคะ กล่าวว่าไม่คาดหวัง เพราะว่าไม่มีฐานะอะไร ตามใจเขา เขาอยากเรียนที่ไหนก็ให้ไป เขาอยากไปเมืองเลยก็ให้ไป แต่ว่าเขาเลือกราชภัฏ

เกือบ 4 ปีแล้ว นักเรียนโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา ในจังหวัดชัยภูมิ สอบโอเน็ตได้คะแนนไม่ถึงครึ่งมากถึงร้อยละ 40

ไพริน สุริยะพันธุ์พงศ์ ผอ.ร.ร.มัธยมบ้านแก้งวิทย บอกว่า การศึกษาของเด็กชนบทมีความเหลื่อมล้ำกับเด็กกรุงเทพมาก ปัญหาการขาดแคลนครู ทำให้ครูในชนบทต้องรับหน้าที่สอนหลายวิชา แม้จะไม่ได้เชี่ยวชาญกับวิชาที่สอนก็ตาม
โดยอาจารย์สอน 8 รายวิชาอาจารย์ต้องออก 8 รายวิชาฉะนั้นการออกข้อสอบก็ไปเอาจากสำนักพิมพ์ หนังสือคู่มือสำนักพิมพ์มาโดยทั่วไปคือสภาพต้องยอมรับว่าในสภาพความเป็นจริงมันเป็นแบบนี้ ก็ไปดึงตัวนั้นมาสอบยังไงก็ออกอย่างนั้นขนาดข้อสอบโอเน็ตเนี่ย นักวิชาการก็เอาหลักสูตรมากาง วิเคราะห์ออก ฉะนั้นเด็กที่จะทำข้อสอ


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง