ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พบผู้ชายเอเชียหลงใหลการทำอาหาร ใช้เวลาเข้าครัวมากกว่าผู้หญิง

26 ก.ค. 54
14:06
85
Logo Thai PBS
พบผู้ชายเอเชียหลงใหลการทำอาหาร ใช้เวลาเข้าครัวมากกว่าผู้หญิง

อิเลคโทรลักซ์ สำรวจพฤติกรรมการทำอาหารของคนเอเชีย ปี 2010 ภายใต้แนวคิด “Thinking of You” ผลสำรวจพฤติกรรมด้านอาหารใน 8 ประเทศ

ข้อมูลเชิงลึกด้านกระแสนิยมในการทำอาหาร  อุปนิสัยในการเตรียมอาหารของคนในเอเชีย รวมทั้งแรงบันดาลใจของผู้บริโภคในด้านอาหารและการรับประทานอาหาร

นายสุทธิ มโนกิจจรูญมั่น ผู้จัดการทั่วไป อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า การสำรวจขนาดใหญ่นี้ เพื่อรวบรวมมุมมองและผลตอบกลับจากผู้บริโภคที่จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจความต้องการ และสร้างประสบการณ์ได้ การสำรวจ ทำให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคได้ชัดเจนขึ้น ทั้งเรื่องความกังวลในด้านสุขภาพ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลด้านสุขภาพสูงถึงร้อยละ 96 เมื่อรับประทานอาหารที่บ้าน และมีความกังวลสูงถึงร้อยละ 89 เมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือ การที่คนไทย ถึงร้อยละ 49 มีความกังวลเกี่ยวกับอาหารประเภททอดน้ำมันมากที่สุด  

“ผลจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้สร้างความประหลาดใจให้เราได้ไม่น้อย กับพฤติกรรมด้านอาหารของผู้บริโภคชาวเอเชีย ซึ่งแตกต่างจากที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ โดยผลสำรวจชี้ชาวเอเชียนิยมทานอาหารค่ำที่บ้านมากกว่า ขณะที่ความหลงใหลในด้านการทำอาหารกลับมีสูงกว่าในกลุ่มผู้ชาย และมีข้อสรุปอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ”

ชาวเอเชียนิยมทานอาหารที่บ้าน แม้หลายคนจะทำไม่ได้
•ความหลงใหลในการทำอาหารมีสูงกว่าในกลุ่มผู้ชาย
•เชื่อคุณภาพของอาหารสดดีกว่าในอดีต
•สุขภาพเป็นเรื่องใหญ่ที่กังวลในหมู่ชาวเอเชีย
•ผู้ปรุงอาหารชาวไทยและจีนชอบทดลองสูตรใหม่ๆ มากที่สุด

ชาวเอเชียนิยมทานอาหารที่บ้านมากกว่า แม้หลายคนจะทำไม่ได้

แม้จะเป็นภูมิภาคที่ขึ้นชื่อในด้านความโปรดปรานอาหารอร่อย ที่สามารถซื้อหาอาหารมารับประทานได้จากอาหารหาบเร่ แผงลอย และภัตตาคารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ก็ยังชอบอาหารที่ทำที่บ้าน จากความสะดวกของพื้นที่ทานอาหารส่วนตัวที่สะดวกสบายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่วัยทำงานชาวเอเชียโดยเฉลี่ยไม่สามารถทานอาหารกลางวันทำเองที่บ้านได้ ด้วยเวลาที่จำกัดที่มีอยู่ในช่วงมื้อเที่ยง และปัจจัยทางด้านการจราจร และระยะทางจากที่ทำงาน คนส่วนใหญ่จะนั่งทานอาหารที่ร้านอาหารที่อยู่ภายในระยะการเดินจากที่ทำงาน แต่นั่นไม่สามารถใช้ได้กับคนอินเดีย ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามชาวอินเดียยังพยายามกลับไปทานอาหารกลางวันที่บ้านให้ได้

ความเป็นจริงก็คือแม้ว่าชาวเอเชียจะนิยมอาหารที่ทำจากบ้านมากกว่า แต่ด้วยความต้องการจากงานและเพื่อนฝูง ทำให้ยากที่จะทำตามความต้องการและความชอบของตัวเอง ชาวเอเชียกว่าครึ่งยังทานอาหารค่ำนอกบ้านอย่างน้อยหนึ่งครั้งในสองสัปดาห์

•ร้อยละ 90 ของผู้ตอบแบบสอบถามนิยมทานอาหารที่บ้านมากกว่า
•ร้อยละ 45 ของชาวอินเดียทานอาหารกลางวันที่บ้าน เมื่อเทียบกับตัวเลขโดยเฉลี่ยของคนในภูมิภาคที่อยู่ที่ ร้อยละ 23
•ชาวเอเชียร้อยละ 61 ทานมื้อค่ำนอกบ้านอย่างน้อยหนึ่งครั้งในสองสัปดาห์


ผู้ชายเอเชียชอบทำอาหารมากกว่าผู้หญิง

ยุคสมัยที่บริการส่งอาหารถึงบ้านแทรกซึมเข้ามาอยู่ในเบอร์โทรด่วนของเรา และการสั่งอาหารไปทานที่บ้านก็กลายเป็นคุณสมบัติสำคัญของอาหารกลางวันหรือแม้แต่อาหารค่ำ ความต้องการที่จะทำอาหารยังคงไม่จางหายไป ชาวอินเดียมีความหลงใหลในการทำอาหารมากที่สุดในเอเชีย ตามมาติดๆ ด้วยชาวอินโดนีเซีย ชาวมาเลเซีย และชาวฟิลิปปินส์

ในวัฒนธรรมเอเชียซึ่งปกติมักจะร่ำรวยด้านประเพณี ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการบ้านการเรือนและการทำอาหาร ทว่า ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าในด้านความหลงใหลในการทำอาหารแล้ว พบว่ามีความแตกต่างทางเพศเล็กน้อย คือมีผู้ชายจำนวนมากขึ้นที่ใช้เวลาเข้าครัวมากกว่าผู้หญิง

ผู้ชายกลับมีความชื่นชอบในศาสตร์และศิลป์แห่งการปรุงอาหาร ซึ่งเพิ่มเสน่ห์ความเซ็กซี่สู่ความเป็นชายเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ผู้ชายที่สามารถทำอาหารได้ มักมีความละเมียดละไม และมีความเป็นเมโทรเซ็กชวล ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวกำลังเป็นกระแสนิยม โดยอุปกรณ์ครัว ถือเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ใช้ในการรังสรรค์มื้ออาหารรสเลิศ อันเป็นกิจกรรมยามว่างสุดโปรดไปแล้ว

อุปกรณ์ครัวเหล่านี้ยังทำให้เวลาในห้องครัวเป็นเรื่องน่าหลงใหลสำหรับผู้ชายในทุกวันนี้ โดยอุปกรณ์ที่โฉบเฉี่ยวมีสไตล์ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศ เรียบหรู ดูมีคลาสและทันสมัย สะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นสุภาพบุรุษที่ไม่มีใครอยากปฏิเสธ ซึ่งเทคโนโลยีครัวที่ล้ำสมัยยังน่าดึงดูดต่อผู้ชื่นชอบเทคโนโลยีและแกดเจ็ทอีกด้วย

 ในเอเชีย มีผู้คนจำนวนมากขึ้นที่ใช้เวลาในครัวเพื่อความบันเทิง และเป็นงานอดิเรกรวมทั้งตอบสนองความหลงใหล นั้นเป็นเหตุผลที่อีเลคโทรลักซ์ รู้สึกว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องออกแบบชุดครัวโดยอิงนวัตกรรมอันทันสมัยล่าสุด 

ร้อยละ 64 ของชาวเอเชียชื่นชอบหรือหลงใหลการทำอาหาร
ร้อยละ 75 ของชาวอินเดีย ร้อยละ 71 ของชาวอินโดนีเซีย และร้อยละ 69 ของชาวมาเลเซีย และชาวฟิลิปปินส์มีความหลงใหลในการทำอาหาร
•ร้อยละ 66 ของผู้ชายชื่นชอบหรือหลงใหลการทำอาหาร โดยสนใจมากกว่าผู้หญิงที่ตามมาที่ร้อยละ 63

เชื่อคุณภาพของอาหารสดในปัจจุบันดีกว่าในอดีต 

ประเทศที่มีความคุ้นเคยในด้านตลาดสดต่างเห็นพ้องต้องกันว่าคุณภาพของอาหารสดในปัจจุบันดีกว่าในอดีต อย่างไรก็ดี ในบรรดาประเทศที่กำลังเปลี่ยนไปสู่สมัยใหม่อย่างรวดเร็วเพื่อแข่งขันเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ และอุตสาหกรรมในภูมิภาค กลับพบว่าตัวเลขด้านคุณภาพอาหารลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

ความเชื่อมั่นในคุณภาพอาหารที่เพิ่มขึ้นยังเชื่อมโยงเข้ากับการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีการจัดเก็บอาหารที่ก้าวหน้าขึ้นไปอย่างลึกซึ้ง ขณะที่ตู้เย็นมีความทันสมัยมากขึ้น จึงสามารถเก็บอาหารได้นานยิ่งขึ้น พร้อมทั้งคงความสดของอาหารได้อีกด้วย

•ร้อยละ 51 ของชาวเอเชียเชื่อว่าคุณภาพของอาหารสดในปัจจุบันดีกว่าในอดีต
•ร้อยละ 59 ของชาวฟิลิปปินส์ ร้อยละ 58 ของชาวเวียดนาม และ ร้อยละ 51 ของชาวอินเดีย เชื่อว่าคุณภาพ  อาหารสดดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 42 ของชาวมาเลเซีย และร้อยละ 46 ของชาวจีนเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น

สุขภาพเป็นความกังวลใจหลัก

จากการที่สุขภาพเป็นสาเหตุหลักของความกังวลใจในสังคมทุกวันนี้ จึงไม่แปลกใจที่ว่าความกังวลใจดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขจากภายในบ้าน ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดเชื่ออย่างมาก ว่าคนเราสามารถทำอาหารและทานอาหารในแบบของเราเองเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าคนจำนวนมากกังวลเกี่ยวกับสุขภาพเวลาที่ทำอาหารเองที่บ้าน แม้แต่เวลาที่ออกไปทานมื้อค่ำนอกบ้าน ผู้ให้สัมภาษณ์เกือบ 9 ใน 10 คนยังคงกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางด้านสุขภาพ

น้ำมันและเกลือเป็นแหล่งของความกังวลหลักเมื่อทำอาหารทานที่บ้าน คุณภาพและปริมาณของน้ำมันที่ใช้เป็นความกังวลสองอันดับแรก โดยเกลือเป็นอันดับสามที่ตามมาติดๆ ในส่วนของวิธีการประกอบอาหาร อาหารทอดเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความกังวลมากที่สุด

เรื่องที่น่าประหลาดใจก็คือการที่ชาวเอเชียไม่ได้ทำตาม ‘วันที่ควรบริโภคก่อน’ แบบเคร่งครัดอย่างที่คิด มีเพียงหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเท่านั้นที่จะไม่บริโภคอาหารหลังจากวันหมดอายุ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนหนึ่งยังคงบริโภคหากหมดอายุไม่เกิน 2-3 วัน

ที่น่าสนใจก็คือ กระแสดังกล่าวพบมากในสิงคโปร์ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย โดยผู้ตอบแบบสอบถามชาวสิงคโปร์ไม่ถึงครึ่งจะทิ้งอาหาร เมื่อเลย ‘วันที่ควรบริโภคก่อน’

นายสุทธิ กล่าวว่า สุขภาพถือเป็นและจะเป็นความกังวลใจหลักในสังคมปัจจุบันอยู่เสมอ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดเราจึงคำนึงถึงเรื่องนี้อยู่เสมอในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นเพื่อถนอมอาหารให้มีประสิทธิภาพดีกว่า และยาวนานยิ่งขึ้น

•ร้อยละ 95 ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าคนเราสามารถทำอาหารและรับประทานอาหารในแบบของตัวเองเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า
•ร้อยละ 96 ของชาวเอเชียกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพเวลาที่ทำอาหารทานที่บ้าน เมื่อเทียบกับร้อยละ 89 ที่กังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพเวลาที่ออกไปทานอาหารค่ำนอกบ้าน
•ร้อยละ 68 ของผู้ตอบแบบสอบถามกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ในการทำอาหาร ส่วนร้อยละ 66
กังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่ใช้ และร้อยละ 62 กังวลเกี่ยวกับปริมาณเกลือที่ใช้
•ร้อยละ 73 ของผู้ตอบแบบสอบถามจะไม่บริโภคอาหารหลังจาก ‘วันที่ควรบริโภคก่อน’ ขณะที่ร้อยละ 57
ของชาวสิงคโปร์ยังยินดีรับความเสี่ยง โดยบริโภคอาหารหลังจากวันนั้น

ผู้ปรุงอาหารชาวไทยและชาวจีนมีแนวโน้มพลิกแพลงสูตรอาหารมากที่สุด

ผู้ปรุงอาหารชาวไทยและชาวจีนเป็นผู้นำในด้านความคิดสร้างสรรค์และไม่ค่อยทำอาหารตามสูตร แท้ที่จริงแล้ว มากกว่าครึ่งของพวกเขาถนัดในการใช้ทักษะการทำอาหารของตัวเองในการพลิกแพลงสูตรอาหารให้เข้ากับรสนิยมส่วนตัวของตนเอง หรือสร้างสรรค์สูตรใหม่ๆ ให้กับตัวเอง จึงไม่แปลกใจเลยที่ผู้ที่เลือกใช้วิธีการสร้างสรรค์จะมีแนวโน้มที่จะเพลิดเพลิน และมีความหลงใหลในการทำอาหารมากกว่า

•ร้อยละ 40 ของผู้ปรุงอาหารชาวไทยและชาวจีนไม่ค่อย หรือ ไม่เคยทำตามสูตรเลย
•ร้อยละ 24 ของผู้ปรุงอาหารชาวไทยทำอาหารเป็นงานอดิเรก และสร้างสรรค์สูตรอาหารของตัวเอง ขณะที่ชาวจีนตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 26
•ร้อยละ 36 ของผู้ปรุงอาหารชาวไทยพลิกแพลงสูตรอาหารให้เข้ากับรสนิยมของตัวเอง ซึ่งใกล้เคียงกับชาวจีนซึ่งตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 35
•ร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่หลงใหลและเพลิดเพลินไปกับการทำอาหารมีการใช้วิธีการที่สร้างสรรค์/ พลิกแพลง



ข่าวที่เกี่ยวข้อง