ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เรียกค่าเสียหายทางแพ่งโครงการจำนำข้าว "ยิ่งลักษณ์" กว่า 35,000 ล้าน

การเมือง
12:22
1,804
เรียกค่าเสียหายทางแพ่งโครงการจำนำข้าว "ยิ่งลักษณ์" กว่า 35,000 ล้าน
คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งโครงการจำนำข้าว สรุป น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯต้องรับผิดชอบความเสียหายร้อยละ 20 เป็นเงิน 35,717 ล้านบาท จากความเสียหาย ทั้งหมด 178,000 ล้านบาท

วันนี้ (24 ก.ย.2559) คณะกรรมพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง สรุปความเสียหายโครงการจำนำข้าวเปลือก ตามที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งหนังสือท้วงติงความเสียหายจากการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 55/56 และ ปี 56/57 พบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีความประมาทร้ายแรงให้เกิดความเสียหายในการรับจำนำข้าวข้าวเปลือกความเสียหายเกือบ 180,000 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาความรับผิดตามกฎหมาย

คณะกรรมการฯเห็นชอบร่วมกันให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับผิดชอบเฉพาะตัวแต่เพียงผู้เดียว ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าความเสียหาย หรือเป็นเงินต้องรับผิดชอบ 35,717ล้านบาท จากความเสียหาย ความเสียหาย 2 ฤดูกาลผลิตคือ ปี55/56 และ 56/57 มูลค่า 178, 586 ล้านบาท

จากเดิมที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดที่มีนายจิรชัย มูลทองโร่ย เป็นประธาน มีการคิดค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว 4 ฤดูการผลิตคือตั้งแต่ปี 54/55 วงเงิน 280,000 ล้านบาท แต่คณะกรรมพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง เห็นว่ามีเพียง 2 ฤดูกาลคือปีการผลิต ที่ น.ส.ลักษณ์ ต้องรับผิดชอบ เพราะมีคำเตือนแล้วแต่ยังเดินหน้ารับจำนำต่อแสดงให้เห็นว่าจงใจกระทำผิด ความเสียหายนั้นได้มีการตั้งข้อสังเกตจาก ป.ป.ช.และ สตง. น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงได้ส่งเรื่องต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าอาจมีความเสียหายเกิดขึ้น จึงเห็นว่าการจำนำช่วงเวลานั้นไม่จงใจหรือประมาท จนก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงจึงไม่ได้พิจารณาการชดเชยความเสียหายการจำนำช่วงเวลานั้น

ส่วนความเสียหายที่เหลืออยู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับไปพิจารณาขั้นต่อไป เมื่อมีการชี้มูลความผิดเพิ่มเติม และพบว่ามีหลายบุคคลเกี่ยวข้องกับความผิด เพราะยังมีอายุความดำเนินดคีเอาผิด 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2564

อธิบดีกรมบัญชีกลางได้ลงนามรับรองรายงานเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2559 จากมติของคณะกรรมการความรับผิดทางละเมิดประกอบด้วยตัวแทนอัยการสูงสุด กฤษฏีกา สตง. ตัวแทนกระทรวงการคลัง และได้ส่งต่อไปยังรองปลัดกระทรวงการคลังเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาลงนามในขั้นต่อไป

ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อรับหนังสือแล้ว สามารถยื่นต่อศาลปกครองกลาง เพื่อทุเลาคดีหรือเพิกถอนคดี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลปกครอง หลังจากนั้นจะยื่นให้กรมบังคับคดีดำเนินยึดทรัพย์ในขั้นต่อไป