แนะเลี่ยงอาหารปิ้ง-ย่าง ต้นตอก่อมะเร็ง

สังคม
25 ก.ค. 59
11:31
1,741
Logo Thai PBS
แนะเลี่ยงอาหารปิ้ง-ย่าง ต้นตอก่อมะเร็ง

สุดใจ กันยานุช พ่อค้าไก่ย่างย่านบางบัว กล่าวว่า หน้าที่หลักย่างไก่มาตลอด 14 ปี คือ และการอยู่หน้าเตาเพื่อย่างไก่สำหรับขายลูกค้าตลอดทั้งวันทำให้ต้องเผชิญกับควันซึ่งไม่ได้มีวิธีการที่พิเศษ และการสวมหน้ากากก็ทำให้หายใจไม่คล่องจึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงในช่วงที่ควันเยอะ

อย่างไรก็ตามความนิยมในอาหารปิ้งย่าทำให้ร้านอาหารจำพวก หมูย่าง ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง และเนื้อสัตว์อื่นๆ ค่อนข้างซื้อหาได้ง่าย โดยเฉพาะในย่านชุมชน ร้านนี้ เป็นอีกร้านนะคะ ที่ตลอด 3 ชั่วโมงที่เปิดขายในช่วงเช้า หน้าเตาไม่เคยว่างเลยพ่อค้าปิ้งย่าง ยอมรับนะคะว่า ควันอาหารทำให้ค่อนข้างถึงปัญหาสุขภาพและชุมชนใกล้เคียง แต่ด้วยอาชีพและความต้องการของลูกค้า ที่คุ้นเคยอาหารปิ้งย่างจากเตาถ่านมากกว่า ทำให้พวกเค้า ตัดสินใจไม่เลือกใช้เตาไร้ควัน มาแทนที่เตาถ่านในตอนนี้ค่ะ


กฤษณะ บุตรคำ พ่อค้าอาหารปิ้งย่าง ซอยวิภาวดี 64 กล่าวว่า "ผมว่ามะเร็งมันแน่อยู่แล้วครับ หนีไม่พ้น แต่เราก็อยากขาย อยากค้า มันเป็นอาชีพที่เราต้องทำอยู่แล้วครับ"

ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ค้าอาหารปิ้งย่างเท่านั้นที่อาจได้รับผลกระทบจากกลุ่มควันแบบนี้ การปิ้งย่างกินเองในครัวเรือน ก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงเช่นเดียวกันเพราะทุกครั้งที่นำเนื้อสัตว์วางบนตะแกรงปิ้งย่างน้ำมันจากเนื้อสัตว์ที่ตกลงไปโดนถ่านจะทำให้เกิดควันสีขาวลอยขึ้นมา ซึ่งกลุ่มควันนี้ ก็คือสารอินทรีย์ระเหยง่าย ที่ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีผลต่อการทำงานของปอด และเป็นต้นเหตุหนึ่งของปอดอักเสบเรื้อรังนั่นเองค่ะ แม้ว่าผลการสุ่มตรวจสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากควันปิ้งย่างจะไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับสารพิษจากควันธูป หรือควันจากไอเสียท่อรถยนต์ แต่กลุ่มควันสีขาวจากอาหารก็เป็นหนึ่งในต้นตอโรคมะเร็ง สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย

 

 

เพราะทุกครั้ง ที่เนื้อสัตว์ย่างอยู่บนเตาไขมันหรือน้ำมันบริเวณที่เนื้อสัตว์ที่มีมันเปลวติดอยู่จะหยดไปบนเตาไฟทำให้เกิดสาร PAH ลอยขึ้นมาพร้อมเขม่าควันสารตัวนี้เป็นชนิดเดียวกับควันไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ และเตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม โดยจะเกาะที่ผิวอาหารที่ไหม้เกรียมเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ นอกจากควันแล้วผู้ที่นิยมรับประทานเนื้อปิ้งย่าง รมควันไหม้เกรียมยังต้องระวังสารพัยโรลัยเซต รวมทั้ง สารไนโตรซามีน ในหมึกย่าง ปลาทะเลย่าง และในเนื้อสัตว์ ประเภทแหนม ไส้กรอก เบคอน แฮม ที่มีสีแดงผิดปกติ ทำให้เสี่ยงรับสารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งตับ และมะเร็งหลอดอาหารอีกด้วย

แต่ผู้ที่ติดใจในกลิ่นหอมของอาหารปิ้งย่าง ก็มีคำแนะนำถึงวิธีปิ้งย่างอาหาร ลดสารก่อมะเร็งซึ่งหากลงมือเตรียมอาหารเอง ควรตัดส่วนที่เป็นเนื้อสัตว์ติดมันออกเพื่อลดไขมันที่จะไปหยดลงไปบนถ่าน ก่อนนำเนื้อสัตว์ไปปิ้งหรือย่าง อาจนำไปผ่านความร้อน อย่างต้ม นึ่ง หรือเข้าไมโครเวฟก่อน รวมถึงการใช้เตาไฟฟ้าไร้ควันซึ่งปรับระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน แต่ถ้าชอบการย่างบนเตาถ่านธรรมดา ควรใช้ถ่านที่อัดเป็นก้อน ไม่ควรใช้ถ่านป่นละเอียด หรือเลือกใช้ฟืนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะจะช่วยให้เกิดการเผาไหม้อย่างช้าๆ หรืออาจลองใช้ใบตองห่ออาหารเพื่อลดปริมาณไขมันจากเนื้อสัตว์ที่จะหยดลงไปบนถ่าน และยังได้กลิ่นหอมอีกด้วย

 

 

ผู้ที่เป็นคออาหารปิ้งย่าง ในท้องตลาดมีอุปกรณ์ปิ้งย่าง เช่น การออกแบบให้ตะแกรงวางเนื้อสัตว์ห่างจากตัวเปลวไฟ เพื่อลดโอกาสสัมผัสและมลพิษจากควันที่เนื้อสัตว์ และไขมันตกลงบนถ่านไฟได้แต่จบจากบนเตาแล้ว เนื้อสัตว์ชิ้นไหนที่ยังมีรอยไหม้เกรียมอยู่ให้ตัดส่วนที่ไหม้เกรียมออกให้ได้มากที่สุด นี่ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็ง จากอาหารปิ้งย่างได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง